• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,512 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,358 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,208 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — May 16, 2022 8:00 am
ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานตอบโจทย์วิจัยอายุประชากรโลก ตอนที่ 2
Posted by Phunphen Waicharern with 663 reads
0
  

1.1 AGING POPULATION AND  ISO STANDARDS_2สำหรับบทความ เรื่อง “ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานตอบโจทย์วิจัยอายุประชากรโลก ตอนที่ 1” ได้กล่าวถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ซึ่งมีประชากรสูงวัยในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ สำหรับบทความในครั้งนี้จะกล่าวถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ซึ่งมีนัยสำคัญในประเด็นต่าง ๆ และทำให้ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อประชากรสูงวัยและสังคมโลก ดังต่อไปนี้

ในระดับสังคม แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ในเรื่องการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัย มีนัยสำคัญสำหรับประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนื้

-          แรงงาน  เนื่องจากผู้คนอยู่ในวัยแรงงานมาเป็นเวลานาน ทำให้บริษัทต่างๆ อาจต้องกลับมาพิจารณาใหม่ในการออกแบบปริมาณงาน การจัดการผู้มีความสามารถ และแนวทางในการฝึกอบรมและเสริมทักษะแก่ผู้ปฏิบัติงาน บางประเทศก็ได้เพิ่มอายุเกษียณแล้ว  เราคาดหวังได้ว่าผู้ปฏิบัติงานอาจมีแนวทางในการก้าวขึ้นสู่เส้นทางอาชีพของตนได้แตกต่างออกไป โดยมีผลงานในอาชีพกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นปัจจัยสำคัญในการก้าวสู่ความสำเร็จ

-          การดูแลสุขภาพ  ผู้สูงอายุอาจต้องการการรักษาพยาบาลประเภทต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากพวกเขามีอายุยืนยาวขึ้นในช่วงชีวิตที่สุขภาพอยู่ในขาลง  เป้าหมายสำหรับหลายประเทศในอนาคตคือพยายามลดจำนวนการเจ็บป่วยลงในช่วงสองสามปีสุดท้ายของชีวิต  ตามทฤษฎีการกดทับความเจ็บป่วย (compression of morbidity theory) ทฤษฎีนี้ระบุว่าความเจ็บป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรังและเกิดขึ้นในชีวิตภายหลัง และตั้งสมมติฐานว่าภาระการเจ็บป่วยตลอดชีวิตจะลดลงได้หากสามารถเลื่อนการเริ่มมีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังออกไปซึ่งดีกว่าการเพิ่มอายุขัย

-          แนวโน้มผู้บริโภค  ผู้สูงอายุที่ออกจากงานหลังเกษียณแล้วมีช่วงเวลาหลังจากเกษียณยาวนานขึ้น  และอาจมีรูปแบบการบริโภคที่เฉพาะเจาะจง สิ่งเหล่านี้อาจรวมถึงการเดินทางไปไหนมาไหน ความปลอดภัย และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ แต่ยังมีเรื่องการท่องเที่ยว การพักผ่อน และการใช้จ่าย  ผู้สูงอายุคาดหวังโอกาสที่จะมีความอยู่ดีมีสุข และมี “เศรษฐกิจแห่งประสบการณ์” (The experience economy) ดังนั้น เมื่อไลฟ์สไตล์และรสนิยมของผู้บริโภคสูงอายุเปลี่ยนไปในขณะที่การใช้จ่ายที่ลดลงในการเกษียณอายุอาจส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัว

-          สภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคม  สิ่งที่จะช่วยให้ผู้สูงสามารถอายุรักษาคุณภาพชีวิตและช่วยเหลือครอบครัวและชุมชนของตนเองได้คือ การอยู่ในชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยซึ่งมีอาคารสาธารณะและการคมนาคมขนส่งที่ปลอดภัยและเข้าถึงได้ สถานที่ที่สามารถเดินไปมารอบๆ ได้ง่าย รวมทั้งโอกาสในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมด้วย

อิทธิพลของคนหนุ่มสาว

แม้ว่าประชากรสูงอายุจะเป็นประเด็นสำคัญสำหรับหลายประเทศ แต่อิทธิพลของคนรุ่นใหม่จะสร้างความท้าทายและโอกาสด้วย กลุ่มประชากรที่อายุน้อยกว่าจะมีอิทธิพลต่อแรงงาน เศรษฐกิจ และความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการ ประชากรวัยหนุ่มสาวมีความสำคัญเป็นพิเศษในแอฟริกาใต้สะฮารา (Sub-Saharan Africa) โดยครึ่งหนึ่งของประชากรจะมีอายุต่ำกว่า 21 ปีภายในปี 2578 (ค.ศ.2035)

คนหนุ่มสาวจากภูมิหลังทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นในพื้นที่ออนไลน์ พวกเขาทั้งมีอิทธิพลและได้รับอิทธิพลจากความคิด แนวโน้ม ความคิดเห็น และการโฆษณาทั่วโลก  คนรุ่นใหม่เหล่านี้จะก่อให้เกิดความท้าทายต่อรัฐบาลในการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เพิ่มขึ้น และต่อธุรกิจ เนื่องจากการเปิดรับสื่อโฆษณามากเกินไปก็นำไปสู่การตัดสินใจซื้อที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น หลายคนมองว่าเด็กรุ่นใหม่มีความคิดเห็นที่หนักแน่นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็นทางการเมือง และความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม

อิทธิพลของคนหนุ่มสาวที่มีการศึกษาและเข้าใจเทคโนโลยีในโลกของการทำงานจะต้องใช้การจัดการความสามารถที่ตอบสนองและความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการพัฒนาพนักงานและโอกาสในการทำงาน  โอกาสในการจ้างงานของเยาวชนในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินอย่างต่อเนื่อง บางคนแนะนำว่าการเตรียมความพร้อมให้กับคนหนุ่มสาวสามารถทำงานที่เน้นเทคโนโลยีและความรู้พื้นฐานในระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมนั้นไม่เพียงพอ เพราะพวกเขาอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในตลาดการจ้างงานเนื่องจากการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคซึ่งนำไปสู่ความท้าทายในการสร้างทุนทางเศรษฐกิจด้วย

จากการศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ทั่วโลกซึ่งมีประชากรสูงวัยเพิ่มมากขึ้น ทำให้คณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอ ISO/TC 314, Aging Societies ได้พัฒนามาตรฐานจำนวนหนึ่งขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว เช่น
- ISO 25550, Aging Societies, General requirements and guidelines for an age-inclusive workforce
- ISO 25551, Aging Societies, General requirements and guidelines for carer-inclusive organizations
- ISO 25552, Aging Societies, Framework for dementia-inclusive communities
-  ISO 25554,  Ageing Societies– Guidelines for Promoting Wellbeing in Local Communities and Organizations (อยู่ระหว่างการพัฒนา) เป็นต้น

มาตรฐานดังกล่าวให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงวัยในภาวะต่างๆ รวมถึงผู้สูงวัยทั้งที่ยังคงทำงานและเกษียณอายุแล้วซึ่งต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการดูแลที่ดีด้านสุขภาพ และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติแม้ว่าจะมีข้อจำกัดบางประการทางร่างกาย ในขณะที่คนในวัยทำงานต้องทำงานมากขึ้นและรับภาระดูแลผู้สูงอายุในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นได้ว่าถึงแม้ไอเอสโอจะให้ความสำคัญกับผู้สูงวัย แต่ก็ไม่ได้ละเลยคนทุกรุ่นทุกวัยดังที่จะเห็นได้จากกลยุทธ์ของไอเอสโอซึ่งได้มองการเปลี่ยนแปลงในสังคมอย่างลึกซึ้ง และเข้าใจถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และการทำงานทางไกล การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และความจำเป็นในการค้นหาวิธีการทำงานใหม่ๆ เป็นต้น ทำให้มีการวางแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบผ่านกลยุทธ์ ISO 2030 (ISO Strategy 2030) อย่างสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (2030 Agenda) ซึ่งช่วยให้คนทั่วโลกสามารถใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้น ดีขึ้น และก้าวสู่เส้นทางของความยั่งยืนไปพร้อมกัน

ที่มา: 1. https://www.iso.org/foresight/age-groups
2. https://www.iso.org/publication/PUB100364.html



Related posts

  • สุขภาพแข็งแรง ชุมชนเข้มแข็งด้วยมาตรฐานไอเอสโอ ตอนที่ 2สุขภาพแข็งแรง ชุมชนเข้มแข็งด้วยมาตรฐานไอเอสโอ ตอนที่ 2
  • แนะนำมาตรฐานใหม่ ISO 24516 ตอนที่ 1แนะนำมาตรฐานใหม่ ISO 24516 ตอนที่ 1
  • ขนส่งสินค้าอันตรายอย่างปลอดภัยด้วย ISO 16106ขนส่งสินค้าอันตรายอย่างปลอดภัยด้วย ISO 16106
  • ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานสากลเพื่อตอบโจทย์ “เมือง” ตอนที่ 2ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานสากลเพื่อตอบโจทย์ “เมือง” ตอนที่ 2
  • ก้าวทันเศรษฐกิจโลก…ไอเอสโอแนะนำมาตรฐานสำหรับธุรกิจขนาดเล็กก้าวทันเศรษฐกิจโลก…ไอเอสโอแนะนำมาตรฐานสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก

Tags: 2030 Agenda, Aging population, Aging societies, Consumer trends, Healthcare, ISO 25550, ISO 25551, ISO 25552, ISO 25554, ISO Strategy 2030, Standardization, Standards, Workforce

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑