“สมาร์ทฟาร์ม” เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยตอบสนองเกษตรกรทั่วโลกในยุคดิจิทัลซึ่งมนุษยชาติกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหาร และเป็นระบบที่จะสนับสนุนทำให้โลกของเราเติบโตอย่างยั่งยืนได้แม้ว่าจำนวนประชากรโลกกำลังเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับและทรัพยากรบนโลกจะมีอยู่อย่างจำกัดก็ตาม
ไอเอสโอให้คำแนะนำที่ชัดเจนสำหรับปัญหาที่ซับซ้อน
ปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหารของโลกเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนในระดับหนึ่ง และมีความสำคัญเร่งด่วนที่ไอเอสโอต้องทำเพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติทั่วโลกที่ใกล้จะเกิดขึ้น สิ่งนั้นคือคำแนะนำซึ่งรวมอยู่ในมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกจำเป็นต้องนำไปใช้ จะเห็นได้ว่าเหตุฉุกเฉินและประเด็นปัญหาต่างๆ ของโลกได้รับการจัดกลุ่มไว้อย่างสอดคล้องภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติเพื่อให้ทั่วโลกร่วมกันแก้ไขซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ SDGs และวาระ 2030 และเป็นกลยุทธ์หลักของไอเอสโอ (ISO Strategy 2030)
SDGs มีทั้งหมด 17 หัวข้อซึ่งในแต่ละหัวข้อได้รับการกำหนดรหัสสีเอาไว้และไม่อาจแยกจากกันเนื่องจากมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันราวกับการเติมลูกบาศก์ของรูบิก (ของเล่นลับสมอง) ซึ่งต้องเติมสีเดิมทำให้เสร็จก่อนที่จะใช้สีถัดไปเช่นเดียวกับความท้าทายเรื่อง SDGs ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขในแต่ละด้านไปเกือบจะพร้อมๆ กัน
ตัวอย่างเช่นการรณรงกรงค์วันสตรีสากลที่ได้มีการเน้นย้ำให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่ไม่อาจแยกจากกันได้ระหว่างการดำเนินการด้านสภาพอากาศและความเท่าเทียมทางเพศ และผลกระทบของน้ำสะอาดกับการสุขาภิบาลเพื่อสุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดีนั้น
โดยพื้นฐานแล้ว พวกเราทุกคนจะสามารถไม่บรรลุเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งจนกว่าเราจะแก้ไขปัญหาเรื่องความหิวโหยได้เสียก่อน และเราไม่สามารถต่อสู้เพื่อสันติภาพ ความยุติธรรม และความเข้มแข็ง หรือดูแลการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรในขณะที่ไม่มีอะไรจะกิน
ด้านเกษตรกรรม เราต้องคำนึงถึง SDGs หลายข้อ สิ่งแรกที่ต้องทำคือการขจัดความยากจนให้หมดไป แต่เช่นเดียวกับกิจกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่ซึ่งยังต้องใช้ทรัพยากรและส่งผลกระทบด้านลบด้วย บทบาทของมาตรฐานก็คือการช่วยให้ฟาร์มทุกขนาดทุกประเภทมีประสิทธิผลมากขึ้นพร้อมๆ กับการลดผลกระทบของการทำฟาร์มต่อ SDGs ด้วย เช่น น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล การดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ หรือการปกป้องฟื้นฟูการใช้ระบบนิเวศอย่างยั่งยืน เป็นต้น มาตรฐานไอเอสโอสามารถช่วยเกษตรกรทั่วโกลด้วยเป้าหมายเหล่านี้ ตั้งแต่การทำฟาร์มเกษตรกรรายย่อย การเลี้ยงครอบครัว ไปจนถึงการปฏิบัติงานที่ใช้เครื่องจักรชั้นสูงบนพื้นที่ขนาดใหญ่
อนาคตของการทำฟาร์มการเกษตรภายในกลุ่มที่ปรึกษากลยุทธ์ของไอเอสโอ (SAG) สมาชิกไอเอสโอจากประเทศ สหรัฐอเมริกาและเยอรมนีกำลังประสานงานผู้เชี่ยวชาญจาก 21 ประเทศสมาชิกอื่นๆ ส่วนสมาชิกไอเอสโอแต่ละประเทศที่สนใจเข้าร่วมก็ได้เสนอชื่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบริบทและความสนใจของประเทศนั้นๆ
SAG ได้รับมอบหมายให้ทำแผนภาพรวมของการจัดทำมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำฟาร์มอัจฉริยะในห่วงโซ่คุณค่าอาหารทั้งหมดที่อยู่ในบริบทของ SDG ขององค์การสหประชาชาติ และประเมินความจำเป็นในการจัดทำมาตรฐานในอนาคต
SAG กำลังทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างภาพรวมและแผนสำหรับมาตรฐานการทำฟาร์มอัจฉริยะ ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2565
เมื่อเป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาแบบที่ต้องรวมส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน ก็ต้องมีวิธีแก้ปัญหาแบบรวมกลุ่ม นั่นคือ แนวทางที่เปิดใช้งานโดยมาตรฐานไอเอสโอซึ่งเราสามารถเห็นบทบาทที่เอื้ออำนวยของมาตรฐานได้ในหลายสถานการณ์ เช่น วิธีที่เราช่วยพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้ก้าวหน้าซึ่งในอีกมุมหนึ่งคือเรากำลังมุ่งเน้นไปที่ทุ่งนาและอาหาร
โลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เชื่อมต่อกันอย่างว่องไว ตลอดเวลา และรวมเข้ากับข้อมูลในเรื่องพืชผลต่างๆ ซึ่งดูเผินๆ แล้วเป็นคนละเรื่องกัน แต่ความจริงก็คือการทำฟาร์มนั้นเน้นข้อมูลเป็นหลัก เนื่องจากทั้งทรัพยากรและส่วนต่างถูกสิ่งเร้าต่างๆ ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอยู่ตลอดเวลา เกษตรกรรู้ดีว่าไม่อาจคาดเดาสภาพอากาศด้วย ตัวเองได้ ดังนั้น ในเชิงพาณิชย์จึงต้องมีการรวบรวม ตีความ และแลกเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมากขึ้นเพื่อให้คงอยู่ในธุรกิจต่อไปได้ แต่บ่อยครั้งที่เครื่องจักร เซ็นเซอร์ และซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ใช้ไม่เชื่อมโยงกันได้เป็นอย่างดี การจัดการกับความท้าทายด้านการทำงานร่วมกันเป็นเรื่องเพียงด้านเดียวที่ไอเอสโอสามารถช่วยได้
เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตโดยใช้ทรัพยากรน้อยลงได้หรือไม่? ความลับอยู่ที่การทำฟาร์มอย่างชาญฉลาด SAG ด้านการทำฟาร์มแบบสมาร์ทซึ่งเป็นที่รู้จักสำหรับคนในวงการไอเอสโอว่าเป็น “กลุ่มที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์” อันเป็นแบบจำลองสำหรับวิธีการรวบรวมชิ้นส่วนต่างๆ และนำไปใช้งานทำฟาร์มอัจฉริยะอย่างแท้จริง ลำดับความสำคัญอย่างหนึ่งของกลุ่มคือการพัฒนาการทำงานร่วมกันโดยทำให้ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ ทำงานร่วมกัน เพื่อให้มีความคิดใหม่ๆ และประสบการณ์จริงมาช่วยแก้ไขปัญหา จึงทำให้ไอเอสโอมีคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอมากกว่า 30 คณะ รวมทั้งคณะอนุกรรมการที่เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ซึ่งร่วมกันเป็นแกนหลักของกลุ่ม
คณะกรรมการวิชาการและคณะอนุกรรมการไอเอสโอได้มารวมตัวกันเพื่อทำให้การทำฟาร์มอัจฉริยะเป็นจริง SAG ด้านการทำ ฟาร์มอัจฉริยะไอเอสโอ จัดขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของ 2 ประเทศคือสหรัฐอเมริกาและเยอรมนี ผู้นำสองประเทศของโลกในด้านเกษตรกรรมอุตสาหกรรม แกนหลักของกลุ่มใหม่นี้ได้รวมเอาสมาชิกไอเอสโอจาก 21 ประเทศมาร่วมกันทำงานและแสดงถึงบริบทการทำฟาร์มและความท้าทายอย่างเต็มรูปแบบเท่าที่สามารถทำได้ รวมไปถึงยักษ์ใหญ่อย่างจีนและอินเดีย ซึ่งทั้งสองประเทศสามารถผสมผสานการทำฟาร์มเพื่อยังชีพของครอบครัวกับการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรมไปยังประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์และเนเธอร์แลนด์ด้วย ซึ่งทั้งสองประเทศมีประชากรที่มีความหนาแน่นสูงและอาศัยอยู่บนที่ดินที่มีมูลค่าสูง และมีการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง
หลังจากนี้ วิกฤตสุขภาพของการระบาดใหญ่ที่ยังคงยืดเยื้อและดำเนินต่อไป แต่เศรษฐกิจโลกจะอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ลงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ ไอเอสโอมีการเตรียมความพร้อมให้โลกของเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมไปพร้อมๆ กันแล้ว โปรดติดตามได้ในบทความครั้งต่อไปค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2796.html
Related posts
Tags: Climate Change, ISO, ISO Strategy 2030, Life on Land, SAG, sanitation, SDGs, Smart farm, standard, Standardization, Sustainable innovation, water
Recent Comments