บทความ เรื่อง เทคโนโลยีดิจิทัลกับวิถีการทำงานยุคใหม่ ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงการระบาดของโควิด-19 ซึ่งได้เร่งให้เกิดความเร็วทางดิจิทัลให้มากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมดิจิทัลที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในทุกวงการ สำหรับศูนย์วิจัยร่วมของคณะกรรมาธิการยุโรป (JRC) ก็ได้มีรายงานประจำปี 2561 (ค.ศ.2018) สรุปว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของสังคมเพิ่งเริ่มต้นโดยมีเอไอเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงและทำให้มีโอกาสในการพัฒนาชีวิตของมนุษย์ด้วย ในขณะที่วาล วิลเลียม ดิออบ ประธานทีมปัญญาประดิษฐ์ของไอเอสโอร่วมกับไออีซีเห็นว่ามาตรฐานเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเอไอและการนำไปใช้ในวงกว้างทั่วโลก ดังรายละเอียดต่อไปนี้
มาตรฐานคือส่วนสำคัญของเอไอ
มาตรฐานได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นส่วนสำคัญของเอไอ เมื่อช่วงต้นปี 2559 (ค.ศ.2016) ฝ่ายบริหารของโอบามาในสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่รายงานชุดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การระบุให้มีการใช้มาตรฐานถือเป็นการจัดลำดับความสำคัญหลักในการพัฒนาเอไอ ในขณะเดียวกัน รายงาน JRC ก็ระบุบทบาทเพิ่มเติมสำหรับมาตรฐานว่าควรคำนึงถึงการออกแบบแอปพลิเคชันเอไอที่ โปร่งใส เข้าใจได้ และตรวจสอบได้ ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนโดยกรอบงานสำหรับการตรวจสอบและประเมินผลตามมาตรฐานสากลที่ตกลงกันไว้
แล้วเราจะมองเห็นความแตกต่างได้ที่ไหน คำตอบคือ หากทำถูกต้อง เราจะต้องพิจารณาให้มากจริงๆ เพื่อดูเอไอที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น มาตรฐานก็มีบทบาทแบบนี้เช่นกัน ในฐานะเครื่องมือสำหรับผู้กำกับดูแลที่อยู่ภายใต้แรงกดดันมหาศาลในการทำให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก รายงานของคณะกรรมาธิการยุโรปเน้นย้ำข้อเท็จจริงนี้เมื่อกล่าวว่าปัญหาแรกในการตัดสินใจเกี่ยวกับกรอบการกำกับดูแลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเอไอ คือการคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสังคม ประการที่สองคือการรับมือกับความก้าวหน้าของเอไอ
การพิจารณาปัจจัยมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญเมื่อต้องรับมือกับเทคโนโลยีที่จะมีผลกระทบอย่างยาวนานและเป็นพื้นฐานต่อชีวิตของผู้คน ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจินตนาการว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร แต่สำหรับเมืองต่างๆ แล้ว ได้แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างที่ดีว่าองค์ประกอบเหล่านั้นจะตอบสนองและดำเนินการอย่างไร รวมทั้งการหลอมรวมวัฒนธรรม ความคิด ผู้คน ชีวิต และการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนวิธีการเดิมๆ ที่เราได้ทำกันมานานแล้ว
เส้นทางอันยาวนานของมนุษยชาติเมื่อเริ่มนับตั้งแต่ชาวสุเมเรียนในเมโสโปเตเมียได้รู้จักการเขียนหนังสือด้วยการประดิษฐ์อักษรรูปลิ่ม หรือที่เรียกว่า คูนิฟอร์ม มาจนถึงยุคที่มีถนนลาดยาง การสร้างทางเท้า การระบายน้ำ และโครงสร้างพื้นฐาน ได้ทำให้เกิดการตั้งถิ่นฐานและนำไปสู่การสร้างเมือง จนกระทั่งมีทุกวันนี้ซึ่งกำลังก้าวไปสู่เทคโนโลยีอัจฉริยะ อย่างไรก็ตาม เส้นทางนี้ยังคงเต็มไปด้วยอุปสรรคและต้องใช้เวลาในการพัฒนาให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเกิดการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ซึ่งส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้คนและทำให้เกิดการคิดใหม่ทำใหม่ เมืองต่างๆ ทั่วโลกจึงต้องทบทวนวิธีการที่เราจะต้องอาศัยอยู่ร่วมกันอีกครั้ง
“คน” กับ “เมืองอัจฉริยะ”
ทุกวันนี้ ประชากรส่วนใหญ่ของโลกอาศัยอยู่ในเมืองราว 55% สัดส่วนเช่นนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปี 1980 อันที่จริง องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่าภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) 7 ใน 10 คนจะเป็นประชากรในเมือง โดยพื้นฐานแล้ว ก็เป็นเพราะว่าการใช้ชีวิตในเมืองนั้นมีความสะดวกสบายอย่างสมเหตุสมผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บนโลกที่ทรัพยากรเริ่มหายากขึ้นในขณะที่การบริโภคพุ่งสูงขึ้น เมืองต่างๆ สามารถรวมเอาทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่การทำงาน การใช้ชีวิต การศึกษา และการพักผ่อนมาไว้ในที่เดียวดัน ลดความจำเป็นในการเคลื่อนย้าย และช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่การใช้น้ำ ความร้อน และแสงไฟ ไปจนถึงการใช้ Wifi
ทางด้านนักวางผังเมืองเข้าใจดีว่าเพื่อให้เมืองมีความเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ จึงจำเป็นต้องมีแนวทางร่วมกัน แต่จะพิจารณาความต้องการที่แตกต่างกันของผู้คนจำนวน 10 คน 20 คน หรือ 30 ล้านคนที่อยู่ร่วมกันได้อย่างไร คำตอบคือ การวิเคราะห์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลของสิ่งที่ผู้อยู่อาศัยต้องการ และเมื่อพวกเขาต้องการ ก็สามารถรวมกับพลังของการเชื่อมต่อได้ สิ่งนี้เป็นหนึ่งในแนวคิดหลักการที่อยู่เบื้องหลังการเกิดขึ้นของเมืองอัจฉริยะแห่งแรกๆ แนวคิดเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ มาตรฐานสากลได้กำหนดแนวคิดเมืองอัจฉริยะที่เผยแพร่เมื่อปี 2560 และตอนนี้เราอยู่ในจุดที่แนวคิดเหล่านั้นกลายเป็นความจริงที่มีความจำเป็นแล้ว
เมืองอัจฉริยะไม่ได้เป็นตัวแทนของเทคโนโลยีพื้นฐานในตัวเอง แต่พวกเขารวมเทคโนโลยีล่าสุดและที่เกิดขึ้นใหม่เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเชื่อมต่อตลอดเวลา เอไอ และไอโอที ในแง่สังคมนั้น เมืองอัจฉริยะคือตัวเปลี่ยนเกมอย่างแท้จริงด้วยการรวมเอาตัวเลือกต่างๆ สำหรับการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การเดินทางด้วยไฟฟ้าแบบไม่ต้องสัมผัส ไปจนถึงการแบ่งปันการเดินทาง และแม้แต่การเดิน เมืองอัจฉริยะที่กำหนดค่าอย่างเหมาะสมจะมีความเงียบกว่า สะอาดกว่า และมีสุขภาพดีกว่าด้วยการผสมผสานทางเลือกต่างๆ สำหรับการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงบริการทางสังคมเมื่อเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้คนทำจริงๆ และช่วยให้พวกเขาเข้าถึงได้ตามความต้องการ
มาตรฐานไอเอสโอสำหรับเมืองอัจฉริยะ
มาตรฐานไอเอสโอสำหรับเมืองอัจฉริยะนำมาซึ่งความชัดเจนและตัวเลือกข้อเสนอที่ดี ตัวอย่างเช่น มาตรฐานที่ครอบคลุมพื้นฐานของคำศัพท์ช่วยให้แน่ใจว่าทุกคนมีการสนทนาเดียวกัน แม้ว่าจะไม่มีสูตรเฉพาะสำหรับเมืองอัจฉริยะก็ตาม สถานที่ส่วนใหญ่จะไม่มีความหรูหราในการเริ่มต้นจากศูนย์ และเมืองใหญ่หลายแห่งที่ก่อตั้งมายาวนานที่สุดต้องเผชิญกับความท้าทายที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่ออกแบบมาสำหรับยุคที่แตกต่างกัน เมื่อเรามองหาแนวทางในการปรับปรุง มาตรฐานไอเอสโอสามารถนำมาใช้เพื่อตอบคำถามมากมายเกี่ยวกับวิถีการใช้ชีวิตและการทำงาน ซึ่งเป็นคำถามที่เร่งด่วนมากขึ้นเรื่อยๆ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
ในขณะที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านรวมทั้งสังคมและเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา มาตรฐานก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความจำเป็นสำหรับโลกของเราในการสนับสนุนให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของมนุษยชาติต่อไป
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2779.html
Related posts
Tags: communication, COVID-19, Emergency, Emergency management, ISO, ISO 22329, Security and resilience, social media, Standardization, Standards
Recent Comments