• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    14,906 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    14,900 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,237 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,136 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    9,678 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — July 15, 2022 8:00 am
ปกป้องนักผจญเพลิงให้ปลอดภัยด้วย ISO 23616 ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 445 reads
0
  

3.1 SAVE OUR  FIREFIGHTERS WITH  ISO 23616 1อาชีพนักดับเพลิงเป็นหนึ่งในอาชีพที่เด็กๆ หลงใหลและรู้จักกันดีในฐานะที่เป็นฮีโร่ในดวงใจ สำหรับคนหนุ่มสาวหลายคน อาชีพนักดับเพลิงเป็นอาชีพที่ต้องตาต้องใจและดึงดูดให้พวกเขาก้าวสู่เส้นทางของมืออาชีพ และเมื่อพวกเขาได้ก้าวสู่อาชีพของการเป็นนักดับเพลิงแล้ว สิ่งที่พวกเขาต้องทุ่มเทนั้นคือการผจญกับเปลวเพลิงที่ร้อนแรง แต่อันตรายที่สุดอย่างหนึ่งของงานดับเพลิงนั้นไม่ใช่ตัวของไฟ แต่เป็นสารต่าง ๆ ที่อาจเล็ดลอดเข้าไปในชุดป้องกันที่พวกเขาสวมใส่ในการปฏิบัติงานนั่นเอง จากรายงานของ Firefighter Cancer Support Network มีข้อมูลระบุว่านักผจญเพลิงมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากการสัมผัสกับสารก่อมะเร็ง

นักผจญเพลิงกับสารก่อมะเร็ง

นักดับเพลิงอาจสัมผัสกับสารเคมีโดยการหายใจเข้าไป โดนผิวหนัง หรือกลืนกินเข้าไป หากอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล หรือ PPE (Personal Protective Equipment) ไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างเพียงพอหลังจากผจญเพลิง  สารพิษที่เป็นอันตรายก็อาจปนเปื้อนยานพาหนะและสถานีดับเพลิงได้ และในท้ายที่สุดก็จะเป็นอันตรายต่อผู้คนที่สวมใส่อุปกรณ์นั้น

เดวิด แมธธิวส์ ผู้อำนวยการ Fire and Industrial PPE Limited กล่าวว่าสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็งซึ่งยึดติดกับอุปกรณ์บังเกอร์ของนักดับเพลิงได้รับการยอมรับมากขึ้นว่าเป็นภัยคุกคามใหญ่ที่สุดต่อสุขภาพและความปลอดภัยของนักดับเพลิง โดยเฉพาะควันไฟและฝุ่นละอองเป็นความเสี่ยงมะเร็งอย่างมหาศาลสำหรับผู้ปฏิบัติงานเหล่านั้น และความตระหนักในปัญหานี้ก็เพิ่มมากขึ้นด้วย

เขากล่าวต่อไปว่า เมื่อนักดับเพลิงนำอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) กลับไปที่บ้าน อนุภาคที่ติดอยู่บนอุปกรณ์เหล่านั้นสามารถแพร่กระจายไปยังรถยนต์ รถขนส่งสาธารณะ บ้าน และเด็กๆ ได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการทำความสะอาดอุปกรณ์ PPE อย่างเหมาะสมและจริงจัง ซึ่งในการการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดเกี่ยวกับการขจัดการปนเปื้อนของอุปกรณ์ผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม จะทำให้สามารถลดปริมาณการสัมผัสที่นักดับเพลิงต้องเผชิญในเวลาทำงานได้เป็นอย่างมาก
แนะนำมาตรฐานใหม่ ISO 23616 ช่วยชีวิตนักผจญเพลิง

หลายคนคงยังจำกันได้ว่า ในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่ COVID-19 เรามักจะมองเห็นคนที่สวมใส่ชุด PPE อยู่บนรถพยาบาลหรือตามโรงพยาบาลอยู่บ่อยๆ  ซึ่งทำให้คนรู้จักอุปกรณ์ PPE มากขึ้น  ในเวลานั้น แม้แต่นักดับเพลิงเองก็ต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำความสะอาดซึ่งเน้นที่ความรับผิดชอบส่วนบุคคล เช่น ไม่เดินทางกลับไปยังสถานีดับเพลิงด้วยอุปกรณ์ PPE ที่ไม่สะอาด แต่ให้ถอดเสื้อผ้าที่ไซต์งาน ใส่เสื้อผ้าในถุงป้องกันที่กำหนดเป็นพิเศษ และซักและดูแลรักษาให้ห่างจากไซต์งานอย่างเหมาะสม

ล่าสุด ไอเอสโอได้เผยแพร่มาตรฐานใหม่ คือ ISO 23616, Cleaning, inspection and repair of firefighters’ personal protective equipment (PPE) ซึ่งให้แนวทางในการเลือก การดูแล และบำรุงรักษาชุดป้องกันที่เหมาะสมสำหรับนักผจญเพลิง ซึ่งรวมถึงการทำความสะอาด การกำจัดสิ่งปนเปื้อนอย่างมีประสิทธิภาพ และการซ่อมแซม PPE

ไอเอสโอบอกว่า “อย่าทำสิ่งนี้ที่บ้าน”

อุปกรณ์ PPE ไม่เพียงแต่ครอบคลุมอุปกรณ์ป้องกันศีรษะ หน้ากากป้องกัน ถุงมือ หรือรองเท้าบูทเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเสื้อผ้าที่นักดับเพลิงสวมใส่ด้วย  ถ้าเช่นนั้นแล้ว จะมีคนนำชุดอุปกรณ์ PPE กลับไปซักที่บ้านหรือไม่ ต้องบอกว่าเครื่องซักผ้า อุณหภูมิของน้ำ รอบการทำความสะอาด และสารซักฟอกที่มีอยู่จำนวนมากสามารถส่งผลกระทบต่อความทนทานและความปลอดภัยของอุปกรณ์ PPE ได้อย่างมาก และสามารถปนเปื้อนเสื้อผ้าอื่นๆ ที่ถูกซักไปพร้อมกันด้วย ดังนั้น ไอเอสโอจึงขอไม่ให้ทำสิ่งนี้ที่บ้าน โดยที่มาตรฐานไอเอสโอฉบับนี้ยังครอบคลุมถึงการซ่อมแซมอุปกรณ์ PPE สิ่งที่อาจดูเหมือนการซ่อมแซมง่ายๆ อย่างการเย็บเทปสะท้อนแสงหลวมๆ กลับเข้าไปในอุปกรณ์ป้องกันที่บ้านเอง แต่มันอาจทำให้ความปลอดภัยของเสื้อผ้าลดลงอย่างมาก การเย็บซึ่งเจาะเข้าไปที่เนื้อผ้า ทำให้ไม่ปลอดภัย แต่อาจทำให้ด้ายติดไฟเมื่อนำไปใช้งาน  ดังนั้น โดยพื้นฐานแล้วไม่ควรนำอุปกรณ์ PPE กลับบ้าน แต่ควรได้รับการดูแลรักษาโดยพนักงานทำความสะอาดมืออาชีพที่สถานีดับเพลิง

เดวิด แมธธิวส์ กล่าวต่อไปว่า เมื่อกลับมาที่สถานีดับเพลิงหลังจากการผจญเพลิงได้สิ้นสุดลงแล้ว ปัญหาในการทำความสะอาดมักเกิดตามมาภายหลังและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม  แม้แต่ช่างซ่อมและช่างทำความสะอาดก็ต้องการการฝึกอบรมและการรับรองเพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ PPE ทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐาน

รัสเซล เชพเพิร์ด ประธานกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่พัฒนามาตรฐานดังกล่าว อธิบายว่าอุปกรณ์ PPE ครอบคลุมทุกอย่างที่นักดับเพลิงใช้ตั้งแต่หัวจรดเท้า สิ่งของแต่ละชิ้นมีจุดประสงค์ที่สำคัญแต่แตกต่างกัน ซึ่งทั้งหมดนั้นจำเป็นต้องทำความสะอาดและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม  นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่เกี่ยวข้องที่เราอาจนึกไม่ถึงด้วย เช่น เรื่องของต้นทุนกับความเสี่ยงซึ่งจะกล่าวในบทความครั้งต่อไปค่ะ

ที่มา: https://www.iso.org/contents/news/2022/07/keeping-our-firefighters-safe.html



Related posts

  • ขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยด้านมาตรฐานระบบการจัดการขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยด้านมาตรฐานระบบการจัดการ
  • ISO 9001: 2015 อัญมณีแห่งระบบคุณภาพ ตอนที่ 4ISO 9001: 2015 อัญมณีแห่งระบบคุณภาพ ตอนที่ 4
  • ISO 22000 ยกระดับความปลอดภัยสำหรับอาหาร ตอนที่ 2ISO 22000 ยกระดับความปลอดภัยสำหรับอาหาร ตอนที่ 2
  • คาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับอาหารทะเลคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับอาหารทะเล
  • แนะนำมาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืนแนะนำมาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

Tags: Cancer, Carcinogens, Firefighters, Health, ISO, ISO 23616, PPE, safety, Standardization

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑