• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,513 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,360 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,209 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — May 11, 2022 8:00 am
ไอเอสโอก้าวทันอนาคต รุกพัฒนามาตรฐานใหม่
Posted by Phunphen Waicharern with 549 reads
0
  

2.1 TECHNOLOGY TRENDS  AND  INTERNATIONAL STANDARDSในประวัติศาสตร์ เราได้เห็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมหลายครั้ง แต่ละครั้งได้เปลี่ยนแปลงตลาดแรงงานไปเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการพัฒนาและยกระดับการผลิตอย่างต่อเนื่องด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ ทุกวันนี้ เทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังมาบรรจบกัน ทำให้เกิดความก้าวหน้าที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และการเปลี่ยนแปลงลักษณะการทำงานที่ส่งผลกระทบมากขึ้น ในอนาคต การทำงานต่างๆ จะพึ่งพาระบบอัตโนมัติมากขึ้นในขณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลและการเปลี่ยนแปลงของสังคมทำให้เราต้องเปลี่ยนวิธีการและสถานที่ทำงานของเราไปจากเดิม  ดังนั้น ไม่ใช่แค่คำจำกัดความของคำว่า “กำลังคน” จะเปลี่ยนไปเท่านั้น แต่สิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรบุคคลทำจะเปลี่ยนจากการเน้นที่ “แรงงาน” ไปเป็น “ทุนมนุษย์” ด้วย

อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นแนวโน้มที่สังเกตเห็นได้ชัดและมีการศึกษามาเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ความก้าวหน้าในเอไอหรือปัญญาประดิษฐ์  Smart manufacturing และ “หุ่นยนต์” ทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากกว่าคนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลมหาศาลต่อภาพรวมของการจ้างงานทั่วโลก โดยผลการศึกษาบางส่วนคาดการณ์ว่าในระดับโลกนั้น  ระบบอัตโนมัติสามารถกำจัดงานที่มีอยู่ออกไปราว 9% และทำให้เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงราวหนึ่งในสามส่วนของงานในอีก 15 ถึง 20 ปีข้างหน้า

สิ่งที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมนี้แตกต่างจากที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้คือ ความเร็วที่เกิดขึ้น ตามที่พอจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลอย่างรอบคอบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ในขณะที่การศึกษาจำนวนมากมุ่งเน้นไปที่การทำงานที่อาจสูญเสียงานไปเพราะระบบอัตโนมัติ แต่สิ่งสำคัญคือต้องระลึกถึงไว้ก็คือ อย่างน้อยที่สุดในระยะยาว ระบบอัตโนมัติจะส่งผลให้เกิดการสร้างงานที่สำคัญโดยจะมีการสร้างงานรูปแบบใหม่ โดยมนุษย์ไม่จำเป็นจะต้องทำงานที่ไม่ปลอดภัย น่าเบื่อ และซ้ำซากอีกต่อไป แต่ยังสามารถเพิ่มผลิตภาพและทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความยืดหยุ่นและมีเวลาพักผ่อนมากกว่าในอดีตอีกด้วย  งานใหม่เหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะต้องใช้ทักษะทางเทคนิคในระดับสูงและทักษะทางสังคมและความคิดสร้างสรรค์มากกว่างานที่จะหายไป

พลิกโฉมการทำงาน

ในขณะที่ระบบอัตโนมัติกำลังเปลี่ยนงานประเภทต่าง ๆ ไป เทคโนโลยีใหม่ๆ และความกดดันทางสังคมก็กำลังเปลี่ยนวัฒนธรรมในที่ทำงานและวิธีการทำงานของเราเช่นกัน เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นสามารถทำงานจากระยะไกลและมีตารางเวลาที่ยืดหยุ่นมากขึ้น แนวโน้มนี้ไม่ได้เริ่มต้นจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 แต่การระบาดใหญ่เป็นตัวเร่งให้เกิดมากขึ้นโดยส่งผลให้มีคนทำงานจากระยะไกลและใช้การประชุมทางวิดีโอและการประชุมเสมือนเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมากควบคู่ไปกับการเดินทางเพื่อธุรกิจที่ลดลงเป็นอย่างมาก รวมทั้งการใช้พื้นที่สำนักงานทางกายภาพก็ลดลงด้วย

การสำรวจแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มเหล่านี้สอดคล้องกับความต้องการของคนเจนวายส่วนใหญ่ คือ 92% ต้องการทำงานทางไกล และ 87% ต้องการทำงานตามกำหนดเวลา ซึ่งช่วยให้ผู้คนสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตที่บ้านได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ผู้ปฏิบัติงานบางคนอาจประสบกับความเครียดที่มีระดับเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเชื่อมต่อและผูกติดอยู่กับงานอย่างต่อเนื่องในขณะที่คนอื่น ๆ อาจเลิกทำงานและมีประสิทธิผลน้อยลงเนื่องจากสูญเสียการเชื่อมต่อทางกายภาพกับเพื่อนร่วมงานและพื้นที่ทำงานเฉพาะ  ดังนั้น องค์กรจึงเผชิญกับความท้าทายเป็นสองเท่าของการลงทุนในเทคโนโลยีที่จำเป็นเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดหรือระยะไกลเพื่อดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถที่ดีที่สุดไว้ในขณะที่ยังคงพัฒนากลยุทธ์เพื่อต่อสู้กับความเครียดที่เพิ่มขึ้นของพนักงานหรือความรู้สึกที่แตกแยกออกจากงานอย่างไม่มีชิ้นดี และการลาออกของพนักงาน

พร้อมก้าวสู่อนาคนด้วยมาตรฐานใหม่

ไอเอสโอมีการติดตามและการคาดการณ์อนาคตอยู่เสมอ จึงได้พัฒนามาตรฐานขึ้นมาจำนวนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติและการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้คน เช่น ISO/TR 23087, Automation systems and integration — The Big Picture of standards, ISO 29994, Education and learning services — Requirements for distance learning, ISO/AWI TR 29996, Education and learning services – Distance and digital learning services (DDLS) – Case studies (อยู่ระหว่างการพัฒนา) และ ISO/TS 15006, Robots and  and robotic devices —  Collaborative robots เป็นต้น

ทั้งนี้ ไอเอสโอได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการขึ้นมาหลายคณะเพื่อพัฒนามาตรฐานดังกล่าว ได้แก่  ISO/TC 232, Education and learning services (เผยแพร่มาตรฐานไปแล้ว 6 ฉบับ และอยู่ระหว่างพัฒนามาตรฐานใหม่อีก 3 ฉบับ), ISO/TC 299, Robotics (เผยแพร่มาตรฐานไปแล้ว 26 ฉบับ และอยู่ระหว่างพัฒนามาตรฐานใหม่อีก 10 ฉบับ), ISO/TC 260, Human Resource Management (เผยแพร่มาตรฐานไปแล้ว 26 ฉบับ และอยู่ระหว่างพัฒนามาตรฐานใหม่อีก 8 ฉบับ), ISO/TC 159/SC 1, General ergonomics principles (เผยแพร่มาตรฐานไปแล้ว 8 ฉบับ และอยู่ระหว่างพัฒนามาตรฐานใหม่อีก 1 ฉบับ),  ISO/TC 283, Occupational health and safety management (เผยแพร่มาตรฐานไปแล้ว 3 ฉบับ และอยู่ระหว่างพัฒนามาตรฐานใหม่อีก 3 ฉบับ) และ ISO/TC 292, Security and resilience (เผยแพร่มาตรฐานไปแล้ว 45 ฉบับ  และอยู่ระหว่างพัฒนามาตรฐานใหม่อีก 24 ฉบับ)

สิ่งที่ธุรกิจองค์กรควรนึกถึงอยู่เสมอคือการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงกับความเป็นไปของโลกไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่การเมือง ในเมื่อเรามีโอกาสในการคิดใหม่ทำใหม่ผ่านการเปลี่ยนแปลงและการดิสรัพท์ของเทคโนโลยีแล้ว  อย่าลืมที่จะนำมาตรฐานไอเอสโอมาเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้องค์กรสามารถข้ามผ่านอุปสรรคและพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอด้วย เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

ที่มา: https://www.iso.org/foresight/the-changing-nature-of-work



Related posts

  • จีนยกย่องมาตรฐานไอเอสโอ ช่วยยกระดับนวัตกรรมจีนยกย่องมาตรฐานไอเอสโอ ช่วยยกระดับนวัตกรรม
  • แนะนำ ISO 32000 มาตรฐานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แนะนำ ISO 32000 มาตรฐานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
  • สานฝันนวัตกรให้กลายเป็น “นวัตกรรม” ด้วย ISO 56002 ตอนที่ 3สานฝันนวัตกรให้กลายเป็น “นวัตกรรม” ด้วย ISO 56002 ตอนที่ 3
  • เจาะลึกมุมมองผู้เชี่ยวชาญการท่องเที่ยวยุค COVID-19 ตอนที่ 1เจาะลึกมุมมองผู้เชี่ยวชาญการท่องเที่ยวยุค COVID-19 ตอนที่ 1
  • เสริม EMS ด้วยการออกแบบเชิงนิเวศ “ISO 14006”เสริม EMS ด้วยการออกแบบเชิงนิเวศ “ISO 14006”

Tags: AI, COVID-19, Digitalization, Distance learning, ISO 29994, ISO/AWI TR 29996, ISO/TR 23087, resilience, Security, Smart Manufacturing, Standardization, Standards, WFH

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑