• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,582 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,081 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,417 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,303 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,005 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — February 16, 2022 8:00 am
จีนต่อสู้ภาวะโลกร้อนด้วยมาตรฐานสากล
Posted by Phunphen Waicharern with 1210 reads
0
  

THE JOURNEY TO CARBON NETจากการประชุม COP 26 ซึ่งได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564  ทั่วโลกให้ความสนใจและยินดีที่ประเทศจีนหันมาให้ความสนใจและให้ความร่วมมืออย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ก็ได้มีท่าทีแสดงออกถึงการสนับสนุนข้อตกลงปารีสพร้อมกับประกาศการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความท้าทายด้านสภาพอากาศ และแสดงการสนับสนุนของจีนต่อความตกลงปารีสอย่างแข็งขัน พร้อมกับประกาศการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมของจีนเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ตัวอย่างเช่น โครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน การคมนาคมขนส่ง และการเงินสีเขียว แผนปฏิบัติการเพื่อความเป็นกลางของคาร์บอน เป็นต้น ภายใต้กรอบนโยบาย 1+N ซึ่งหมายถึงแนวทางระยะยาวในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับการนำแผนการแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้อย่างจริงจังในภาคส่วนที่สำคัญ เช่น พลังงาน การก่อสร้าง และการขนส่ง เป็นต้น

นอกจากนี้ ประเทศจีนยังได้ให้การสนับสนุนการต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านปฏิญญาลอนดอนด้วย โดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศจีน คือ SAC (Standard Administration of the People’s Republic of China) ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะกำหนดให้มาตรฐานสากลเป็นหัวใจสำคัญของแนวทางในการมุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

ในการต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่วนใหญ่ ประเทศต่างๆ ยังคงเผชิญหน้ากับปัญหาความท้าทายในการมุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศจีนต้องเผชิญกับปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งรวมถึงการรักษาจังหวะของการพัฒนาเศรษฐกิจให้สามารถดำเนินควบคู่ไปกับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้กระจายออกไปอย่างสมดุลและเพียงพอสำหรับประชากรราว 1.4 พันล้านคนที่อาศัยอยู่ในประเทศจีน

การรักษาสมดุลในการปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องยังคงเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข แต่หัวใจสำคัญคือหากไม่สามารถการดำเนินการเปลี่ยนแปลงได้ก็จะส่งผลกระทบร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้า กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การดำเนินการด้านการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากในการปรับปรุงคุณภาพชีวิต การผลิตทางการเกษตร ความมั่นคงด้านอาหาร และการดำรงชีวิตของเรา

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องต่อสิ่งแวดล้อมทางนิเวศวิทยาของประเทศจีนรวมทั้งการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม และยังได้นำภัยคุกคามที่ร้ายแรงมาสู่อาหาร น้ำ นิเวศวิทยา พลังงาน  รวมทั้งความมั่นคง ความปลอดภัยและทรัพย์สินของประชาชนด้วย

ด้วยเหตุนี้เอง ประเทศจีนจึงได้ดำเนินมาตรการด้านสภาพอากาศอย่างละเอียดถี่ถ้วนและเป็นอิสระมาอย่างยาวนาน และพร้อมๆ กับการเข้าร่วมอย่างแข็งขันในการริเริ่มระดับโลก เช่น ภายใต้ข้อตกลงปารีส ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ก็ได้ประกาศเมื่อปี 2563 (ค.ศ.2020)  ว่าจีนจะบรรลุคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2603 (ค.ศ.2060) โดยผ่านจุดสูงสุดของการปล่อยมลพิษในปี 2573 (ค.ศ.2030) และในฐานะที่ประเทศจีนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตของโลก และเป็นผู้ส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรรายใหญ่  ประเทศจีนจะต้องใช้มาตรการที่เข้มงวดเพื่อเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมเหล่านี้และติดตามเป้าหมายปี 2603

ในฐานะที่เป็นผู้ลงนามในปฏิญญาลอนดอน ซึ่งเป็นข้อตกลงสำคัญที่ต้องบรรลุให้ได้ในการประชุมสมัชชาใหญ่ ISO ประจำปี 2564 ประเทศจีนได้วางมาตรฐานไว้เป็นจุดศูนย์กลางของความพยายามนั้น และพัฒนาแนวทางที่สอดคล้องกันเพื่อแก้ไขปัญหาการปล่อยมลพิษ การปรับปรุงประสิทธิภาพ และการวัดความก้าวหน้าสำหรับประเทศจีนซึ่งมีความกว้างใหญ่ไพศาลและมีความหลากหลายของผู้คน

เทียน ฉีหง ผู้บริหารของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศจีน หรือ SAC (Standard Administration of the People’s Republic of China) ได้เน้นย้ำว่าปฏิญญาที่ประเทศจีนได้ร่วมลงนามนั้น เป็นวิธีที่สำคัญในการเปลี่ยนจากความตั้งใจไปเป็นการปฏิบัติให้เกิดผลอย่างจริงจัง และ SAC ก็มียินดีที่จะทำงานร่วมกับสมาชิกของไอเอสโอในการพัฒนามาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  เพื่อส่งเสริมการดำเนินการตามปฏิญญาลอนดอนอย่างมีประสิทธิผล และบรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีสและ SDGs ขององค์การสหประชาชาติต่อไป

ประเทศจีนได้ร่วมกับประชาคมโลกในการนำมาตรฐานสากลไปใช้อย่างจริงจังเพื่อก้าวข้ามความท้าทายดังกล่าวที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ซึ่งโลกของเรายังต้องใช้ความมุ่งมั่นและความพยายามเป็นอย่างมากในการร่วมกันแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมาชิกไอเอสโอและองค์กรอื่นๆ ที่สนับสนุนปฏิญญาลอนดอนรวมทั้งแนวทางที่โลกจะบรรลุถึงความยั่งยืนได้ในเว็บไซต์ของไอเอสโอ The London Declaration

ที่มา:  1. https://www.prachachat.net/world-news/news-795023
           2. https://www.iso.org/news/ref2781.html



Related posts

  • ไอเอสโอกำหนดมาตรฐานเพื่อชายหาดที่สดใสไอเอสโอกำหนดมาตรฐานเพื่อชายหาดที่สดใส
  • ออฟฟิศแห่งอนาคตของดูไบ จากพริ้นเตอร์สามมิติออฟฟิศแห่งอนาคตของดูไบ จากพริ้นเตอร์สามมิติ
  • เผยโฉมมาตรฐานใหม่เพื่อชลประทาน ISO 16075เผยโฉมมาตรฐานใหม่เพื่อชลประทาน ISO 16075
  • เอ็มไอทีเน้นธุรกิจยุคใหม่ต้องมีความยั่งยืนเอ็มไอทีเน้นธุรกิจยุคใหม่ต้องมีความยั่งยืน
  • ลดความเสี่ยงจากอันตราย “เพลิงไหม้” ด้วยมาตรฐานไอเอสโอลดความเสี่ยงจากอันตราย “เพลิงไหม้” ด้วยมาตรฐานไอเอสโอ

Tags: Carbon Net-Zero, china, Climate Change, COP 26, ISO, London Declaration, SAC, Standardization, Standards

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑