• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,513 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,360 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,209 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — February 18, 2022 8:00 am
ทั่วโลกใส่ใจการเงินสีเขียวเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
Posted by Phunphen Waicharern with 1175 reads
0
  

OUR FUTURE  OUR SUSTAINABLE    FINANCEรัฐบาลทั่วโลกเห็นความสำคัญกับการลดมลพิษและก๊าซเรือนกระจก ส่วนหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ ก็ต้องการให้ธุรกิจเปิดเผยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศด้วย  ซึ่งมีข้อมูลว่าภาคพลังงานหมุนเวียนสำหรับการผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในทศวรรษที่ผ่านมาและเพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น มั่นใจได้ว่าการเงินที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความยั่งยืนจะยังคงเติบโตมากขึ้นต่อไป

แม้จะมีการลงทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีความต้องการอีกมากในการบรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีสและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) โดยเฉพาะเรื่องของขนาดของการลงทุนที่ต้องการนั้นมีจำนวนมหาศาล จากข้อมูลของ World Economic Forum ระบุว่าเราจำเป็นต้องทุ่มงบประมาณ 5.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปีให้กับโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ได้ระบุไว้ว่าเราต้องการเงินอย่างน้อย 53 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในอีก 15 ปีข้างหน้าเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และมีความจำเป็นมากขึ้นสำหรับด้านอื่นๆ ของความยั่งยืนด้วย เช่น เศรษฐกิจหมุนเวียนที่กำลังเกิดขึ้น

มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าโลกของเราจำเป็นต้องมีการพัฒนามาตรฐานที่แข็งแกร่งและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง มาตรฐานสากลสามารถวางโครงสร้างทางการเงินที่ยั่งยืนที่เกิดขึ้นมาใหม่และสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจที่นักลงทุนต้องการได้

จอห์น ชิเดลเลอร์ แห่งบริษัท Futurepast Inc. และหัวหน้ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญในคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 207, Environmental management ซึ่งรับผิดชอบในการพัฒนามาตรฐานเกี่ยวกับพันธบัตรสีเขียวและสินเชื่อ ได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความจำเป็นของการมีมาตรฐานสากลว่าทำให้เกิดความสอดคล้องกลมกลืน ความน่าเชื่อถือ ความโปร่งใส และความไว้วางใจ

เฮย์เดน มอร์แกนจากกลุ่ม Green Investment Groupและผู้นำในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 322, Sustainable finance กล่าวว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการเบี่ยงเบนประเด็นความสนใจจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปเป็นการประหยัดทรัพยากรเพียงอย่างเดียว (กรีนวอชชิ่ง) โลกของเราจำเป็นต้องมี “มาตรฐาน”   สำหรับการพัฒนางานมาตรฐานในกลุ่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อบูรณาการหลักการด้านความยั่งยืนเข้ากับกิจกรรมด้านการเงิน ซึ่งหากปราศจากมาตรฐานแล้ว ก็อาจเกิดการเบี่ยงเบนประเด็นความสนใจหรือพูดเกินจริงมากไปในการรับรองด้านสิ่งแวดล้อม

แล้วพันธบัตรสีเขียวคืออะไรกันแน่  “พันธบัตรสีเขียว” เกิดขึ้นมาเกือบ 15 ปีแล้ว และตั้งแต่นั้นมา ก็มีมาตรฐานการค้า คำแนะนำและกฎเกณฑ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมายและหลากหลาย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคง และยิ่งไปกว่านั้น ก็คือเพื่อต่อสู้กับ “กรีนวอชชิ่ง” แม้ว่าตลาดที่เพิ่งเริ่มต้นจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แต่ปัจจุบัน เราต้องการมาตรฐานไอเอสโอเพื่อให้มีโครงสร้าง ความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือด้วยแผนการรับรองที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะช่วยปลดล็อกด้านการเงินเป็นจำนวนหลายล้านล้านดอลลาร์ที่มีความจำเป็นสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

ชิเดลเลอร์  กล่าวว่า มาตรฐาน ISO 14030 มีจุดมุ่งหมายคือการให้ความชัดเจนและอธิบายสิ่งที่จำเป็นในการพิจารณาคุณสมบัติและความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้สีเขียว ตลอดจนกลไกการรายงานที่แข็งแกร่ง เพื่อให้นักลงทุนตัดสินใจอย่างมีข้อมูล นอกจากนี้ การรับแนวคิดจากภาคการเงินมาใช้ก็มีความสำคัญต่อความสำเร็จของมาตรฐานดังกล่าวซึ่งคณะทำงานได้รับข้อมูลสนับสนุนเป็นอย่างดี ทำให้สามารถพัฒนามาตรฐานที่สอดคล้องกับมาตรฐานพันธบัตรสีเชียวและสามารถนำหลักการของสินเชื่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ด้วย

นักลงทุนจำนวนมากเริ่มตระหนักดีว่าหากความหลากหลายทางชีวภาพต้องประสบกับปัญหา ผลตอบแทนของพวกเขาก็จะพบกับปัญหาเช่นกัน ดังนั้น การวัดผลและการแก้ไขปัญหาจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น เมื่อช่วงต้นปี 2563 (ค.ศ.2020) ไอเอสโอได้จัดตั้งคณะกรรมการวิชาการ  ISO/TC 331, Biodiversity เพื่อรองรับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนโลกด้วยมาตรฐานเฉพาะด้าน

แคโรไลน์ ลูเออรี ผู้จัดการคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 331 อธิบายว่าคณะกรรมการอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นระหว่างเศรษฐกิจและระบบนิเวศของเรา ความสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพไปพร้อมๆ กับการสร้างโอกาสสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน  โดยมีจุดมุ่งหมายคือการพัฒนาข้อกำหนด หลักการ กรอบงาน คำแนะนำและเครื่องมือสนับสนุน โดยดำเนินการในลักษณะองค์รวม เป็นอันหนึ่งอันเดียวเดียวกัน และเป็นสากล

ภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพจากทุกแหล่งกำลังมาถึงระดับวิกฤตอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลต่อทำงานของระบบนิเวศ อัตราการสูญพันธุ์ในปัจจุบันสูงกว่าระดับก่อนเกิดมนุษย์ถึงพันเท่า และเกิดการสูญเสียที่อยู่อาศัยจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่คาดการณ์ไว้  รวมถึงการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์ที่ไม่ใช่ต้นกำเนิดพื้นเมืองอาจทำให้อัตราสูญพันธุ์สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่มาตรฐานไอเอสโอสำหรับความหลากหลายทางชีวภาพจะช่วยส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ รวมทั้งรัฐบาลและภาคธุรกิจ รวมเอาประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพทั้งหมดไปไว้ในกลยุทธ์ การตัดสินใจ และการดำเนินการ โลกเรามีมาตรฐานและระเบียบวิธีระดับประเทศอยู่แล้วสำหรับการประเมินและจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ แต่หลักฐานบ่งชี้ว่าสิ่งเหล่านี้กระจัดกระจายออกไปและมีความแตกต่างกัน แม้ว่าจะมีกฎหมายและเครื่องมือสนับสนุน แต่ก็ยังมีแนวทางในระดับภูมิภาคและระดับชาติที่แตกต่างกันออกไปอยู่ดี ซึ่งลูเออร์ลีอธิบายว่า จุดนี้ มาตรฐานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันจะช่วยได้เป็นอย่างมาก  องค์กรจำเป็นต้องมีความเข้าใจร่วมกันว่าความหลากหลายทางชีวภาพคืออะไร กรอบการทำงานที่เรียกร้องในการดำเนินการ วิธีการ เครื่องมือในการประเมินผลกระทบ ความคืบหน้า และตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม คืออะไร กล่าวโดยสรุป สิ่งที่เราต้องการคือแนวทางระดับโลกที่มีความสอดคล้องผสมผสานกัน  ซึ่งมาตรฐานในอนาคตจะรวมถึงข้อกำหนดและคำจำกัดความที่เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อใช้ทั่วโลก วิธีการสำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบ กรอบสำหรับการกำหนดกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ เครื่องมือติดตาม รวมทั้งรายงานด้วย

การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นกลางทางคาร์บอนจะส่งผลกระทบต่อทุกแง่มุมของการผลิตสินค้า การให้บริการ การเคลื่อนไหวและการบริโภคของเรา รวมทั้งส่งผลต่อวิธีการทำงานของเราด้วย รายงานจากคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรประบุว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นกลางทางคาร์บอนจะทำให้เกิดสร้างงานมากกว่าหนึ่งล้านตำแหน่งภายในปี 2573  ซึ่งไอเอสโอกำลังทำงานเพื่อสนับสนุนสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นด้วยการเร่งการเคลื่อนไหวไปสู่สังคมที่ปราศจากคาร์บอน ปฏิญญาลอนดอนแสดงถึงความมุ่งมั่นทางประวัติศาสตร์ของไอเอสโอในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านเรื่องของมาตรฐาน

บทบาทที่สำคัญสำหรับมาตรฐานนี้ได้รับการเน้นย้ำโดยผู้นำของ G20 และในการประชุม COP26 ซึ่งไอเอสโอก็พร้อมที่จะเปลี่ยนความมุ่งมั่นไปสู่การปฏิบัติ การเปลี่ยนแปลงนี้ได้เริ่มต้นขึ้นในชุมชนและบริษัทที่มองการณ์ไกลหลายแห่งแล้ว แต่ทั่วโลกยังคงต้องใช้เวลาและความพยายามร่วมกันต่อไปจนกว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้

ที่มา: https://www.iso.org/contents/news/2022/02/keeping-the-green-promise.html



Related posts

  • จีนยกย่องมาตรฐานไอเอสโอ ช่วยยกระดับนวัตกรรมจีนยกย่องมาตรฐานไอเอสโอ ช่วยยกระดับนวัตกรรม
  • ส่งมอบบริการไอทีด้วย ISO/IEC 20000-1 ตอนที่ 1ส่งมอบบริการไอทีด้วย ISO/IEC 20000-1 ตอนที่ 1
  • มาตรฐานการจัดการความมั่นคงทางชีวภาพมาตรฐานการจัดการความมั่นคงทางชีวภาพ
  • มาตรฐานการจัดการน้ำ เริ่มต้นจากองค์กร…สู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนมาตรฐานการจัดการน้ำ เริ่มต้นจากองค์กร…สู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
  • ผู้นำสตรียุคใหม่ของไอเอสโอกับกลยุทธ์ 2030 ตอนที่ 2ผู้นำสตรียุคใหม่ของไอเอสโอกับกลยุทธ์ 2030 ตอนที่ 2

Tags: Biodiversity, Carbon Neutral, Climate Change, COP 26, Environmental Management, Green bond, Greenwashing, ISO, ISO 14030, London Declaration, SDG, Standardization, Standards

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑