• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,228 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,005 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,322 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,207 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,834 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — เมษายน 11, 2022 8:00 am
ฟาร์มอัจฉริยะกับนวัตกรรมที่ยั่งยืน ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 1827 reads
0
  

1.1 Smart Farm and Sustainable Innovation-01“สมาร์ทฟาร์ม” เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยตอบสนองเกษตรกรทั่วโลกในยุคดิจิทัลซึ่งมนุษยชาติกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหาร และเป็นระบบที่จะสนับสนุนทำให้โลกของเราเติบโตอย่างยั่งยืนได้แม้ว่าจำนวนประชากรโลกกำลังเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับและทรัพยากรบนโลกจะมีอยู่อย่างจำกัดก็ตาม

ไอเอสโอให้คำแนะนำที่ชัดเจนสำหรับปัญหาที่ซับซ้อน

ปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหารของโลกเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนในระดับหนึ่ง และมีความสำคัญเร่งด่วนที่ไอเอสโอต้องทำเพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติทั่วโลกที่ใกล้จะเกิดขึ้น สิ่งนั้นคือคำแนะนำซึ่งรวมอยู่ในมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกจำเป็นต้องนำไปใช้  จะเห็นได้ว่าเหตุฉุกเฉินและประเด็นปัญหาต่างๆ ของโลกได้รับการจัดกลุ่มไว้อย่างสอดคล้องภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติเพื่อให้ทั่วโลกร่วมกันแก้ไขซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ SDGs และวาระ 2030 และเป็นกลยุทธ์หลักของไอเอสโอ (ISO Strategy 2030)

SDGs มีทั้งหมด 17 หัวข้อซึ่งในแต่ละหัวข้อได้รับการกำหนดรหัสสีเอาไว้และไม่อาจแยกจากกันเนื่องจากมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันราวกับการเติมลูกบาศก์ของรูบิก (ของเล่นลับสมอง) ซึ่งต้องเติมสีเดิมทำให้เสร็จก่อนที่จะใช้สีถัดไปเช่นเดียวกับความท้าทายเรื่อง SDGs ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขในแต่ละด้านไปเกือบจะพร้อมๆ กัน

ตัวอย่างเช่นการรณรงกรงค์วันสตรีสากลที่ได้มีการเน้นย้ำให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่ไม่อาจแยกจากกันได้ระหว่างการดำเนินการด้านสภาพอากาศและความเท่าเทียมทางเพศ  และผลกระทบของน้ำสะอาดกับการสุขาภิบาลเพื่อสุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดีนั้น

โดยพื้นฐานแล้ว พวกเราทุกคนจะสามารถไม่บรรลุเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งจนกว่าเราจะแก้ไขปัญหาเรื่องความหิวโหยได้เสียก่อน  และเราไม่สามารถต่อสู้เพื่อสันติภาพ ความยุติธรรม และความเข้มแข็ง หรือดูแลการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรในขณะที่ไม่มีอะไรจะกิน

ด้านเกษตรกรรม เราต้องคำนึงถึง SDGs หลายข้อ สิ่งแรกที่ต้องทำคือการขจัดความยากจนให้หมดไป แต่เช่นเดียวกับกิจกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่ซึ่งยังต้องใช้ทรัพยากรและส่งผลกระทบด้านลบด้วย บทบาทของมาตรฐานก็คือการช่วยให้ฟาร์มทุกขนาดทุกประเภทมีประสิทธิผลมากขึ้นพร้อมๆ กับการลดผลกระทบของการทำฟาร์มต่อ SDGs ด้วย เช่น น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล การดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ หรือการปกป้องฟื้นฟูการใช้ระบบนิเวศอย่างยั่งยืน  เป็นต้น มาตรฐานไอเอสโอสามารถช่วยเกษตรกรทั่วโกลด้วยเป้าหมายเหล่านี้ ตั้งแต่การทำฟาร์มเกษตรกรรายย่อย การเลี้ยงครอบครัว ไปจนถึงการปฏิบัติงานที่ใช้เครื่องจักรชั้นสูงบนพื้นที่ขนาดใหญ่

อนาคตของการทำฟาร์มการเกษตรภายในกลุ่มที่ปรึกษากลยุทธ์ของไอเอสโอ (SAG) สมาชิกไอเอสโอจากประเทศ สหรัฐอเมริกาและเยอรมนีกำลังประสานงานผู้เชี่ยวชาญจาก 21 ประเทศสมาชิกอื่นๆ ส่วนสมาชิกไอเอสโอแต่ละประเทศที่สนใจเข้าร่วมก็ได้เสนอชื่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบริบทและความสนใจของประเทศนั้นๆ

SAG ได้รับมอบหมายให้ทำแผนภาพรวมของการจัดทำมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำฟาร์มอัจฉริยะในห่วงโซ่คุณค่าอาหารทั้งหมดที่อยู่ในบริบทของ SDG ขององค์การสหประชาชาติ และประเมินความจำเป็นในการจัดทำมาตรฐานในอนาคต

SAG กำลังทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างภาพรวมและแผนสำหรับมาตรฐานการทำฟาร์มอัจฉริยะ ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2565

เมื่อเป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาแบบที่ต้องรวมส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน ก็ต้องมีวิธีแก้ปัญหาแบบรวมกลุ่ม นั่นคือ แนวทางที่เปิดใช้งานโดยมาตรฐานไอเอสโอซึ่งเราสามารถเห็นบทบาทที่เอื้ออำนวยของมาตรฐานได้ในหลายสถานการณ์ เช่น วิธีที่เราช่วยพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้ก้าวหน้าซึ่งในอีกมุมหนึ่งคือเรากำลังมุ่งเน้นไปที่ทุ่งนาและอาหาร

โลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เชื่อมต่อกันอย่างว่องไว ตลอดเวลา และรวมเข้ากับข้อมูลในเรื่องพืชผลต่างๆ ซึ่งดูเผินๆ แล้วเป็นคนละเรื่องกัน แต่ความจริงก็คือการทำฟาร์มนั้นเน้นข้อมูลเป็นหลัก เนื่องจากทั้งทรัพยากรและส่วนต่างถูกสิ่งเร้าต่างๆ ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอยู่ตลอดเวลา เกษตรกรรู้ดีว่าไม่อาจคาดเดาสภาพอากาศด้วย ตัวเองได้  ดังนั้น ในเชิงพาณิชย์จึงต้องมีการรวบรวม ตีความ และแลกเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมากขึ้นเพื่อให้คงอยู่ในธุรกิจต่อไปได้ แต่บ่อยครั้งที่เครื่องจักร เซ็นเซอร์ และซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ใช้ไม่เชื่อมโยงกันได้เป็นอย่างดี การจัดการกับความท้าทายด้านการทำงานร่วมกันเป็นเรื่องเพียงด้านเดียวที่ไอเอสโอสามารถช่วยได้

เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตโดยใช้ทรัพยากรน้อยลงได้หรือไม่? ความลับอยู่ที่การทำฟาร์มอย่างชาญฉลาด SAG ด้านการทำฟาร์มแบบสมาร์ทซึ่งเป็นที่รู้จักสำหรับคนในวงการไอเอสโอว่าเป็น “กลุ่มที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์” อันเป็นแบบจำลองสำหรับวิธีการรวบรวมชิ้นส่วนต่างๆ และนำไปใช้งานทำฟาร์มอัจฉริยะอย่างแท้จริง  ลำดับความสำคัญอย่างหนึ่งของกลุ่มคือการพัฒนาการทำงานร่วมกันโดยทำให้ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ ทำงานร่วมกัน เพื่อให้มีความคิดใหม่ๆ และประสบการณ์จริงมาช่วยแก้ไขปัญหา  จึงทำให้ไอเอสโอมีคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอมากกว่า 30 คณะ รวมทั้งคณะอนุกรรมการที่เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ซึ่งร่วมกันเป็นแกนหลักของกลุ่ม

คณะกรรมการวิชาการและคณะอนุกรรมการไอเอสโอได้มารวมตัวกันเพื่อทำให้การทำฟาร์มอัจฉริยะเป็นจริง SAG ด้านการทำ ฟาร์มอัจฉริยะไอเอสโอ จัดขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของ 2 ประเทศคือสหรัฐอเมริกาและเยอรมนี ผู้นำสองประเทศของโลกในด้านเกษตรกรรมอุตสาหกรรม แกนหลักของกลุ่มใหม่นี้ได้รวมเอาสมาชิกไอเอสโอจาก 21 ประเทศมาร่วมกันทำงานและแสดงถึงบริบทการทำฟาร์มและความท้าทายอย่างเต็มรูปแบบเท่าที่สามารถทำได้ รวมไปถึงยักษ์ใหญ่อย่างจีนและอินเดีย ซึ่งทั้งสองประเทศสามารถผสมผสานการทำฟาร์มเพื่อยังชีพของครอบครัวกับการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรมไปยังประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์และเนเธอร์แลนด์ด้วย ซึ่งทั้งสองประเทศมีประชากรที่มีความหนาแน่นสูงและอาศัยอยู่บนที่ดินที่มีมูลค่าสูง และมีการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง

หลังจากนี้ วิกฤตสุขภาพของการระบาดใหญ่ที่ยังคงยืดเยื้อและดำเนินต่อไป แต่เศรษฐกิจโลกจะอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ลงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหรือไม่  ไอเอสโอมีการเตรียมความพร้อมให้โลกของเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมไปพร้อมๆ กันแล้ว โปรดติดตามได้ในบทความครั้งต่อไปค่ะ

ที่มา:  https://www.iso.org/news/ref2796.html



Related posts

  • ทั่วโลกได้รับการรับรองตามมาตรฐานไอเอสโอมากขึ้นทั่วโลกได้รับการรับรองตามมาตรฐานไอเอสโอมากขึ้น
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
  • มาตรฐานเพื่อโลกอนาคตที่เชื่อมต่อกันด้วย IoT ตอนที่ 2มาตรฐานเพื่อโลกอนาคตที่เชื่อมต่อกันด้วย IoT ตอนที่ 2
  • องค์กรพ้นภัยไซเบอร์ด้วยมาตรฐาน PIMS ตอนที่ 1องค์กรพ้นภัยไซเบอร์ด้วยมาตรฐาน PIMS ตอนที่ 1
  • ท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ ร่วมกันสร้างโลกให้ยั่งยืนท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ ร่วมกันสร้างโลกให้ยั่งยืน

Tags: Climate Change, ISO, ISO Strategy 2030, Life on Land, SAG, sanitation, SDGs, Smart farm, standard, Standardization, Sustainable innovation, water

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑