บทความ MASCIInnoversity เรื่อง “ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานสากลเพื่อตอบโจทย์ “เมือง” ตอนที่ 1” ได้นำเสนอเรื่องราวของการอพยพเคลื่อนย้ายของผู้คนเข้าสู่เมืองใหญ่รวมถึงการเคลื่อนย้ายของประชากรระหว่างประเทศซึ่งไอเอสโอได้ค้นคว้าวิจัยไว้ในมิติของสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม สำหรับบทความในตอนที่ 2 จะขยายมุมมองทางการเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งกล่าวถึงมาตรฐานสากลที่จะช่วยส่งเสริมให้เมืองมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนดังต่อไปนี้
ในทางการเมือง การขยายตัวของเมืองสามารถเพิ่มอำนาจของรัฐบาลท้องถิ่น และนำไปสู่การตัดสินใจในระดับท้องถิ่นมากขึ้น แต่บางครั้งก็เพิ่มอำนาจให้กับประชาชนได้ เมืองได้รับการอธิบายว่าเป็น “เกาะเสมือน” (Virtual Islands) ซึ่งหมายถึง สถานที่ที่การจัดสรรทรัพยากรและการผลิต การกระจายพลังงานสามารถจัดการได้ภายในระบบที่ค่อนข้างปิดเพื่อประโยชน์ของทุกคน
The Inter-American Dialogue ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเครือข่ายทั่วโลกเพื่อสนับสนุนความเท่าเทียมกันทางสังคมในละตินอเมริกาและหมู่เกาะแคริบเบียน ได้ไว้แนะนำว่า เราสามารถมองไปข้างหน้าถึงอนาคตที่ดีในเมืองต่าง ๆ เช่น พื้นที่เมืองที่ประสบความสำเร็จจะเป็นพื้นที่ที่ช่วยปรับปรุงบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อระดับชาติและระดับนานาชาติอย่างอินเทอร์เน็ต การมีแหล่งน้ำและไฟฟ้า การเพิ่มระดับของการศึกษาและการดูแลสุขภาพ หรือการปรับตัวให้เข้ากับแผนและมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการดูแลเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดหาแหล่งรวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ การทำให้ระบบการเงินที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ การปลูกฝังกิจกรรมทางวัฒนธรรม ซึ่งการเป็นเมืองที่มีการพัฒนาเช่นนี้ สามารถให้ประโยชน์ที่สำคัญสองประการแก่ประชาชน คือ การปรับปรุงคุณภาพชีวิตและการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น
เมื่อมีการย้ายถิ่นฐานเพิ่มขึ้น
ในต่างประเทศ การที่ผู้คนเคลื่อนไหว ต้นทุนการขนส่งที่ลดลง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการมีโอกาสทางเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้ คาดว่าจะขับเคลื่อนการอพยพระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในทศวรรษหน้า
แม้ว่าการอพยพตามโอกาสที่เอื้ออำนวยจะเป็นเรื่องปกติมาระยะหนึ่งแล้ว แต่คาดว่าผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะกระตุ้นให้ผู้คนจำนวนมากต้องอพยพไปยังต่างประเทศในทศวรรษหน้าอีก อันที่จริง คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าผลกระทบอย่างเดียวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจเป็นการอพยพของมนุษย์ ซึ่งมีการคาดว่าจำนวนผู้พลัดถิ่นจากความขัดแย้งและความไม่มั่นคงทางการเมืองจะเพิ่มขึ้นด้วย ผู้ลี้ภัยจำนวนมากขึ้นที่ย้ายตามเส้นทางการย้ายถิ่นใหม่และถิ่นที่มีอยู่จะส่งผลกระทบต่อนโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาลระหว่างประเทศ
การพัฒนาเศรษฐกิจในทางตอนใต้ของโลกอาจส่งผลต่อการอพยพระหว่างประเทศในระดับที่สูงขึ้น ในขณะที่หลายคนสันนิษฐานว่าการพัฒนาเศรษฐกิจจะลดจำนวนผู้อพยพที่ค้นหาโอกาสใหม่ ๆ ทางเศรษฐกิจ ในความเป็นจริง เป็นที่สังเกตว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่นำไปสู่การเพิ่มจำนวนการย้ายถิ่นฐานในขั้นต้น น่าจะเป็นเพราะประชาชนมีการศึกษาที่ดีขึ้นและสามารถเข้าถึงการเชื่อมต่อ การคมนาคมขนส่งและโอกาสในการทำงานระหว่างประเทศที่ดีขึ้น การย้ายถิ่นจึงมีแนวโน้มลดลงเมื่อมีการพัฒนาประเทศเพียงพอและเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานที่บ้านด้วย
สำหรับตลาดที่พัฒนาแล้วซึ่งรับผู้อพยพ ก็หมายถึงการเข้าถึงประชากรวัยทำงานที่เพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนสังคมสูงอายุด้วยในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ผู้คนย้ายถิ่นยังช่วยชะลอการเติบโตของประชากรที่ลดลงซึ่งสัมพันธ์กับอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลงด้วย
มาตรฐานไอเอสโอที่ตอบโจทย์อนาคตของเมือง
จากการติดตามและการคาดการณ์อนาคตของไอเอสโอตามที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานขึ้นมาจำนวนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและเมืองที่ยั่งยืนรวมทั้งมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเมือง เช่น ISO 37105, Sustainable cities and communities — Descriptive framework for cities and communities, ISO 37106, Sustainable cities and communities — Guidance on establishing smart city operating models for sustainable communities, ISO 20760-1, Water reuse in urban areas — Guidelines for centralized water reuse system — Part 1: Design principle of a centralized water reuse system, ISO 23070, Water Reuse in Urban Areas — Guidelines for reclaimed water treatment: Design principles of a RO treatment system of municipal wastewater, ISO 24162, Test method for energy consumption of refuse collection vehicles และ ISO/DIS 24161, Waste collection and transportation management — Vocabulary เป็นต้น
ทั้งนี้ ไอเอสโอได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการขึ้นมา 3 คณะเพื่อพัฒนามาตรฐานดังกล่าว ได้แก่ ISO/TC 268, Sustainable cities and communities (เผยแพร่มาตรฐานไปแล้ว 32 ฉบับ และอยู่ระหว่างพัฒนามาตรฐานใหม่อีก 22 ฉบับ), ISO/TC 282/SC 2, Water reuse in urban areas (เผยแพร่มาตรฐานไปแล้ว 5 ฉบับ และอยู่ระหว่างพัฒนามาตรฐานใหม่อีก 5 ฉบับ), ISO/TC 292, Waste collection and transportation management (เผยแพร่มาตรฐานไปแล้ว 2 ฉบับ และอยู่ระหว่างพัฒนามาตรฐานใหม่อีก 2 ฉบับ)
จากแนวโน้มการอพยพย้ายถิ่นฐานของประชากรทั่วโลก ทำให้บริษัทต่างๆ สามารถคาดหวังได้ว่าจะมีแรงงานที่คล่องตัวและมีความหลากหลายมากขึ้น ในขณะที่ประเทศที่รับผู้ย้ายถิ่นฐานไปก็ได้รับประโยชน์ทางวัฒนธรรมของความหลากหลายพร้อมกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของแรงงานที่ขยายใหญ่ขึ้น และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เมืองและประชากรของเมืองได้รับประโยชน์มากที่สุด คือ การบริหารจัดการเมืองที่มีแบบแผนและมาตรฐานที่เหมาะสมดังเช่นมาตรฐานสากลที่ไอเอสโอได้มุ่งมั่นพัฒนาขึ้นมาด้วยความทุ่มเทของนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีประสบการณ์จากทั่วโลก ซึ่งหากเมืองนำไปปรับใช้อย่างจริงจังแล้วก็จะทำให้เมืองน่าอยู่และมีความยั่งยืนต่อไป
ที่มา: https://www.iso.org/foresight/movement-of-people
Related posts
Tags: Economics, Environment, Healthcare, ISO, ISO 20760-1, ISO 23070, ISO 24162, ISO 37105, ISO 37106, ISO/DIS 24161, Politics, Society, Standardization, Standards, Sustainable Cities, Urban areas
Recent Comments