• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,228 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,005 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,322 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,207 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,834 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — March 7, 2022 8:00 am
ไอเอสโอกับมาตรฐานเพื่อรับมือกับสภาพภูมิอากาศ
Posted by Phunphen Waicharern with 1240 reads
0
  

ISO HELPS US PREPARE FOR WEATHER EXTREMESโลกกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในขณะเดียวกัน วิกฤตด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็ยังคงเป็นภัยคุกคามระยะยาวที่ใหญ่ที่สุดที่มนุษยชาติต้องเผชิญด้วย ทั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์จากรายงาน Global Risks Report 2022 ซึ่งสภาพอากาศสุดขั้วเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถูกมองว่าเป็นภัยระยะสั้นที่ร้ายแรงที่สุดและเป็นความเสี่ยงระยะสั้นที่ร้ายแรงที่สุดเป็นอันดับสอง ตามมาด้วยเรื่องการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอันดับสาม

จากข้อมูลของ National Oceanic and Atmospheric Administration  ระบุว่าอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียสตั้งแต่ก่อนยุคอุตสาหกรรม ความร้อนสะสมอันมหาศาลนี้ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำแข็งละลาย พายุใหญ่ ภัยแล้ง คลื่นความร้อน และไฟป่าที่รุนแรงซึ่งเกิดขึ้นแล้วเป็นระยะๆ รวมทั้งเมื่อปี 2564 (ค.ศ.2021)

นอกจากนี้ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ยังได้เปิดเผยรายงานที่ระบุอย่างชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อโลกเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ สภาพภูมิอากาศสุดขั้วที่ร้อนจัด ฝนตกหนัก ภัยแล้ง ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงและบ่อยขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความมั่นคงด้านอาหาร และคาดว่าโลกร้อนจะทำให้ผู้คนกว่า 183 ล้านคนในประเทศที่มีรายได้ต่ำ อดอยากและขาดสารอาหารภายในปี 2593

เมื่อเผชิญกับความเป็นจริงเช่นนี้  จึงเป็นการสนับสนุนให้รัฐบาลคิดอย่างกว้างขวางขึ้นและสร้างนโยบายที่กำหนดวาระการดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศสำหรับปีต่อ ๆ ไป ซึ่ง “มาตรฐาน” จะเป็นส่วนหนึ่งของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีการประสานงานกันมากขึ้นกว่าเดิม

หลักการประเมินความพร้อมสำหรับ Climate Change

ทีม Climate Sense ของประเทศอังกฤษมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาขีดความสามารถสำหรับการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การทำงานของ Climate Sense ครอบคลุมในระดับระหว่างประเทศทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา โดยมีการให้คำปรึกษา การฝึกอบรม และตัวชี้วัดสำหรับการเปลี่ยนแปลงเชิงองค์กรและเชิงระบบ

ทีมงานดังกล่าวมีการพัฒนากระบวนการและเครื่องมือซอฟต์แวร์ที่อิงตามความเสี่ยงเพื่อประเมินว่าองค์กรที่ปรับตัวนั้นจะเป็นอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการกำหนดเป้าหมายไปยังช่องว่างที่เหลืออยู่โดยมีกรอบการทำงานที่เรียกว่า Capacity Diagnosis & Development(CaDD)  ซึ่งได้รับการนำไปใช้อย่างกว้างขวางในระดับสากลและเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการวัดและพัฒนาความสามารถในการปรับตัวขององค์กรและระบบขององค์กรได้ดี

บอลด์วิน อาร์ แอนด์ เจ แบล็ค เป็นศูนย์กลางให้กับทีม Climate Sense ที่ทำงานให้กับสหภาพยุโรป โดยพัฒนาตารางสรุป Maturity เพื่อประเมินว่าองค์กรต่างๆ พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีเพียงใดซึ่งมีเมทริกซ์ 6 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ไม่ได้เตรียมตัวไปจนถึงการเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ หลักการของเมทริกซ์นี้และกระบวนการ CaDD ได้รวมอยู่ในมาตรฐาน ISO14090, Adaptation to climate change – Principles, requirements and guidelines ซึ่งใช้เสริมกับมาตรฐาน ISO14091, Adaptation to climate change – Guidelines on vulnerability, impacts and risk management เพื่อประเมินความเปราะบางของสภาพภูมิอากาศในระดับต่างๆ เนื่องจากโลกเราต้องเตรียมรับมือกับสภาพอากาศสุดขั้วทุกสภาพ เช่น ฝนที่ตกหนักมาก แต่ขณะเดียวกันก็ยังเกิดภัยแล้งด้วย

วอลเตอร์ คอล์เลนบอร์น ที่ปรึกษาด้านสภาพภูมิอากาศของบริษัท อเดลฟีฯ (adelphi) และผู้ประสานงานของคณะทำงานที่พัฒนามาตรฐาน ISO14091 อธิบายว่า การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับสิ่งที่ยังไม่ได้ดำเนินการหรือ gap ขององค์กรเป็นส่วนสำคัญของการปรับตัว ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้คณะทำงานจัดหาเครื่องมือเพื่อนำมาพิจารณาในการพัฒนามาตรฐานดังกล่าว

คอล์เลนบอร์นทำงานเกี่ยวกับการประเมิน gap ในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาเป็นเวลา 15 ปี และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการประเมิน gap ครั้งแรกของเยอรมนี ตั้งแต่นั้นมา เขาได้ทำงานเกี่ยวกับการประเมินดังกล่าวทั่วโลก และได้เขียนและสนับสนุนแนวทางที่ครอบคลุมในด้านนี้ เช่น แนวทางการประเมินสำหรับ UBA หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของเยอรมนี

จากนั้น UBA ได้เสนอมาตรฐานสากลฉบับใหม่สำหรับการประเมินความเปราะบาง ซึ่งนำไปสู่การพัฒนา ISO 14091 ซึ่งเป็นมาตรฐานเพื่อการปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความเปราะบาง ผลกระทบ และการประเมินความเสี่ยง

คอล์เลนบอร์นกล่าวว่ามาตรฐานนี้เหมาะสมอย่างยิ่งกับ ISO 14090 และอธิบายว่าผลกระทบของสิ่งเร้าทางสภาพอากาศที่แตกต่างกัน เช่น อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และความแห้งแล้ง สามารถนำไปสู่การพิจารณาในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และสังคมได้ เนื่องจากเราต้องเตรียมพร้อมสำหรับสภาพอากาศสุดขั้ว เช่น ฝนที่ตกหนัก รวมถึงภัยแล้งด้วย ซึ่งอาจหมายถึงการใช้หลักการ ‘เมืองฟองน้ำ’ (Sponge city) เช่น การรวบรวมน้ำในช่วงที่มีฝนตกชุก แล้วเก็บไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ความจริงก็คือ มีแนวทางมากมายในการปรับตัวและการประเมินความเสี่ยง และผู้คนก็รู้สึกหนักใจกับวิธีการทั้งหมดเหล่านี้ ดังนั้น ISO14091 ก็เหมือนกับมาตรฐานกรอบงาน ISO14090 ที่ช่วยสรุปและย่อแนวปฏิบัติและหลักการที่ดีที่สุดเอาไว้ใช้งาน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้โครงสร้างพื้นฐานของเราต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่ ไม่ว่าจะอย่างไร การปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีตราบเท่าที่เรามีเครื่องมือและกลไกในการกำหนดเป้าหมายที่จับต้องได้และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด  ซึ่งมาตรฐานไอเอสโอจะเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับแนวทางการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนโลกของเรานี้

ที่มา:   1. https://www.iso.org/contents/news/2022/02/infrastructures-portuaires-cap-s.html
2.
https://www.thairath.co.th/news/foreign/2328465



Related posts

  • โลกต้องเร่งหยุดภาวะโลกร้อนเพื่อรักษาแนวปะการังโลกต้องเร่งหยุดภาวะโลกร้อนเพื่อรักษาแนวปะการัง
  • แนวทางการประเมินความเสี่ยงด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแนวทางการประเมินความเสี่ยงด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ISO 41001 ช่วยจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างมีประสิทธิผลISO 41001 ช่วยจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างมีประสิทธิผล
  • แพล็ตฟอร์มใหม่ของไอเอสโอ ช่วยทั่วโลกใช้มาตรฐานได้เร็วขึ้นแพล็ตฟอร์มใหม่ของไอเอสโอ ช่วยทั่วโลกใช้มาตรฐานได้เร็วขึ้น
  • มาตรฐานสากลด้านการเกษตรอัจฉริยะมาตรฐานสากลด้านการเกษตรอัจฉริยะ

Tags: CaDD, Climate Change, COVID-19, Global Risk, Infrastructure, IPCC, ISO, ISO 14090, ISO 14091, Sponge city, Standardization, Standards, Sustainability, UBA, Weather Extremes

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑