บทความ เรื่อง บริหารอนาคตด้วยมาตรฐานสากลเพื่อความยั่งยืน ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมโลก ทำให้วิถีชีวิตของคนเราเปลี่ยนแปลงไปด้วย ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐานเป็นจำนวนมากที่ไม่เพียงแต่ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงความก้าวล้ำนำสมัยอีกด้วย ดังที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้
การจัดตั้งคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอชุดใหม่เพื่อจัดการกับมาตรฐานสำหรับเศรษฐกิจแบ่งปันเป็นหนึ่งในตัวอย่างของความพยายามของไอเอสโอในการพัฒนามาตรฐานเพื่อให้ทันความเปลี่ยนแปลงของโลก เนื่องจากภาคเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดภาคหนึ่งในปัจจุบันก็คือเศรษฐกิจแบ่งปันซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงเส้นทางผู้บริโภคแบบดั้งเดิมด้วยแพลตฟอร์ม ต่างๆ นับพัน อย่างน้อย ส่วนหนึ่งก็มาจากความต้องการที่จะสร้างชุมชนและลดการบริโภคที่เป็นส่วนเกินซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีอำนาจมากขึ้นกว่าเดิม และทำให้ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการค้นหา จัดซื้อ สัมผัสประสบการณ์และประเมินผลิตภัณฑ์ และยังครอบคลุมสินค้าและบริการทุกอย่างตั้งแต่รถยนต์ เสื้อผ้าไปจนถึงบ้านและโรงแรม แม้ว่าจะเป็นข่าวดีสำหรับผู้บริโภค แต่ก็เต็มไปด้วยความท้าทายบางอย่างหลายประการ เช่น ประเด็นปัญหาความเป็นส่วนตัว ความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ สภาพการทำงาน และอื่นๆ อีกมากมาย
คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 324, Sharing economy เป็นคณะกรรมการใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้นและทำให้อุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมการบริการตระหนักถึงศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าอย่างเต็มที่
ดร.มาซาอากิ โมจิมารุ ประธานคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 324 เชื่อว่า “มาตรฐาน” สามารถเน้นย้ำด้านดีของเศรษฐกิจแบ่งปัน ไม่ว่าจะเป็นการลดความเสี่ยงและปัญหาต่างๆ และหนึ่งในประโยชน์หลักของรูปแบบธุรกิจใหม่ก็คือการนำใช้ทรัพยากรที่ไม่ได้มีการใช้งานมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในทางกลับกันก็อาจมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ เช่นความโปร่งใสและความรับผิดชอบ ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย และปัญหาอื่นๆ เช่น การปกป้องพนักงานและการจัดการแพลตฟอร์ม สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นที่มาตรฐานสามารถช่วยส่งเสริมได้
เพื่อทางเลือกของผู้บริโภค
เรื่องของความโปร่งใสและความรับผิดชอบยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของผู้บริโภคที่มีความต้องการมากขึ้นและมีทางเลือกมากขึ้นในการมีข้อมูลอย่างครบถ้วน
“มาตรฐาน” เป็นคำตอบที่ดี เพราะสามารถจัดเตรียมลำดับและวิธีการบางอย่างที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์และบริการเป็นสิ่งที่เป็นไปอย่างที่กล่าวอ้างจริงๆ ซึ่งรวมถึงมาตรฐานสำหรับการตรวจสอบออนไลน์ การติดฉลากและการกล่าวอ้าง ซึ่งหากได้รับการปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง ก็จะลดความเสี่ยงของข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดลงได้ และช่วยให้ข้อมูลที่มอบให้แก่ผู้บริโภคมีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง มีจริยธรรม และตรวจสอบได้
ดร.คริสตินา ดรากีซี เลขาธิการ COPOLCO ระบุว่า ภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศที่กำลังดำเนินอยู่และการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในระยะหลัง ทำให้ปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว บรรเทาเบาบางลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งในทศวรรษหน้าก็จะยังคงมีการดำเนินการต่อไป และได้กล่าวว่าข้อดีของระบบไอเอสโอคือความสามารถในการรวบรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด รวมถึงผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ ชุดความรู้ และมุมมองที่หลากหลายมาช่วยกันทำให้เกิดแนวทางปฏิบัติและแนวทางแก้ไขที่ดีที่สุดที่ทั่วโลกตกลงร่วมกันโดยทั่วไปแล้ว
ดร.คริสตินา ดรากีซี เชื่อว่าประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องมีส่วนร่วมมากขึ้นในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้บริโภคที่มีอายุน้อยกว่าซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมากในการบรรลุเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ ซึ่งจะสร้างความต้องการใหม่ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง
ปรับตัวเพื่อเปลี่ยนแปลง และวางแผนอนาคต
เนื่องจากประชากรโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป การขยายตัวของเมืองที่เพิ่มขึ้น และผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มากขึ้น อนาคตโลกเราจึงดูเหมือนจะมืดมน แต่ภาพที่ซับซ้อนนี้ได้นำไปสู่การเปลี่ยนจุดสนใจของมนุษยชาติ ในขณะเดียวกันก็เกิดการเรียนรู้วิธีที่จะทำตัวให้คล่องแคล่วว่องไวและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาให้ได้ ซึ่งนำไปสู่การกำหนดแผนกลยุทธ์ขององค์กรทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความตอนต่อไปค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/contents/news/2022/02/societal-changes-shaping-our-fut.html
Related posts
Tags: Agility, Business, consumer, COPOLCO, Ethics, ISO, sharing economy, Society, Standardization, Standards, Sustainability
ความเห็นล่าสุด