แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ทั้งในด้านการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัยและการเพิ่มขึ้นของประชากรในวัย หนุ่มสาวในหลายประเทศกำลังส่งผลกระทบมากขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสังคมโลก โดยรวมแล้ว ประชากรโลกมีอายุมากขึ้น แต่ก็มีบางภูมิภาคที่มีประชากรวัยหนุ่มสาวเพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากเช่นกัน การที่ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นจะมีผลกระทบต่อความยั่งยืนของรูปแบบการจัดหาเงินทุนสาธารณะและการดูแลสุขภาพ ส่วนการที่ประชากรวัยหนุ่มสาวเพิ่มขึ้นจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมทางการเมืองและระบบการศึกษา แนวโน้มทั้งสองฝั่งจะส่งผลอย่างมากต่อรูปแบบการจ้างงานและการจ้างงานการสูงวัยของประชากรหมายถึงการเพิ่มขนาดของประชากรของประเทศในช่วงอายุหนึ่งๆ โดยทั่วไป การวิเคราะห์การเติบโตในกลุ่มประชากรสูงวัยจะนับตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งนับเป็นเวลาหลายปีแล้วที่สัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเกิดขึ้นในประเทศต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ การสูงวัยของประชากรเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่
- อายุขัยเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วอายุขัยเฉลี่ยคำนวณเป็น “อายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด” อายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นได้โดยการลดอัตราการเสียชีวิตของเด็ก สุขภาพของประชากรโดยรวมดีขึ้น การกำจัดโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และการเข้าถึงการรักษาพยาบาลและปัจจัยอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ อายุขัยเพิ่มขึ้นพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ในภูมิภาคที่พัฒนาแล้ว อายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เดือนต่อปี ซึ่งเพิ่มอายุขัยของคนโดยเฉลี่ยต่อรุ่นประมาณ 5 ปี (พิจารณาปัจจัยอื่นๆ ทั้งหมดเท่ากัน) ภายในปี 2583 (ค.ศ.2040) อายุขัยเฉลี่ยจะสูงกว่า 80 ปีใน 59 ประเทศ และในปี 2593 (ค.ศ.2050) อายุขัยเฉลี่ยทั่วโลกจะอยู่ที่ 76 ปี
- อายุขัยเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วอายุขัยเฉลี่ยคำนวณเป็น “อายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด” อายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นได้โดยการลดอัตราการเสียชีวิตของเด็ก สุขภาพของประชากรโดยรวมดีขึ้น การกำจัดโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และการเข้าถึงการรักษาพยาบาลและปัจจัยอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ อายุขัยเพิ่มขึ้นพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ในภูมิภาคที่พัฒนาแล้ว อายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เดือนต่อปี ซึ่งเพิ่มอายุขัยของคนโดยเฉลี่ยต่อรุ่นประมาณ 5 ปี (พิจารณาปัจจัยอื่นๆ ทั้งหมดเท่ากัน) ภายในปี 2583 (ค.ศ.2040) อายุขัยเฉลี่ยจะสูงกว่า 80 ปีใน 59 ประเทศ และในปี 2593 (ค.ศ.2050) อายุขัยเฉลี่ยทั่วโลกจะอยู่ที่ 76 ปี
- อัตราการเจริญพันธุ์ต่ำ หากผู้คนไม่มีบุตรจำนวนมากพอที่จะเข้ามาแทนที่ กลุ่มอายุที่มากขึ้นก็จะเริ่มมีจำนวนมากกว่ากลุ่มอายุที่อายุน้อยกว่า
- การย้ายถิ่นที่ลดลง โดยทั่วไปการย้ายถิ่นจะนำคนหนุ่มสาววัยทำงานเข้ามาสู่จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น หากการย้ายถิ่นลดลง สัดส่วนของประชากรในกลุ่มอายุเหล่านั้นอาจเพิ่มขึ้นน้อยลงได้
แม้ว่าทุกประเทศจะประสบกับอายุเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นในช่วงสองสามทศวรรษข้างหน้า แต่ความสมดุลของแรงขับเคลื่อนแนวโน้มนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ในขณะที่การสูงวัยของประชากรเริ่มขึ้นในประเทศที่มีรายได้สูง (เช่น ในญี่ปุ่น 30% ของประชากรมีอายุเกิน 60 ปีแล้ว) ปัจจุบันก็มาถึงประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางซึ่งกำลังประสบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดเช่นกันโดยภายในปี 2593 สองในสามของประชากรโลกที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจะอาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง
ในประเทศกำลังพัฒนา ประชากรอาจ “แก่ก่อนวัยก่อนที่จะรวย” ซึ่งนำไปสู่ความเครียดเป็นความท้าทายต่อทรัพยากรสาธารณะด้วย
จำนวนคนที่เข้าสู่วัยทำงานในช่วงทศวรรษที่กำลังมาถึงจะต่ำกว่าในทศวรรษที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญ ขนาดของประชากรวัยทำงานที่สัมพันธ์กับจำนวนผู้เกษียณอายุซึ่งเรียกว่า “อัตราส่วนการพึ่งพาอาศัยกัน” มีแนวโน้มว่าภายในปี 2050 อัตราส่วนการพึ่งพาจะต่ำกว่า 2: 1 ใน 35 ประเทศทั่วโลก ในทางกลับกัน อัตราส่วนการพึ่งพาอาศัยกันคาดว่าจะดีขึ้นในหลายประเทศในแอฟริกาและบางส่วนของเอเชีย
การโยกย้ายถิ่นฐานสามารถเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มอัตราส่วนการพึ่งพาอาศัยในประชากรสูงอายุ ในหลายประเทศ การย้ายถิ่นเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาจำนวนประชากรทำงานที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชากรสูงอายุได้ ซึ่งนโยบายการย้ายถิ่นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว จะต้องสร้างสมดุลระหว่างความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ปฏิบัติงานกับความตึงเครียดทางการเมืองภายในในปีต่อๆ ไป
ในขณะที่ผู้สูงอายุบางคนต้องการการดูแลและการสนับสนุน แต่ประชากรสูงอายุโดยทั่วไปมีความหลากหลายมากและให้ความช่วยเหลือครอบครัว ชุมชน และสังคมในวงกว้างมากขึ้น แต่ขอบเขตของโอกาสและการสนับสนุนเหล่านี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างหนึ่งเป็นอย่างมาก ปัจจัยนั้นก็คือ สุขภาพ ซึ่งสภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคมได้เอื้ออำนวยให้ผู้คนทำสิ่งที่มีความสำคัญต่อผู้สูงอายุได้แม้ผู้สูงอายุจะสูญเสียความสามารถไปบ้างก็ตาม
สำหรับบทความในครั้งหน้า จะกล่าวถึงแนวโน้มในระดับสังคมที่มีนัยสำคัญสำหรับผู้สูงวัยและมาตรฐานที่ไอเอสโอพัฒนาขึ้นสำหรับประชากรสูงวัย โปรดติดตามในตอนจบค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/foresight/age-groups
Related posts
Tags: aging society, Fertility rates, Healthcare, Life expectancy, Migration, Standardization, Standards, Workforce
Recent Comments