• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,513 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,360 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,209 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — February 28, 2022 8:00 am
บริหารอนาคตด้วยมาตรฐานสากลเพื่อความยั่งยืน ตอนที่ 3
Posted by Phunphen Waicharern with 1419 reads
0
  

MANAGING FUTURE WITH ISO STANDARDS FOR SUSTAINABILITY 3บทความ เรื่อง “บริหารอนาคตด้วยมาตรฐานสากลเพื่อความยั่งยืน ตอนที่ 1” และ “บริหารอนาคตด้วยมาตรฐานสากลเพื่อความยั่งยืน ตอนที่ 2” ได้กล่าวถึงการปรับปรุงมาตรฐานสากลให้เข้ากับบริบทของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสังคมโลก เช่น มาตรฐานสำหรับเศรษฐกิจแบ่งปัน มาตรฐานสำหรับการตรวจสอบออนไลน์ การติดฉลากและการกล่าวอ้างต่างๆ เป็นต้น และเพื่อเตรียมการสำหรับการทำงานในอนาคตให้ครอบคลุมความต้องการของสังคมโลก ไอเอสโอจึงดำเนินกลยุทธ์การทำงานที่เรียกว่า กลยุทธ์ ISO 2030 (ISO Strategy 2030)

สำหรับบทความในตอนนี้จะกล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานตามกลยุทธ์ดังกล่าว ซึ่งให้ความสำคัญกับผู้บริโภคทั่วโลก และการตอบสนองต่อตลาดโลก ดังต่อไปนี้

การเปลี่ยนแปลงความคาดหวังของสังคมย่อมส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อวิธีการทำงานของไอเอสโอในปัจจุบัน และวิธีการทำงานในอนาคตรวมไปถึงปี 2573 (ค.ศ.2030) เพื่อให้แน่ใจว่ามาตรฐานจะสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีที่สุด รวมถึงความต้องการ ความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมที่มากขึ้นของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรฐาน และเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนร่วมเหล่านั้น  ไอเอสโอได้สร้างความร่วมมือเพิ่มขึ้นกับองค์กรอื่นๆ อีกมากมาย เช่น สมาคมอุตสาหกรรม และหน่วยงานด้านมาตรฐาน รวมทั้งคณะกรรมการว่าด้วยนโยบายผู้บริโภค (COPOLCO)

COPOLCO เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความร่วมมือที่ดีกับไอเอสโอ ดร.คริสตินา ดรากีซี เลขาธิการ COPOLCO กล่าวว่า การทำงานร่วมกันของ COPOLCO กับองค์กรอื่นทำให้ต่างฝ่ายต่างมีความกระตือรือร้นในการทำงานร่วมกัน และขอบข่ายการทำงานก็กว้างขวางขึ้น รวมทั้งได้กระชับความสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรืออังค์ถัด (United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD) ด้วย เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับมาตรฐานสำหรับการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งทำให้แน่ใจว่ามีความสอดคล้องและมีส่วนร่วมในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ทั้ง 17 ข้อ  ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าความคาดหวังของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ได้ส่งผลต่อการทำงานของไอเอสโอในปัจจุบันด้วย

ทุกเสียงมีความหมาย

นอกจากนี้ ในกระบวนการมาตรฐาน ยังมีแรงผลักดันที่เพิ่มขึ้นสำหรับการรวมเอาทุกเสียงที่มีความหมายเข้าไปด้วย ตัวอย่างเช่น มีการพูดถึงผู้ใช้มาตรฐานมากกว่าที่เคยเป็นมา สิ่งนี้แสดงให้เห็นรูปแบบการทำงานที่แตกต่างไปจากเดิม และสิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ ISO 9001 เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมากของไอเอสโอสำหรับระบบการจัดการคุณภาพ และเป็นหนึ่งในมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลก

ในการทบทวนมาตรฐานภายในระยะเวลา 5 ปี คณะกรรมการด้านเทคนิคที่ดูแลรับผิดชอบมาตรฐาน ISO 9001 ได้ตัดสินใจที่จะมองข้ามกลุ่มผู้เชี่ยวชาญตามปกติ เพื่อดูว่าสิ่งใดที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ใช้ปัจจุบันและผู้ใช้ที่มีแนวโน้มจะใช้งานในอนาคต ในการทำเช่นนี้ พวกเขาได้เปิดตัวแบบสำรวจออนไลน์ระหว่างประเทศ 14 ภาษา ซึ่งใช้เวลาหลายเดือนในปี 2563 (ค.ศ.2020)  ผลลัพธ์ก็คือไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไขใดๆ เพราะ ISO 9001 ฉบับล่าสุด (version ปี 2015) ยังคงให้คุณค่าแก่ผู้ที่นำมาตรฐานไปใช้งานได้เป็นอย่างดี

การส่งเสริมความคิดที่หลากหลายยิ่งขึ้นบ่งบอกให้เห็นถึงความจำเป็นในการรับฟังเสียงสะท้อนของคนทุกเพศ ทุกเชื้อชาติ และทุกความเชื่อทางศาสนา ตัวอย่างเช่น ความเท่าเทียมกันทางเพศเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงในสังคม และได้รับการกำหนดให้เป็นวัตถุประสงค์ในองค์กรและการริเริ่มต่างๆ มากมาย ไม่น้อยไปกว่า SDG5 ขององค์การสหประชาชาติที่ทำงานเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของสตรีและเด็กผู้หญิงทุกคน

ด้วยการตระหนักถึงการสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพของมาตรฐานสากลในเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศ ไอเอสโอจึงได้เริ่มโครงการที่มีความมุ่งมั่นเพื่อประเมินและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนเรื่องเพศในไอเอสโออย่างลึกซึ้ง ตลอดจนคุณค่าและความหมายของความเท่าเทียมกันทางเพศในมาตรฐาน ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ากิจกรรมของไอเอสโอมีมุมมองที่เข้มแข็งในเรื่องของการเป็นตัวแทนของทุกเพศ

มาตรฐานสากลตอบสนองความต้องการของตลาดโลก

แม้ว่ากุญแจสำคัญของมาตรฐานจะเป็นเรื่องของเนื้อหาและการมีส่วนร่วม  แต่เรื่องของความเร็วก็มีความจำเป็นเช่นกัน ในขณะที่โลกมีวิวัฒนาการ การพัฒนามาตรฐานจำเป็นต้องก้าวตามให้ทัน งานพัฒนามาตรฐานจึงต้องมีการปรับปรุงและเร่งรัดกระบวนการทั้งหมด รวมถึงการใช้โอกาสในการพัฒนามาตรฐานทางออนไลน์ทั้งหมดด้วย หมายความว่ากระบวนการพัฒนามาตรฐานเสมือนแบบใหม่จะไม่มีการประชุมทางกายภาพตามปกติหรือมีโครงสร้างคณะกรรมการไอเอสโอแบบดั้งเดิม แต่จะมีศักยภาพในเรื่องของความเร็วและความคุ้มค่ามากขึ้นโดยไม่ลดทอนคุณภาพการทำงานลงไปเลย

เรื่องนี้แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อ COVID-19 ทำให้การเดินทางหยุดชะงักในเดือนมีนาคม 2563 (ค.ศ.2020) ทำให้ไอเอสโอไม่สามารถจัดการประชุมคณะกรรมการแบบตัวต่อตัวได้อีกต่อไป  และทำให้โลกของมาตรฐานกลายเป็นการทำงานออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบในชั่วข้ามคืน  การประชุมทางกายภาพมากกว่า 2,000 รายการที่วางแผนไว้ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนสิงหาคม 2563 ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปเป็นระบบเสมือนจริง และยอมรับกันว่าแนวทางการทำงานแบบใหม่นี้อาจมีความจำเป็นต่อไปในอนาคตด้วย ไอเอสโอได้กำหนดเครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยให้คณะกรรมการด้านเทคนิคสามารถวางแผนการประชุมเสมือนจริงของตนเองได้โดยง่าย โดยคำนึงถึงความแตกต่างกันของเวลาและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นจากการมีส่วนร่วมที่มากขึ้น รวมทั้งความคล่องตัวในการตอบสนองต่อความต้องการอย่างเร่งด่วนที่สุด

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่กลยุทธ์ไอเอสโอ 2030 (ISO Strategy 2030) เอกสารนี้มีความเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์  โดยอาศัยข้อมูลจากบุคลากรที่ทำหน้าที่ในไอเอสโอ สมาชิก ผู้ใช้มาตรฐานจากทั่วโลก แต่ยังมีสิ่งต่างๆ อีกมากมายที่ไอเอสโอต้องทำร่วมกันเพื่อให้บรรลุความต้องการของคนทั่วโลกและเป้าหมายของไอเอสโอต่อไป ผู้สนใจสามารถติดตามความก้าวหน้าได้ในเว็บไซต์ของไอเอสโอ https://www.iso.org/home.html

ที่มา: https://www.iso.org/contents/news/2022/02/societal-changes-shaping-our-fut.html



Related posts

  • จิ๋วแต่แจ๋ว ธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ของบริษัทเล็ก ตอนที่ 2จิ๋วแต่แจ๋ว ธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ของบริษัทเล็ก ตอนที่ 2
  • ประธานาธิบดีจีนเชิญชวนใช้มาตรฐานเป็นภาษาร่วมกันของโลกประธานาธิบดีจีนเชิญชวนใช้มาตรฐานเป็นภาษาร่วมกันของโลก
  • ISO 22301 ช่วยให้ดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องISO 22301 ช่วยให้ดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
  • องค์กรพ้นภัยไซเบอร์ด้วยมาตรฐาน PIMS ตอนที่ 1องค์กรพ้นภัยไซเบอร์ด้วยมาตรฐาน PIMS ตอนที่ 1
  • ISO 41001 ช่วยจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างมีประสิทธิผลISO 41001 ช่วยจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างมีประสิทธิผล

Tags: COPOLCO, COVID-19, Geographical locations, ISO, ISO Strategy 2030, SDG, sharing economy, Standardization, Standards, Sustainability, Time zones, UNCTAD, Virtual meetings

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑