ปัจจุบัน โลกธุรกิจ และเทคโนโลยี มีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแข่งขันทางตลาดสูงขึ้น แม้ว่าจะมีนโยบายบางอย่างที่เป็นอุปสรรคสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) แต่ผู้คนกลับเข้าสู่ภาคธุรกิจ โดยเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวและก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการ SME มากขึ้นด้วยความสบายใจ ไม่ว่าจะเกิดจากความต้องการในการทำงานน้อยลง หรือความยืดหยุ่นในการทำงานที่มากขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีอินเทอร์เนตที่ปฏิวัติรูปแบบการสื่อสาร กล่าวได้ว่าผู้ประกอบการและองค์กรต่างๆ จะต้องเร่งพัฒนาและดำเนินการเชิงรุก เปิดรับแนวทางที่ทันสมัย คล่องตัว และสร้างสรรค์มากขึ้น เพื่อความอยู่รอดและการเติบโตในโลกธุรกิจ
พาร์วินเดอร์ ซิงห์ ผู้ก่อตั้ง InstaEASY นักเขียน โปรแกรมเมอร์ และนักการตลาดดิจิทัล ได้รวบรวมแนวโน้มสำคัญ 6 ประการที่ผู้ประกอบการควรรู้ เพื่อช่วยผู้ประกอบการใช้ประโยชน์สูงสุดจากกลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์และบริการ ในการพัฒนาและสร้างความสามารถในการแข่งขันเหนือคู่แข่ง ดังต่อไปนี้
1. การเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ได้แก่ วีอาร์ หรือความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality: VR) และเออาร์ หรือความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality: AR)
เมื่อเทคโนโลยีและโลกดิจิทัลเติบโตขึ้น ความต้องการอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงและโต้ตอบกับอุปกรณ์ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราต้องการให้เป็นกับสิ่งที่เป็นมาจนถึงตอนนี้เชื่อมโยงกันด้วยวีอาร์และเออาร์ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วหมายถึง สภาพแวดล้อมจำลองที่สามารถดูได้โดยใช้อุปกรณ์แบบสวมศีรษะแบบพิเศษ สามารถมอบวิธีการใหม่ๆ ในการมีส่วนร่วมกับผู้คนด้วยอุปกรณ์หรือแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ กล่าวได้ว่าเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มาแรง แม้ว่าตอนนี้ วีอาร์และเออาร์ในธุรกิจขนาดเล็กจะยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าในอนาคตจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดและรูปแบบธุรกิจดิจิทัล
2. พลังงานที่ยั่งยืนจะกลายเป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างระหว่างองค์กร
ประโยชน์ของพลังงานที่ยั่งยืนไม่เพียงแต่ใช้พลังงานน้อยลง แต่ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญสู่ความยั่งยืนและการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ ผู้ประกอบการและองค์กรต้องลงทุนในแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม พลังงานหมุนเวียนส่งผลในเชิงบวกต่ออนาคตของธุรกิจ และเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการที่มองหานักลงทุนที่ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
3. การสร้างประสบการณ์ทำงานที่ดีให้กับพนักงานส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กรและการทำงานของพนักงาน
ปัจจุบัน พนักงานมีความคล่องตัวในการทำงานมากกว่าในอดีต หลายคนมองว่าเป็นข้อได้เปรียบ เนื่องจากสามารถทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา และทำให้การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีเป็นเรื่องที่ท้าทายอีกด้วย แต่ปัญหาคือความคาดหวังของพนักงานที่มากขึ้น ในแง่ของคุณภาพชีวิตและความต้องการชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น
องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องใส่ใจกับการสร้างประสบการณ์ทำงานที่ดีให้กับพนักงาน เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดและเพิ่มความสำเร็จได้ อย่างไรก็ตาม มีคำถามว่า จะใช้นโยบายที่ยืดหยุ่นอย่างไรจึงจะเหมาะสม คำตอบ คือ ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพการทำงาน และการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร ทั้งในแง่ความรู้สึกอยากมีส่วนร่วม มีความผูกพันกับองค์กร เพื่อให้เกิดความภักดีต่อองค์กร
4. ความท้าทายสภาพที่เป็นอยู่ในเรื่องความร่วมมือและการบูรณาการ
ความร่วมมือและการบูรณาการ (Co-opetition and integration) เป็นคำศัพท์ที่ใช้กันทั่วไปในธุรกิจ หมายถึงการแข่งขันระหว่างบริษัทที่ทำงานเพื่อเป้าหมายร่วมกัน ความร่วมมือมีสามมิติที่แตกต่างกัน ประการแรก วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อหลายบริษัททำงานร่วมกันเพื่อเอาชนะความท้าทายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ประการที่สอง การก่อตัวของพันธมิตรเชิงกลยุทธ์และหุ้นส่วนที่สร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการดำเนินการร่วมกัน และสุดท้ายคือการบูรณาการกลยุทธ์ทางธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งประเด็นสุดท้ายนี้หมายถึงธุรกิจแบบผสมที่ไม่เข้ากับหมวดหมู่ใดหมวดหมู่หนึ่ง แต่ใช้ประโยชน์จากโอกาสและแนวโน้มที่ปรากฎขึ้นของความร่วมมือ
5. การเข้าหาแหล่งทุนรูปแบบใหม่ขององค์กรที่มุ่งการเติบโตในระยะยาว
ในอดีต ธนาคารถือเป็นแหล่งเงินทุนหลักสำหรับ SME ทุกวันนี้ ผู้ประกอบการแสวงหาทางเลือกอื่นมากขึ้นเรื่อยๆ พบว่า การระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิ้ง (crowdfunding) กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดย SPACs (Special Purpose Acquisition Company) เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมองหาเงินทุนเพื่อซื้อธุรกิจ ข้อตกลงประเภทนี้แตกต่างจากการระดมทุนอื่นๆ เนื่องจาก SPAC ได้รับการออกแบบให้เป็นทางเลือกแทนการระดมทุนแบบดั้งเดิม มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เข้าถึงได้มากขึ้น และให้โอกาสแก่นักลงทุนรายย่อยในการเข้าร่วมในกระบวนการซื้อกิจการที่นอกเหนือไปจากการซื้อหุ้นของกิจการนั้นๆ
6. บล็อกเชนจะเปลี่ยนโลกอุตสาหกรรมการเงิน
เทคโนโลยีบล็อกเชนได้ปฏิวัติภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมหลายด้าน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการเงิน บล็อกเชน คือ เทคโนโลยีตัวช่วยด้านความ และความน่าเชื่อถือ ในการทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง เหมาะแก่การนำไปประยุกต์ใช้กับการทำธุรกรรมออนไลน์ เช่น การรับ จ่าย โอน หรือวิเคราะห์ข้อมูลหุ้นเพื่อตัดสินใจลงทุนบนออนไลน์ ซึ่งมีทั้งความสะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว และสำคัญที่สุด คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และบล็อกเชนได้รับการยอมรับอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สิ่งที่น่าสนใจคือเทคโนโลยีนี้จะมีวิวัฒนาการและส่งผลกระทบต่อธุรกิจในอนาคตอย่างไร
ที่มา: 1. https://www.entrepreneur.com/article/425038
2. https://www.cotactic.com/blog/what-is-virtual-reality/
Related posts
Tags: Business, Competitiveness, Entrepreneurs, management, SME, Trends
Recent Comments