• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,228 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,005 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,322 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,207 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,834 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — March 23, 2022 8:00 am
ไอเอสโอสร้างความชัดเจนของภาคส่วนการเงินด้วย ISO 4914
Posted by Phunphen Waicharern with 1095 reads
0
  

ISO 4914   HELPS INVESTORS BE MORE CONFIDENTโลกของการเงินและการลงทุนในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากกว่าเดิม ดังเช่นที่ธนาคารโลกได้กล่าวไว้ว่าความแพร่หลายของอินเทอร์เน็ตและการเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัลได้เร่งให้เกิดบริการทางการเงินมากขึ้นทั่วโลก และทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงการลงทุนและการออมได้โดยตรงผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัย การชำระค่าใช้จ่ายบริการต่างๆ เป็นต้น  ด้วยเหตุนี้ ไอเอสโอจึงตระหนักถึงความสำคัญของมาตรฐานสากลที่จะช่วยให้ปัจเจกบุคคลและองค์กรได้รับประโยชน์จากการเงินที่มีความยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งช่วยให้ทุกคนใช้ชีวิตได้ตามปกติ และพัฒนามาตรฐานสากลใหม่ล่าสุดที่ช่วยทำให้โลกของการเงินและการลงทุนที่ซับซ้อนมีความชัดเจนมากขึ้น

เอ็มม่า คัลลิโอมากิ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินอธิบายว่า มาตรฐาน ISO 4914, Financial services — Unique product identifier (UPI) ได้จัดเตรียมวิธีการใหม่ในการระบุและทำความเข้าใจผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เรียกว่า OTC Derivatives  และนำไปสู่ความชัดเจนของภาคส่วนการเงินมากขึ้น

เอ็มม่ากล่าวว่า OTC คือสัญญาที่ตกลงกันระหว่างสองฝ่ายซึ่งไม่ได้ดำเนินการผ่านการแลกเปลี่ยนที่มีการควบคุมหรือสถานที่ซื้อขาย OTC เป็นเครื่องมือทางการเงินที่มีมูลค่ามาจากประสิทธิภาพของสินทรัพย์อ้างอิง เช่น หุ้น สกุลเงิน อัตราดอกเบี้ย และสินค้าโภคภัณฑ์

โดยทั่วไป บริษัทใช้ตราสารอนุพันธุ์เป็นกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยง ซึ่งใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อปกป้องการเงินของบริษัทจากความเสี่ยงที่อาจจะต้องเผชิญ  และยังใช้สำหรับการเก็งกำไรซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำกำไรจากการประเมินที่มีการศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมทางการตลาดด้วย

หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2550-2551 (ค.ศ.2007-2008) การขาดความโปร่งใสในตลาดอนุพันธ์ OTC ถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญ ผู้นำ G20 จึงตกลงกันในการประชุมสุดยอดพิตต์สเบิร์กเมื่อปี 2552 (Pittsburgh Summit 2009) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปตลาดอนุพันธ์ OTC ว่าธุรกรรมอนุพันธ์ OTC ทั้งหมดควรรายงานไปยังที่คลังเก็บข้อมูลทางการค้าเดียวกัน การรายงานการค้าโดยการให้ข้อมูลแก่ทางการเกี่ยวกับกิจกรรมการซื้อขายถือเป็นกุญแจสำคัญในการระบุและจัดการกับความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเงินจากตลาดอนุพันธ์ OTC

Unique Product Identifier (UPI) กำลังถูกนำมาใช้เป็นกลไกในการระบุผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ OTC เพื่อช่วยให้หน่วยงานกำกับดูแล G20 รวบรวมข้อมูลอนุพันธ์ OTC ทั่วโลกโดยผลิตภัณฑ์หรือองค์ประกอบข้อมูลอ้างอิง UPI ร่วมกับข้อมูลหลักที่จำเป็นต้องมีคุณภาพ (Critical Data Elements: CDE) และตัวระบุธุรกรรมเฉพาะ (Unique Transaction Identifier: UTI) ซึ่งช่วยให้หน่วยงานกำกับดูแลมีมุมมองที่ดีขึ้น สอดคล้องกัน และมีความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับความเสี่ยงจากอนุพันธ์ OTC ที่เป็นระบบ

สำหรับผลกระทบของมาตรฐานใหม่สำหรับอนุพันธ์ OTC จากมุมมองของผู้บริโภค เอ็มม่ากล่าวว่าการรวมข้อมูลในคลังเก็บข้อมูลทางการค้าช่วยให้หน่วยงานต่างๆ ได้รับมุมมองที่ครอบคลุมเกี่ยวกับตลาดและกิจกรรมอนุพันธ์ของ OTC ช่วยกำกับดูแล เพื่ออำนวยความสะดวกในสภาพแวดล้อมที่มีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับผู้เข้าร่วมในตลาดทั้งหมด รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศและทั่วโลก

เทคโนโลยีนี้เป็นเส้นทางที่เห็นได้ชัดในอุตสาหกรรมการเงิน กล่าวคือ UPI จะถูกส่งโดยสำนักบริการอนุพันธ์ (Derivatives Service Bureau) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการระบุตัวตนที่เทคโนโลยีได้รับการออกแบบเพื่อให้มีลำดับชั้นระหว่างการจำแนกประเภทของเครื่องมือทางการเงิน (CFI), UPI และหมายเลขประจำตัวหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ (ISIN) สำหรับอนุพันธ์ OTC เมื่อได้รับมอบหมายผ่านแพลตฟอร์มเดียว เทคโนโลยีนี้จะทำให้มั่นใจในความสอดคล้องกันของตัวระบุเหล่านี้ตามหลักการที่กำหนดโดยกลุ่มตัวแทนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้  ไอเอสโอยังมีมาตรฐานอีกจำนวนหนึ่งที่สามารถใช้งานร่วมกันได้โดยมีจุดมุ่งหมายในการปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลที่ใช้ในการรายงานข้อมูลทางการเงิน ปรับปรุงความสามารถในการตรวจสอบความเสี่ยงทางการเงิน และลดต้นทุนการรายงานด้านกฎระเบียบด้วยมาตรฐานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเหล่านั้น

มาตรฐานไอเอสโอที่สามารถทำงานร่วมกับ UPI ได้แก่ Legal Entity Identifier (LEI), Unique Transaction Identifier (UTI), Critical Data Elements (CDE), Classification of Financial Instrument (CFI) และ International Securities Identification Number (ISIN) นอกจากนี้ ไอเอสโอยังคงพัฒนามาตรฐานเหล่านี้ในกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่ามาตรฐานยังคงเหมาะสมกับวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

มาตรฐาน ISO 4914 ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 68, Financial services คณะอนุกรรมการวิชาการ SC 8, Reference data for financial services

ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ

ที่มา: 1. https://www.iso.org/ref2786.html
2.
https://www.iso.org/news/ref2468.html#:~:text=ISO%20standards%20go%20a%20long,round%20more%20smoothly%20for%20everyone



Related posts

  • มาตรฐานงานวิศวกรรมโยธาสีเขียวมาตรฐานงานวิศวกรรมโยธาสีเขียว
  • ไอเอสโอแนะนำคู่มือการใช้งาน ISO 9001: 2015ไอเอสโอแนะนำคู่มือการใช้งาน ISO 9001: 2015
  • ไอเอสโอทบทวน ISO/IEC 17025ไอเอสโอทบทวน ISO/IEC 17025
  • แนะนำมาตรฐานการจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพสำหรับห้องแล็บแนะนำมาตรฐานการจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพสำหรับห้องแล็บ
  • มาตรฐานไอเอสโอตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทั่วโลกมาตรฐานไอเอสโอตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทั่วโลก

Tags: 1. Tag Standardization, CDE, CFI, Financial Services, ISIN, LEI, OTC, Reference data, Standards, UPI, UTI

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑