• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,582 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,081 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,417 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,303 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,005 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — July 4, 2022 8:00 am
ฟาร์มอัจฉริยะเพื่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคต ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 834 reads
0
  

1.1 Smart Farm and Future of Food 1เมื่อกล่าวถึงเรื่องความมั่นคงทางอาหาร หลายประเทศมีความวิตกกังวลอยู่มากเนื่องจากประสบกับปัญหาการขาดแคลนอาหารด้วยปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อพื้นที่เกษตรกรรม การขาดแคลนน้ำ การขาดแคลนแรงงาน  หรือการระบาดใหญ่  บางประเทศก็มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอในอนาคต  ดังนั้น ทางออกของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกคือ การทำสมาร์ทฟาร์มหรือฟาร์มอัจฉริยะนั่นเอง

การทำฟาร์มอัจฉริยะมีเป้าหมายประการหนึ่งคือการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้ดีขึ้นและปรับปรุงผลผลิต ซึ่งเป็นด่านแรกในการนำไปสู่การยุติปัญหาความหิวโหยของมนุษยชาติ แต่การทำฟาร์มอัจฉริยะจะมีประโยชน์อะไรอีกบ้างเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการทั่วไป บทความ MASCIInnoversity ในตอนนี้ แองเจลา ชูสเตอร์ ผู้ก่อตั้ง Schuster Consulting Group และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารโครงการและฟาร์มอัจฉริยะ จะมาเล่าถึงเรื่องราวของฟาร์มอัจฉริยะที่กำลังจะพลิกโฉมหน้าของอาหารในอนาคตให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ดังต่อไปนี้

การทำฟาร์มอัจฉริยะเป็นตัวขับเคลื่อนชั้นนำที่ดีในการผลิตอาหารให้ได้มากขึ้นในขณะที่ประชากรโลกกำลังเพิ่มขึ้นแต่กลับมีอาหารน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำฟาร์มอัจฉริยะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นผ่านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนการจัดการที่ดินและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น  นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกที่ฟาร์มอัจฉริยะสามารถให้แก่เกษตรกรและชุมชนทั่วโลกได้

เมื่อหันไปมองห่วงโซ่อุปทานแบบเดิมซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือความไม่สมดุลในห่วงโซ่อุปทานกับพลังอำนาจของเกษตรกรที่มักจะมีพลังอำนาจน้อยกว่า เพราะพวกเขาได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทำงานของผลิตภัณฑ์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับความต้องการของลูกค้า การทำฟาร์มอัจฉริยะมีความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานโดยช่วยให้มีการไหลเวียนของข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียมกัน และในการทำเช่นนี้ จะช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น และมีศักยภาพในการปรับสมดุลพลังงานรวมทั้งกระจายผลกำไรอย่างเท่าเทียมกันตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

ตัวอย่างเช่น หากเกษตรกรได้รับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตนในเวลาที่เหมาะสมจากส่วนต่างๆ ของห่วงโซ่อุปทาน เช่น ผู้แปรรูปและผู้บริโภค พวกเขาก็จะสามารถระบุโอกาสในการเปลี่ยนระบบการผลิตของตนให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของตน

นอกจากนี้ การตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าก็มีความสำคัญต่อธุรกิจการเกษตรที่ยั่งยืนในอนาคต และการทำฟาร์มอัจฉริยะสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้สิ่งต่างๆ เหล่านั้นเกิดขึ้นได้

การทำฟาร์มอัจฉริยะยังสนับสนุนกิจกรรมการตรวจสอบด้วยการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้สามารถตรวจสอบการแสดงสรรพคุณของผลิตภัณฑ์และการผลิตได้ด้วย สิ่งเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารที่ผลิต (เช่น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสารเคมีตกค้าง) ในที่ซึ่งมันเติบโต การบำบัดรักษาสัตว์ในฟาร์ม หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนที่ช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อม (เช่น ลดการปล่อยก๊าซ GHG)

การทำฟาร์มอัจฉริยะช่วยให้เกษตรกรเข้าใจปัจจัยที่สำคัญต่างๆ ได้ดีขึ้น เช่น น้ำ ภูมิประเทศ ลักษณะ พืชพรรณ และประเภทดิน เป็นต้น ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถกำหนดการใช้ทรัพยากรที่หายากได้ดีที่สุดภายใต้สภาพแวดล้อมในการผลิตของตนเอง และสามาถจัดการสิ่งเหล่านั้นในลักษณะที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถตรวจสอบปริมาณและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ทันท่วงทีและปรับเทคนิคการผลิตได้เมื่อจำเป็นด้วย

สำหรับคำถามที่ว่าระบบอัตโนมัติได้เปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมไปอย่างไร และจะส่งผลกระทบต่องานในฟาร์มและเศรษฐกิจในชนบทอย่างไรบ้าง แองเจลากล่าวว่าระบบอัตโนมัติกำลังเปลี่ยนแปลงวิถีของเกษตรกรรมที่เกษตรกรสามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที พวกเขามีข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นเกี่ยวกับโอกาส ความท้าทาย และข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้น เกษตรกรสามารถมีวิธีการที่มีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์มากขึ้น เติบโตมากขึ้นด้วยการใช้ทรัพยากรที่น้อยลง จากมุมมองทางเศรษฐกิจ ระบบอัตโนมัติทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุน เวลา และการสูญเสียลงได้ ซึ่งหมายความว่าสามารถทำกำไรได้มากขึ้น และมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

นอกจากนี้ ระบบอัตโนมัติยังเปลี่ยนแปลงประเภทของงานและวิธีการทำงานในฟาร์มอีกด้วย ซึ่งจำเป็นต้องมีชุดทักษะที่แตกต่างกันเพื่อทำความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีการทำฟาร์มอัจฉริยะ การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ช่วยเพิ่มพลังให้ผู้เข้าร่วมในอุตสาหกรรมได้กว้างขึ้น และดึงดูดผู้คนใหม่ๆ ที่อาจไม่เคยคิดว่าจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมมาก่อน ในทางกลับกัน การทำฟาร์มอัจฉริยะสามารถลดความซับซ้อนของทักษะที่จำเป็นลงได้ด้วย

ในการทำฟาร์มอัจฉริยะโดยใช้แอปพลิเคชั่นเพื่อการใช้ปุ๋ยและหว่านแบบอัตราผันแปร (VRS: Variable-rate sowing) เป็นตัวอย่างที่ดีซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบซอฟต์แวร์เพื่อปรับอัตราการหว่านเมล็ดหรือปุ๋ยโดยอัตโนมัติในขณะที่รถแทรกเตอร์เคลื่อนที่ไปตามดินแต่ละประเภทในแผนที่ซึ่งทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากความแตกต่างกันของความอุดมสมบูรณ์ในดินรวมทั้งความเค็ม ความชื้น และปัจจัยอื่นๆ

ในบางกรณี การปรับอัตราต่างๆ อาจเป็นการทำแบบเรียลไทม์โดยอิงจากภาพถ่ายดาวเทียมหรืออิงจากการแจกแจงในอดีตที่เห็นบนแผนที่ดิจิทัล การใช้ปุ๋ยอัตราผันแปรมีศักยภาพที่จะมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อการใช้วัตถุดิบและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผ่านการจัดการที่แม่นยำของธาตุอาหารมหภาคและจุลภาค เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของพืชที่ปลูกในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน

ในกรณีดังกล่าว ผู้ปฏิบัติงานรถแทรกเตอร์จำเป็นต้องเข้าใจซอฟต์แวร์และการทำงานของเครื่องจักร สามารถอ่านและตีความข้อมูล เพื่อตรวจสอบการใช้งานขณะที่รถแทรกเตอร์เคลื่อนตัวผ่านภาคสนาม และทำการปรับเปลี่ยนตามต้องการได้ แน่นอนว่าผู้ควบคุมรถอาจจะอยู่หรืออาจจะไม่อยู่ในรถแทรกเตอร์เลยก็ได้ ซึ่งแสดงว่าพวกเขาสามารถทำงานอื่นๆ ไปด้วยก็ได้ในขณะที่ทำการเฝ้าติดตาม อย่างไรก็ตาม ระบบอัตโนมัติอาจสร้างความท้าทายให้กับเกษตรกรบางรายที่พบว่าการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวล  ดังนั้น ผู้ให้บริการเทคโนโลยีจึงจำเป็นต้องทำให้เทคโนโลยีของตนใช้งานได้ง่ายเพื่อให้มีการนำไปใช้ในวงกว้างยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการทำฟาร์มอัจฉริยะมักจะมีราคาสูง แล้วการทำฟาร์มอัจฉริยะสามารถช่วยเกษตรกรส่วนใหญ่ของโลกได้อย่างไร  โปรดติดตามคำตอบในบทความครั้งต่อไปค่ะ

ที่มา:  https://www.iso.org/news/ref2799.html



Related posts

  • เข้าถึงการท่องเที่ยวได้ทุกที่ด้วยมาตรฐานไอเอสโอเข้าถึงการท่องเที่ยวได้ทุกที่ด้วยมาตรฐานไอเอสโอ
  • มาตรฐานไอเอสโอกับวันอนามัยโลกมาตรฐานไอเอสโอกับวันอนามัยโลก
  • แนะนำมาตรฐานใหม่ระบบขนส่งอัจฉริยะด้วยระบบ LSADแนะนำมาตรฐานใหม่ระบบขนส่งอัจฉริยะด้วยระบบ LSAD
  • “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เมื่อโลกเปลี่ยน เราต้องปรับ ตอนที่ 2“เศรษฐกิจหมุนเวียน” เมื่อโลกเปลี่ยน เราต้องปรับ ตอนที่ 2
  • เปลี่ยนโลกให้ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเปลี่ยนโลกให้ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

Tags: GHG, ISO, Production claims, Smart agriculture, Smart farm, Standardization, Standards, Supply Chain, VRS

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑