• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,175 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    14,991 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,305 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,197 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,779 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — เมษายน 13, 2022 8:00 am
ฟาร์มอัจฉริยะกับนวัตกรรมที่ยั่งยืน ตอนที่ 2
Posted by Phunphen Waicharern with 916 reads
0
  

2.1 Smart Farm and Sustainable Innovation-02บทความเรื่อง ฟาร์มอัจฉริยะกับนวัตกรรมที่ยั่งยืน ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงสมาร์ทฟาร์มและความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติซึ่งมีทั้งหมด 17 หัวข้อซึ่งไอเอสโอได้นำมารวมไว้ในกลยุทธ์การดำเนินงานที่เรียกว่า ISO Strategy 2022

สำหรับบทความในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงการเตรียมความพร้อมของไอเอสโอให้กับโลกเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมท่ามกลางภาวะการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ที่ยังดำเนินต่อไปจนดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ ดังต่อไปนี้

บางครั้ง บางอย่างอาจขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของมนุษย์เราในการปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมใหม่ ๆ และสภาพ แวดล้อมอย่างรวดเร็ว

ตัวอย่างเช่น เรื่องของการใช้ประโยชน์จากระบบดิจิทัล COVID-19 ซึ่งผลักดันให้มนุษย์เราใช้ปัญญาและเทคโนโลยีมากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นระบบอัจฉริยะ เอไอ หรือหุ่นยนต์  การแก้ไขปัญหาความยั่งยืนอย่างเร่งด่วนด้วยวิธีการเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ทั่วโลกต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังซึ่งไอเอสโอให้ความสนใจโดยเริ่มจากจุดที่ว่า ปัจจุบัน การเชื่อมต่อกันด้วยความเร็วสูงสุดทำให้เวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีการทำฟาร์มอัจฉริยะ

โดยพื้นฐานแล้ว เป็นโอกาสของเครือข่ายที่ทำการผลิตอาหารซึ่งเป็นโอกาสหลักที่กลุ่มที่ปรึกษากลยุทธ์ของไอเอสโอ (SAG) ระบุไว้ในการกำหนดมาตรฐานของอินเทอร์เฟส และวิธีการที่ข้อมูลจะได้รับการรวบรวม จัดรูปแบบ จัดเก็บ และแลกเปลี่ยนทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทานอาหาร รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพวิธีการผลิตที่สร้างขึ้นบนการเกษตรที่แม่นยำ และเทคนิคใหม่ในการเพาะปลูกด้วย

สำหรับเกษตรกรรมที่แม่นยำเป็นที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวางมาก  วิธีการทำฟาร์มอัจฉริยะที่มีมานานหลายทศวรรษในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเริ่มได้รับการส่งเสริมมากขึ้น เช่น ความสามารถในการควบคุมอัตโนมัติที่ช่วยให้ใช้เวลาและแรงงานในภาคสนามได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจุบัน โลกต้องต้องขอบคุณเทคโนโลยีอย่างปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอที่ทำให้เรามีความสามารถในการติดตาม การประมวลผล และการตีความข้อมูลด้วยความเร็วที่เพียงพอเพื่อให้เกษตรกรได้รับข้อมูลเชิงลึกอันมีคุณค่า และช่วยให้การปลูกพืชได้รับผลประโยชน์อย่างยั่งยืน และสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบได้อย่างต่อเนื่อง

การเกษตรที่แม่นยำรวมถึงการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงความผันแปรเล็กน้อยของอัตราการเจริญเติบโต หรือสภาพดิน หรือระดับของศัตรูพืชและโรคภายในพืชผลเดียว ทำให้ใช้ปุ๋ยได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น อันที่จริงแล้ว เราต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการผลิตปุ๋ยสังเคราะห์ การใช้อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญในการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของอาหารซึ่งสุดท้ายไปสิ้นสุดที่จานอาหารของเรา รวมทั้งเทคนิคต่างๆ ที่ช่วยลดของเสีย เช่น หุ่นยนต์กำจัดวัชพืชแบบกลไกที่ใช้เอไอในการจดจำและแยกพืชที่ไม่ต้องการออกก่อนที่จะทำให้สลายตัวไปด้วยเลเซอร์ เป็นต้น

ระบบข้อมูลการจัดการฟาร์ม หรือ FMIS (Farm Management Information Systems) ยังให้ภาพรวมของการดำเนินการทั้งหมดที่เกิดขึ้นทั้งฟาร์ม แนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ระดับของการเชื่อมต่อและความสามารถในการจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานได้อย่างปลอดภัยได้เปิดทางให้สำหรับการจัดการมากขึ้นอีกระดับโดยได้รับการสนับสนุนจากที่ปรึกษาภายนอก เช่นนักปฐพีวิทยาที่สามารถพัฒนาข้อมูลเชิงลึกและกลยุทธ์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางไปยังฟาร์มในพื้นที่ต่างๆ

สำหรับการเปรียบเทียบระดับสต็อกและการดูการบริโภคในอดีตและระดับการผลิตในปัจจุบันนั้น ซัพพลายเออร์สามารถทำงานร่วมกับเกษตรกรเพื่อจัดทำการคาดการณ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้นซึ่งหมายความว่าการหว่านและการเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชผลที่โตเร็ว (เช่น สลัดและสมุนไพร) สามารถดำเนินการได้ตามความต้องการ ซึ่งช่วยลดของเสียและความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวได้อย่างมาก ฟาร์มระยะไกลจะต้องมีการเชื่อมต่อความเร็วสูงที่เชื่อถือได้ และมีวิธีการที่เป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยน จัดเก็บ ประมวลผล และตีความข้อมูลจากภาคสนามอย่างปลอดภัย

วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติต้องดำเนินควบคู่ไปกับการเกษตรที่แม่นยำ เครื่องจักรไม่เพียงมีความแม่นยำมากขึ้นในการใช้อัตราตัวแปรของปัจจัยการผลิตในการแสวงหาความแม่นยำเท่านั้น แต่ยังสามารถส่งผลจริงต่อสภาพการทำงานของเกษตรกรและคนงานในฟาร์มด้วย เพราะเกษตรกรรมเป็นงานหนักซึ่งต้องใช้เวลาหลายวันและทำงานด้วยความเหนื่อยยาก และอาจเป็นอันตรายได้เช่นกัน และในขณะที่สามารถใช้มาตรการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงให้มากที่สุด (เช่น การทำงานบนที่สูง การบรรทุกน้ำหนักมาก หรือการใช้ผลิตภัณฑ์เคมี) แต่ความจริงคือสิ่งเหล่านั้นมักถูกละเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจำเป็นต้องดำเนินการในกรอบเวลาที่จำกัดเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศ ความต้องการของตลาด หรือการเจริญเติบโตของพืช

ดังนั้น การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้สามารถดูแลสิ่งที่ถูกละเลยเช่นนี้จึงมีความจำเป็น ถึงเวลาแล้วที่มนุษย์เราจะต้องปกป้องโลกให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนไปพร้อมๆ กับความสามารถในการทำงานที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้อย่างสมดุล รายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้าง โปรดติดตามได้ในบทความตอนจบครั้งหน้าค่ะ

ที่มา:  https://innoversity.masci.or.th/?p=26217&lang=TH



Related posts

  • หนุนประสิทธิภาพพลังงานของอาคารด้วยแนวทางองค์รวมของ ISO ตอนที่ 1หนุนประสิทธิภาพพลังงานของอาคารด้วยแนวทางองค์รวมของ ISO ตอนที่ 1
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
  • เอไอกับประเด็นปัญหาทางจริยธรรม ตอนที่ 1เอไอกับประเด็นปัญหาทางจริยธรรม ตอนที่ 1
  • แนะนำคู่มือจัดทำระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารแนะนำคู่มือจัดทำระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร
  • มาตรฐานไอเอสโอตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทั่วโลกมาตรฐานไอเอสโอตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทั่วโลก

Tags: COVID-19, Digitization, FMIS, Innovation, ISO, ISO Strategy 2030, Precise agriculture, SAG, Smart farm, standard, Standardization, Sustianability

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑