บทความ เรื่อง “ไอเอสโอหาทางออกให้โลกยุคใหม่ เผยผลวิจัยความมั่งคั่งของคนทั่วโลก ตอนที่ 1” ได้กล่าวถึงความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในบางภูมิภาค และยังมีการเชื่อมโยงไปสู่เหตุการณ์อื่นด้วย ได้แก่ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าและผันผวนมากขึ้น การสูญเสียงานที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากระบบอัตโนมัติ ผลกระทบของภาคเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดความมั่งคั่งยิ่งขึ้นในหมู่ผู้ที่มีทักษะที่เหมาะสมและเป็นเจ้าของทุน และการเติบโตของประชากร และการอพยพเคลื่อนย้ายประชากร
อย่างไรก็ตาม หากสามารถทำให้ผู้คนมีความมั่งคั่งมากขึ้น ก็จะทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอันเป็นผลมาจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ยังคงส่งผลต่อความยากจน และการขยายตัวของชนชั้นกลางที่มีโอกาสก้าวสู่ความมั่งคั่งต้องหยุดชะงักลง
สำหรับบทความในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงแนวทางที่ไอเอสโอร่วมกับทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นดังต่อไปนี้
หากการระบาดใหญ่ทำให้การชะลอตัวทางเศรษฐกิจยืดเยื้อออกไป ก็มีการคาดการณ์ว่าอาจนำไปสู่ความไม่มั่นคงหรือกลายเป็นสิ่งที่นำไปสู่การสร้างประชานิยมซึ่งไอเอสโอมีแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับผู้คนทั่วโลกเสมอสำหรับการนำมาซึ่งความกลมกลืนที่ส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับการพัฒนาในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ผู้คนมีความเจริญรุ่งเรืองโดยรวมมากขึ้นเมื่อชนชั้นกลางทั่วโลกเติบโตขึ้น แต่การเติบโตนี้ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ในทางตรงกันข้าม ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ค่าจ้างและการจ้างงานของชนชั้นกลางอาจถูกคุกคามโดยระบบอัตโนมัติที่เพิ่มขึ้นและการแข่งขันระดับโลกในการผลิตต้นทุนต่ำ เช่น McKinsey ประมาณการว่า เมื่อปี 2557 (ค.ศ.2014) สองในสามของครัวเรือนในประเทศที่พัฒนาแล้วมีรายได้จริงอยู่ที่ต่ำกว่าระดับปี 2548 (ค.ศ.2005)
การเติบโตช้าทางเศรษฐกิจหมายความว่าพลเมืองเหล่านั้นซึ่งคาดหวังว่ามาตรฐานการครองชีพจะเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอแต่เมื่อเวลาผ่านไป จะไม่รับรู้ถึงการปรับปรุงต่าง ๆ ที่มองเห็นได้อีกต่อไป ซึ่งนำไปสู่ความไม่พอใจของสาธารณชน ความผิดหวัง และระดับความสุขที่หยุดนิ่ง เมื่อสังคมมีความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น ความไม่พอใจนี้อาจนำไปสู่ความแตกแยกทางสังคมและความขัดแย้งภายในได้
ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลจะพบว่าเป็นการยากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะให้ทุนสนับสนุนต้นทุนสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นและการลงทุนด้านบริการสาธารณะโดยไม่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพียงพอซึ่งรัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญกับองค์ประกอบอื่นๆ ที่สามารถกำหนดความสุขของมนุษย์ได้ด้วย เช่น ความผาสุกทางจิตใจและการเชื่อมโยงทางสังคม เป็นต้น
จากการค้นคว้าวิจัยดังกล่าว ทำให้ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานโดยคำนึงถึงการส่งเสริมการขจัดความยากจนและความไม่เท่าเทียมกัน และไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐานจำนวนมากที่ช่วยส่งเสริมเรื่องดังกล่าวด้วย เช่น IWA 34: 2021, Women’s Entrepreneurship, ISO/AWI 53800, Guidelines for the Promotion and Implementation of Gender Quality (อยู่ระหว่างการพัฒนา) โดยไอเอสโอได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการ ISO/PC 337, Guidelines for the promotion and implementation of gender equality ขึ้นมาเพื่อพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อมองในภาพรวมของการพัฒนามาตรฐาน ไอเอสโอคำนึงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่ดีขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น และสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากกลยุทธ์ของไอเอสโอ (ISO Strategy 2021 – 2030) ที่มีความมุ่งมั่นในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลกด้วยการสร้างสมรรถนะหรือความสามารถของแต่ละประเทศอันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาและไอเอสโอก็ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอโดยมีพันธมิตรและประเทศสมาชิกของไอเอสโอให้การสนับสนุนในการนำมาตรฐานที่ไอเอสโอพัฒนาแล้วไปใช้งานอย่างมีประสิทธิผล
ถึงแม้ว่าความไม่เท่าเทียมกันบนโลกนี้ยังคงเกิดขึ้นอยู่ต่อไป แต่สิ่งหนึ่งที่เราเชื่อมั่นในไอเอสโอได้ก็คือมาตรฐานที่ไอเอสโอพัฒนาขึ้นมานั้นจะมีส่วนสนับสนุนให้เราทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย ปลอดภัย และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งในแง่ของการต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมกันซึ่งผู้เชี่ยวชาญขององค์การสหประชาชาติได้ยืนยันว่ามาตรฐานไอเอสโอทำให้ทั่วโลกสามารถต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมกันได้อย่างแท้จริง
ที่มา: 1. https://www.iso.org/foresight/prosperity
2. bit.ly/3aZOcMg
Related posts
Tags: COVID-19, Demographic change, Equality. Economic growth, Income, ISO, Labor, Middle class, Standardization, Standards, Technological advances, Wellbeing
Recent Comments