• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,558 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,076 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,411 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,295 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,987 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — May 27, 2022 8:00 am
“มาตรวิทยา” ศาสตร์แห่งการวัดผลในยุคดิจิทัล
Posted by Phunphen Waicharern with 951 reads
0
  

3.1 Metrology  in THE DIGITAL  ERA_ปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น Big Data เอไอหรือปัญญาประดิษฐ์ และแมชชีนเลิร์นนิ่งมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตมากขึ้น  คำถามคือ ทำไมมาตรวิทยาจึงมีความสำคัญในยุคดิจิทัล ผลกระทบที่มีต่อมาตรวิทยาซึ่งศาสตร์แห่งการวัดจะเป็นอย่างไรบ้าง แล้วทำไมจึงกล่าวว่ามาตรวิทยาในอนาคตจะเป็นศาสตร์แห่งการวัดผลสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล เรามาติดตามกัน

“มาตรวิทยาในยุคดิจิทัล” เป็นหัวข้อของการรณรงค์วันมาตรวิทยาโลกประจำปี 2565 นี้ ซึ่งมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 20 พฤษภาคมของทุกปี หัวข้อนี้ได้รับเลือกเนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลกำลังปฏิวัติมาตรวิทยาและเป็นหนึ่งในแนวโน้มที่ทั่วโลกให้ความสำคัญในสังคมปัจจุบัน ข้อมูลที่ถูกต้องและยุติธรรมเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาดิจิทัลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ข้อมูลคุณภาพสูงที่ได้มาจากมาตรฐานการวัดผล เป็นกุญแจสำคัญในการนำอุตสาหกรรมของเราไปสู่อีกระดับในยุคดิจิทัล

ผู้อำนวยการของสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (BIPM) ได้ส่งสารถึงคนทั่วโลกว่า การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของมาตรวิทยาสามารถก่อให้เกิดประโยชน์มากมายแก่ชุมชนทั่วโลก ซึ่งสามารถเร่งเวลาออกสู่ตลาดให้เร็วขึ้นได้สำหรับผลิตภัณฑ์และบริการการวัด และลดความล่าช้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอนุมัติ ในทางกลับกัน สิ่งนี้ยังนำไปสู่นวัตกรรม ความคล่องตัวของผลิตภัณฑ์ และความยั่งยืนด้วย

ไอเอสโอเพิ่งลงนามในแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคุณภาพระดับสากล ซึ่งเป็นแถลงการณ์ร่วมเป็นเวทีสำหรับองค์กรที่ลงนามเพื่อแสดงการสนับสนุนในลักษณะที่เหมาะสมกับองค์กรของตนโดยเฉพาะ ความเข้าใจร่วมกันนี้จะช่วยพัฒนา ดำเนินการ และส่งเสริมกรอบการทำงานของหน่วยวัดดิจิทัลให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในวงกว้างของโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคุณภาพระดับสากล
การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของมาตรวิทยาสามารถก่อให้เกิดประโยชน์มากมายแก่ชุมชนทั่วโลก  แถลงการณ์ร่วมของเจตจำนงเป็นส่วนหนึ่งของการริเริ่มอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาและสร้างรูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีความปลอดภัยและสม่ำเสมอทั่วโลกโดยอิงตามหน่วยระบบสากล (SI) หรือที่เรียกว่าSI brochure

สำหรับชุดมาตรฐาน ISO 80000 สำหรับปริมาณและหน่วย เช่น ISO 80000-1 เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ SI brochure เนื่องจากมีการให้คำศัพท์ คำจำกัดความ และสัญลักษณ์ของปริมาณและหน่วยที่ใช้ในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่มีความกลมกลืนสอดคล้องกัน โดยให้ภาษาที่เป็นหนึ่งเดียวสำหรับการสื่อสารข้อมูลการวัดที่แม่นยำระหว่างนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวัดทั้งหมด

กรอบการทำงานของหน่วยวัดดิจิทัล จะช่วยให้การนำบริการใหม่ๆ ไปใช้สามารถเกิดประโยชน์สูงสุดจากรูปแบบข้อมูลเปิด เครื่องมือซอฟต์แวร์ และบริการที่สร้างจากการนำเสนอหลักของ SI บริการดังกล่าวจะช่วยในการผลิตข้อมูลคุณภาพสูงและทำให้พร้อมสำหรับการวิเคราะห์ในรูปแบบที่มีความสอดคล้องกันและมีความสม่ำเสมอ ผลลัพธ์ก็จะเป็นแอปพลิเคชันดิจิทัลใหม่ที่มีการพัฒนาและนำไปใช้ในชุมชนมาตรวิทยาในวงกว้างและในสาขาการวิจัยที่อาศัยเรื่องของหน่วยวัด

แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวเคยลงนามโดยสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ BIPM, องค์การมาตรวิทยาทางกฎหมายระหว่างประเทศ (OIML), สมาพันธ์การวัดระหว่างประเทศ (IMEKO), สภาวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (ISC) และคณะกรรมการข้อมูล (CODATA) ซึ่งระบุว่าการเพิ่มขึ้นของมาตรฐานไอเอสโอจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับความร่วมมือและการเข้าถึงโครงการทั่วโลก

ในวันที่ 20 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันครบรอบการลงนามในสนธิสัญญาเมตริกซึ่งมีการลงนามเมื่อปี 2418 (ค.ศ.1875) เพื่อวางรากฐานระบบการวัดให้มีความสอดคล้องกันทั่วโลก ทั้งทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม อุตสาหกรรมการผลิตและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการจัดงานทุกปี หน่วยงานอย่างสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (BIPM) และองค์การมาตรวิทยาทางกฎหมายระหว่างประเทศ (OIML) ตลอดจนองค์กรระดับชาติที่รับผิดชอบด้านมาตรวิทยา ก็ได้ร่วมกันกำหนดหัวข้อการจัดงานเพื่อเป็นกรอบการทำงานและร่วมกันรณรงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนา เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ หรือแนวโน้มของกระแสเทคโนโลยีโลกที่เปลี่ยนไปในทุกย่างก้าว เพื่อช่วยสร้างการค้นพบใหม่ ๆ ทางการวิจัย วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม ตลอดจนพัฒนามาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อคนทั่วโลก

ที่มา: 1. https://www.iso.org/contents/news/2022/05/metrology-in-digital-era-1.html
2. https://www.nimt.or.th/main/?p=40786



Related posts

  • อนาคตของพลังงานที่ยั่งยืน ตอนที่ 1อนาคตของพลังงานที่ยั่งยืน ตอนที่ 1
  • ผู้นำ G7 ระบุ “มาตรฐานสากลจำเป็นต่อความก้าวหน้า”ผู้นำ G7 ระบุ “มาตรฐานสากลจำเป็นต่อความก้าวหน้า”
  • ไอเอสโอพร้อมก้าวสู่อนาคตด้วยกลยุทธ์ ISO 2030 ตอนที่ 1ไอเอสโอพร้อมก้าวสู่อนาคตด้วยกลยุทธ์ ISO 2030 ตอนที่ 1
  • มาตรฐานที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืนมาตรฐานที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน
  • ปกป้องสิทธิผู้บริโภคด้วย ISO 22458ปกป้องสิทธิผู้บริโภคด้วย ISO 22458

Tags: BIPM, CODATA, Digital era, IMEKO, ISC, ISO, ISO 80000 series, OIML, SI brochure, Standardization, Standards

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑