• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,543 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,075 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,406 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,292 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,981 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — February 9, 2022 8:00 am
ฝ่าเศรษฐกิจการค้าโลก ก้าวข้ามอุปสรรคด้วยมาตรฐานสากล ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 574 reads
0
  

INTERNATIONAL STANDARDS  BRING  HIGHER PRODUCTIVITYTO GLOBAL TRADE_ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 23 ปีก่อน  ธุรกิจและอุตสาหกรรมทั่วโลกต่างความคุ้นเคยกับคำว่า Y2K หรือ Y2K bug เป็นอย่างดี  ช่วงเวลานั้น ผู้คนทุกวงการต่างวิตกกังวลว่าเมื่อก้าวเข้าสู่ปี ค.ศ. 2000 โลกเราอาจจะเกิดความวุ่นวายหรือการหยุดชะงักได้จากความผิดพลาดของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสหัสววรษใหม่จากปี ค.ศ.1999  เป็นปี ค.ศ.2000   สำหรับความหมายของ Y2K ก็คือ Year 2000 (K เป็นหน่วยวัดค่าในระบบเมตริก มีค่าเท่ากับ 1000) ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะเข้าใจว่า ปี ค.ศ.2000 คือปี ค.ศ.1900 อย่างไรก็ตาม ด้วยความร่วมมือของคนทั่วโลก ทำให้สามารถแก้ไขปัญหานั้นให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ประสบการณ์เช่นนั้นจึงถือเป็นบทเรียนที่มีคุณค่ามาก

นอกจากธุรกิจอุตสาหกรรมจะไม่เกิดการหยุดชะงักหรือการล่มสลายในวงกว้างอย่างที่คาดการณ์กันแล้ว ยังดำเนินต่อไปด้วยดี โดยเฉพาะในช่วงหลายเดือนของสหัสวรรษใหม่  มีแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้นมาก และเป็นไปตามรายงานของไอเอ็มเอฟหรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF: International Monetary Fund) ซึ่งคาดการณ์ว่าการเติบโตของ GDP จะเพิ่มขึ้นในภูมิภาคหลักทั้งหมดของโลก โดยมีเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก

เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล

ในขณะนั้น อินเทอร์เน็ตยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และไม่มีวี่แววว่าจะก้าวเข้ายุคดิจิทัลได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 20 ปี ในขณะที่โลกเชื่อมต่อถึงกันเป็นโลกาภิวัตน์มากขึ้นเรื่อยๆ  จนกระทั่งก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 อย่างรวดเร็ว และเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และควอนตัมคอมพิวเตอร์  โลกเราก็กลับมาเผชิญหน้ากับสิ่งที่เราไม่ได้เตรียมตัวไว้เลยซึ่งก็คือ  การระบาดใหญ่ของไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 5 ล้านคน การว่างงานจำนวนมาก และการล็อกดาวน์ระดับประเทศแบบเปิดๆ ปิดๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสให้ได้   ทำให้การค้าระหว่างประเทศเกิดการหยุดชะงัก ผู้คนเกิดความวิตกกังวล และเข้าใจถึงความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเช่นเดียวกับการกระจายของไวรัสวายร้ายนี้ไปทั่วโลก

ตามรายงานของบริษัทวิจัย Capital Economics ที่มีฐานการทำงานอยู่ที่กรุงลอนดอน  มีการคาดการณ์ว่าการหยุดชะงักที่เกิดจาก COVID-19  จะหยุดการเติบโตของเศรษฐกิจโลกเป็นครั้งแรกหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงินเมื่อปี 2552 มาแล้ว  การคาดการณ์ที่ทำให้คนทั่วโลกสะเทือนใจนี้สะท้อนโดยธนาคารโลกซึ่งกล่าวว่าเศรษฐกิจโลกได้มุ่งหน้าสู่ภาวะถดถอยที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ธนาคารโลกกล่าวว่าประเทศต่างๆ ที่พึ่งพาการค้าโลก การท่องเที่ยว การส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ และการจัดหาเงินทุนจากภายนอกเป็นอย่างมาก และการระบาดใหญ่นี้เองส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา  รวมทั้งส่งผลกระทบอย่างหนักในประเทศที่มีระบบการรักษาพยาบาลที่ยังไม่เข้มแข็งพอ

ข้อมูลล่าสุดจากองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรืออังค์ถัด (United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD)  ระบุว่าพอจะเริ่มเห็นความหวังของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในประเทศจีน แต่ ดร.มูคิซา คิตูยี เลขาธิการอังค์ถัดกล่าวเตือนว่าเส้นทางที่ไม่แน่นอนของการระบาดใหญ่จะยังคงไม่ดีขึ้นสำหรับโอกาสทางการค้าในเดือนต่อๆ ไป  ทั้งนี้ จากข้อมูลของอังค์ถัดระบุว่า การค้าโลกที่ลดลง 5% ในไตรมาสที่สามของปี 2020 เมื่อเทียบกับปี 2019 ซึ่งลดลง 19% ในไตรมาสที่สองแล้วถือว่ามีพัฒนาการที่ดี  แต่ก็ยังคงไม่เพียงพอที่จะทำให้การค้าหลุดพ้นจากเส้นตายอยู่ดี  มิหนำซ้ำ ความไม่แน่นอนของการระบาดใหญ่ยังคงทำลายโอกาสทางการค้าต่อไป

ต้องฟื้นฟูความเชื่อมั่นเพื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว

สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่พึ่งพาโอกาสในการส่งออก  แนวโน้มการเติบโตของการค้าโลกเป็นเส้นทางที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ รายงานเกี่ยวกับ COVID-19 และการค้าระหว่างประเทศโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้กล่าวว่าท่ามกลางวิกฤตสุขภาพโลกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การค้าเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ผู้คนยังคงมีชีวิตอยู่และสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ซึ่งจำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อให้การค้าคล่องตัว  และภาพรวมเศรษฐกิจของ OECD เมื่อเดือนธันวาคม 2564 ได้เน้นย้ำถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่สามารถฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการฟื้นฟูความเชื่อมั่นจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จ

การระบาดใหญ่ได้แผ่ขยายออกไปท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้นระหว่างประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกบางแห่ง ซึ่งทำให้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการค้าโลกมากขึ้น  ตามที่ธนาคารกลางยุโรประบุไว้ใน Economic Bulletin ว่า การลงทุนและการค้าทั่วโลกที่ชะลอตัวได้เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน อุปสงค์ของจีนที่ชะลอตัว ความตึงเครียดทางการเมือง (ภูมิศาสตร์) Brexit และความเครียดแปลกๆ  ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่หลายแห่ง ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นนั้นยังส่งผลกระทบด้านลบเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนครั้งใหญ่นี้ สิ่งหนึ่งที่แน่นอนตามบทความที่ตีพิมพ์โดย World Economic Forum (WEF) ร่วมกับสถาบันนโยบาย Chatham House ก็คือนโยบายการค้าโลกจะไม่กลับไปสู่ฉันทามติที่มีเคยเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาอีกแล้ว  ดังที่นักเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศหลายคนกล่าวว่าตราบใดที่ปัญหาต่างๆ เหล่านั้นยังคงมีอยู่ ก็อาจจะต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อยอีก 2-3 ปี ซึ่งปัญหาทางการค้าจะยังคงมีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกอยู่ดี  เกี่ยวกับเรื่องนี้อังค์ถัดจะให้ข้อเสนอแนะอย่างไรบ้าง  พบกับคำตอบได้ในบทความครั้งต่อไปค่ะ

ที่มา: https://www.iso.org/contents/news/2022/01/building-a-new-consensus-on-trad.html



Related posts

  • พลิกวิกฤตการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมาเป็นโอกาสทางธุรกิจพลิกวิกฤตการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ
  • ไอเอสโอแนะวิธีใช้ ISO 9001: 2015ไอเอสโอแนะวิธีใช้ ISO 9001: 2015
  • ISO 9001: 2015 อัญมณีแห่งระบบคุณภาพ ตอนที่ 2ISO 9001: 2015 อัญมณีแห่งระบบคุณภาพ ตอนที่ 2
  • มาตรฐานใหม่ของไอเอสโอ “เครนต้านแผ่นดินไหว”มาตรฐานใหม่ของไอเอสโอ “เครนต้านแผ่นดินไหว”
  • แนะนำมาตรฐานแนวทางการกำหนดราคาต่อหน่วยสินค้าแนะนำมาตรฐานแนวทางการกำหนดราคาต่อหน่วยสินค้า

Tags: Business, COVID-19, Economy, ISO, OECD, Standardization, Standards, Trade, UNCTAD, WEF, Y2K

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑