จากการระบาดของโควิด-19 ทำให้เร่งความเร็วทางดิจิทัลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และเกิดขึ้นพร้อมกับยุคที่มีเทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐาน รวมทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการทำงานของเรา ปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่เร็วเท่าความคิดของคนเราก็คือคอมพิวเตอร์ยุคนี้นั่นเอง
จากประสบการณ์ของกอร์ดอน มัวร์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ร่วมก่อตั้งบริษัท อินเทลฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า คอมพิวเตอร์จะรวดเร็วยิ่งขึ้นและราคาถูกลงตามสัดส่วนทุกครั้งที่เราซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ เขาอธิบายถึงการเติบโตแบบทวีคูณของพลังในการประมวลผลที่เราได้เห็นตั้งแต่พีซีเครื่องแรก
ในขณะที่เราพบว่าคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในการอัพเกรดแต่ละครั้ง และต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการขาดแคลนทรายซิลิกาคุณภาพสูงทั่วโลกไปจนถึงการมีขั้นตอนการทดสอบที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็ได้สร้างแรงกดดันให้กับผู้ผลิต เขากล่าวว่าคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจเท่าที่ควรสำหรับเขา การคาดการณ์คือ ณ จุดนี้ เราจะมีสิ่งที่เรียกว่าการคำนวณ “exascale” (exascale computing) หรืออีกนัยหนึ่งคือคอมพิวเตอร์ที่สามารถดำเนินการได้ 1×1018 ต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่าพีซีปัจจุบันประมาณล้านเท่า
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ชั้นนำของโลกกำลังมาถึงความเร็วในระดับนี้แล้ว ลองจับตาดูซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นล่าสุดของจีนอย่างเทียนเหอ-3 (Tianhe-3) แม้ว่าปัจจัยต่างๆ เช่น การจัดการกับการระบาดใหญ่ด้านสุขภาพทั่วโลกเมื่อปี 2563 (ค.ศ.2020) อาจผลักดันให้เกิดซูเปอร์คอมพิวเตอร์ exascale อย่างแท้จริง แต่พวกเขาก็อาจเร่งให้มีการเข้าร่วมในโครงการชุมชนต่างๆ เช่น folding@home ด้วยซึ่งสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพื่อควบคุมพลังการประมวลผล exascale ที่รวมกัน แม้ว่าเราอาจไม่เคยเห็นความเร็วเหล่านี้ในอุปกรณ์แต่ละเครื่อง แต่พลังการประมวลผลที่เพิ่มขึ้นกำลังถูกรวมเข้ากับวิธีการคำนวณแบบใหม่ที่เน้นที่ประสิทธิภาพของทรัพยากร ซึ่งหมายความว่าปริมาณข้อมูลที่เราสามารถประมวลผลได้ และความเร็วที่เราสามารถทำได้ ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นอกเหนือจากการให้เครื่องมือแก่นักวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยไขปัญหาที่ยังคงเป็นปริศนาบางประการ เช่น COVID-19 และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว การประมวลผล exascale ยังแสดงถึงความสำเร็จที่มากกว่าแค่การยืนยันการคาดการณ์ของมัวร์ ด้วยนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าที่ความเร็วสูงกว่าปกติ คอมพิวเตอร์มีพลังการประมวลผลของระบบประสาทในระดับเดียวกับสมองของมนุษย์ ซึ่งเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ในการเรียนรู้ของเครื่องจักร
การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของสังคมเพิ่งเริ่มต้น
ในไม่ช้าเราอาจจำลองพฤติกรรมและไตร่ตรองปัญหาในแบบที่เราเคยเชื่อว่าเป็นมนุษย์ที่ไม่เหมือนใครได้ ยุคใหม่ของการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักรได้พลิกแนวคิดของคอมพิวเตอร์ในฐานะเครื่องคิดเลขขนาดยักษ์ เรากำลังเปลี่ยนจาก “การบอกให้รู้” ไปเป็น “ทำไมถึงต้องบอกและจะบอกเมื่อไรดี” แทนที่จะป้อนตัวเลขและชุดกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ อัลกอริธึมการเรียนรู้ด้วยเครื่องจะถูกป้อนคำตอบหรือข้อมูลด้วยความหวังว่าพวกเขาจะสามารถเห็นรูปแบบหรือกฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้นได้
ผู้พลิกเกม ฉีกกฎเดิมๆ
เรากำลังดำเนินชีวิตผ่านช่วงการขยายตัวที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในขณะที่ผู้ล่าอาณานิคมด้านเทคโนโลยีต่างแย่งชิงอำนาจสูงสุดทางดิจิทัล การมีอินเทอร์เน็ตได้เปิดทางไปสู่การเติบโตของโซเชียลมีเดียและระบบทุนนิยมข้อมูล และในทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทยักษ์ใหญ่ได้เติบโตขึ้นเพื่อกำหนดและครองพื้นที่ใหม่ด้วยความเร็วที่ไม่เคยมีมาก่อน ความท้าทายสำหรับคนรุ่นต่อไปของการเป็นยูนิคอร์นคือการที่จะเป็นยูนิคอร์นที่มุ่งไปยังท้องทุ่งซึ่งเปิดด้วยเทคโนโลยีใหม่และเติมเต็มพวกเขาด้วยบริการ แอปพลิเคชัน และผลิตภัณฑ์ที่มีนัยสำคัญที่เป็นไปได้มากกว่าการเสนอทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น และฉีกออกไปจากกฎเกณฑ์อย่างสิ้นเชิง
ผู้เปลี่ยนเกมก่อนหน้านี้ เช่น Facebook และ Google ได้กำหนดประสบการณ์ใหม่ของมนุษย์เราในแต่ละวัน ผู้เปลี่ยนเกมอื่นๆ เช่น Uber และ Amazon เกิดหยุดชะงักไปบ้าง ดังนั้น แม้ว่าเราจะไม่คาดการณ์ว่าใครจะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อเรา แต่ก็มีผู้นำหลายรายได้เปลี่ยนวิถีชีวิตและการทำงานของเราไปแล้ว ที่สำคัญ สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนที่มาตรฐานต่างๆ จะช่วยเราในการหล่อเลี้ยงโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงเมื่อเติบโตขึ้นอย่างครอบคลุมและยั่งยืนโดยมีเอไอหรือปัญญาประดิษฐ์ที่โดดเด่นกว่าใคร
รายงานประจำปี 2561 (ค.ศ.2018) โดยศูนย์วิจัยร่วมของคณะกรรมาธิการยุโรป (JRC) ได้สรุปว่า “การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของสังคมเพิ่งเริ่มต้นซึ่งเอไอเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงนี้และมอบโอกาสสำคัญในการพัฒนาชีวิตของเรา” และด้วยภาพสะท้อนที่ชัดเจนของวิสัยทัศน์ของไอเอสโอในการทำให้ชีวิตดีขึ้นด้วยมาตรฐาน จึงไม่น่าแปลกใจที่เอไอและเรื่องที่เกี่ยวข้องของการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักรจะเป็นที่ชื่นชอบสำหรับวาล วิลเลียม ดิออบ ประธานทีมปัญญาประดิษฐ์ร่วมของไอเอสโอและ ไออีซี เขาระบุอย่างชัดเจนว่า หากไม่มีมาตรฐาน อาจเกิดปัญหาอะไรก็เกิดขึ้นได้ มาตรฐานจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเอไอและการนำไปใช้ในวงกว้างทั่วโลก
ผู้ขับเคลื่อนเทคโนโลยีในทุกวงการ
ในขณะที่อาจมีคนมองเห็นว่าอนาคตจะมีผู้ช่วยหุ่นยนต์ซึ่งมีส่วนร่วมในเชิงข้อมูลกับสมองของแผงวงจร แต่ความจริงก็คือว่า เอไอได้ขับเคลื่อนเทคโนโลยีการตัดสินใจทั้งหมดตั้งแต่การวินิจฉัยทางการแพทย์ อุตุนิยมวิทยา ไปจนถึงรถยนต์ไร้คนขับที่ขับขี่ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีพื้นฐานที่สนับสนุนการทำงานของแอปพลิเคชันซึ่งเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนอย่างมากมาย
ตัวอย่างเช่น บุคคลได้รับการตรวจสอบโดยระบบคัดกรองอุณหภูมิเอไออัตโนมัตินอกร้านอาหารเพื่อชะลอการแพร่กระจายของ COVID-19 ในเมืองนิวยอร์กซิตี้ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องพิจารณา คำถามเกี่ยวกับความไว้วางใจ จริยธรรม และอำนาจอธิปไตยของดิจิทัล นำไปสู่ความคิดเห็นของนักอนาคตวิทยาและนักปรัชญามากพอๆ กับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเลยทีเดียว ซึ่งมาตรฐานสากลกำลังช่วยตอบคำถามทั้งสองด้านนั้น รายงานทางเทคนิคฉบับล่าสุดได้พิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของระบบที่ให้บริการหรือการใช้เอไอในขณะที่มีมาตรฐานมากกว่า 20 มาตรฐานที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่สถาปัตยกรรมอ้างอิงข้อมูลขนาดใหญ่ การกำกับดูแล ไปจนถึงแนวคิด และคำศัพท์ ยิ่งไปกว่านั้น มาตรฐานยังได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นส่วนสำคัญของเอไอด้วย โปรดติดตามรายละเอียดในตอนต่อไป
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2779.html
Related posts
Tags: AI, COVID-19, Digital transformation, Digitalization, Exascale, IEC, ISO, Standardization, Standards, Supercomputer
Recent Comments