• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,228 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,005 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,322 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,207 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,834 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Strategic Management | — August 3, 2022 8:00 am
3 วิธีปรับสมดุลชีวิตและการงานให้ได้ผล
Posted by Phunphen Waicharern with 445 reads
0
  

2.1 NO MORE BURNOUT SYNDROME HOW TO  IMPROVE  WORK-LIFE  BALANCEทุกวันนี้ ผู้คนต่างเผชิญกับความเครียดอยู่เสมอทั้งจากการทำงานและชีวิตส่วนตัว และท่ามกลางความเครียดที่เกิดขึ้นจากการทำงาน  หัวหน้างานและผู้จัดการจะมีส่วนทำให้พนักงานเครียดมากขึ้นจนถึงขั้นภาวะหมดไฟทำงานหรือมีส่วนช่วยให้พนักงานบริหารความเครียดจนกระทั่งมีชีวิตที่สมดุลได้นั้น ขึ้นอยู่กับมุมมองและวิธีการจัดการที่ดีของพนักงาน หัวหน้างาน และองค์กร

วารสาร Sloan Management Review เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ได้ให้คำแนะนำในการลดความเครียดในที่ทำงาน 3 ประการเพื่อให้ผู้จัดการนำไปใช้บริหารงาน โดยให้ข้อมูลว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้  ผู้นำธุรกิจเริ่มตระหนักถึงความเครียดที่เกิดขึ้นกับพนักงานมากขึ้น จากการสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าเกือบ 3 ใน 4 (73%) ของซีอีโอกล่าวว่าองค์กรของพวกเขาให้ความช่วยเหลือพนักงานในการจัดการกับความเครียด

จากการวิเคราะห์ระดับโลกฉบับใหม่ที่ดำเนินการโดย Gallup พบว่าระดับความเครียดในพนักงานได้ไต่ระดับขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ในปีที่แล้ว 44% ของผู้ปฏิบัติงานที่เข้าร่วมการสำรวจกล่าวว่าพวกเขาเคยประสบกับความเครียดมากในช่วงวันทำงานที่ผ่านมา  พนักงานจำนวน 60% กล่าวว่ารู้สึกไม่มีอารมณ์ในการทำงาน พนักงานจำนวน 19% รู้สึกเศร้าใจเป็นอย่างยิ่ง และพบว่าการมีส่วนร่วมและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานยังคงต่ำมากและขัดขวางศักยภาพในการเติบโตอย่างมหาศาล  นอกจากนี้ ยังค้นพบว่าในสหรัฐอเมริกา คนงานเป็นกลุ่มที่มีความเครียดมากที่สุดในโลก

จากประสบการณ์ของซีซาร์ คาร์วัลโญ่ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Gympass พบว่าตนเองประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับผู้บริหารหลายคนที่ต้องนำพาพนักงานของตัวเองก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาที่เครียดเป็นพิเศษในช่วงที่เกิดการระบาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลักษณะงานของบริษัทที่ต้องมีส่วนร่วมกับธุรกิจทุกประเภทอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาเรื่องของสุขภาพของลูกค้าให้ดีขึ้น ทำให้เขาค้นพบการแก้ไขปัญหาความเครียดที่ได้ผลดี ดังนั้น เขาจึงได้เสนอวิธีการ 3 ประการที่จะช่วยให้ผู้จัดการสามารถต่อสู้กับปัญหาความเครียด และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานให้ได้ผล ดังต่อไปนี้

ประการแรก  การใช้มุมมองแบบองค์รวม (Take a Holistic View)  การทำสมาธิในที่ทำงานเป็นเรื่องที่ดี แต่การทำสิ่งนี้เพียงอย่างเดียวจะไม่ช่วยบรรเทาระดับความเครียดได้มากนักหากปล่อยให้สาเหตุที่แท้จริงเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งในการต่อสู้กับความเครียด  พนักงานสามารถปรับปรุงสุขภาพโดยรวมได้ด้วยตนเอง จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายช่วยลดความเครียดและปรับปรุงสุขภาพจิตได้ การให้เวลาและโอกาสแก่พนักงานในการทำกิจกรรมทางกายภาพที่หลากหลายเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อพวกเขาค้นพบสิ่งที่ชอบทำเท่านั้น พวกเขาจึงจะยังคงรักษาการกระทำนั้นไว้อย่างต่อเนื่องได้ เช่น คลาสโยคะ ชมรมวิ่งในสำนักงาน  ยกน้ำหนักหรือว่ายน้ำ เป็นต้น บางคนอาจพบว่าการออกไปเดินเล่นในแต่ละวันเป็นการออกกำลังกายและการฟื้นฟูที่เหมาะสมกับตนเอง ดังนั้น จึงควรเสนอแหล่งข้อมูลให้ผู้คนได้ค้นพบกิจกรรมที่พวกเขาชื่นชอบโดยไม่ต้องกดดัน

ปริศนาต้นกำเนิดของความเครียดอีกอย่างหนึ่ง คือสุขภาพทางการเงิน เรื่องของ “เงิน” มักเป็นสาเหตุของความวิตกกังวล ผู้คนต้องการรู้สึกปลอดภัยและควบคุมได้เมื่อต้องเสียค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึง ดังนั้น การวางแผนทางการเงินและให้ความช่วยเหลือเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอที่ธุรกิจสามารถช่วยลดระดับความเครียดของพนักงานลงได้

ประการที่สอง หยุดพักเป็นช่วงๆ พร้อมกันทั้งสำนักงาน (Synchronize Breaks)  มันคือการถอยออกมาจากปัญหาแล้วหยุดพักเพื่อที่จะก้าวเดินต่อไป ในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่ ทีมงานทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงการทำงานครั้งใหม่ ผู้บริหารจำเป็นต้องช่วยให้พนักงานต่อสู้กับความเครียด สิ่งที่ซีซาร์ คาร์วัลโญ่ลงมือทำคือ ส่งเสริมให้พนักงานทั้งหมดรวมทั้งทีมบริหารและตนเองหยุดงานและปิดการสื่อสารทั้งหมดเป็นเวลา 2 ช่วง ช่วงละ 45 นาทีในเวลาเดียวกันทุกวัน

เป็นเรื่องปกติสำหรับบริษัททั่วไปในการสนับสนุนให้ผู้คนหยุดพักในเวลาที่พวกเขาต้องการพักอย่างเหมาะสม การใช้เวลาเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมาก ผู้คนมักไม่ค่อยถูกรบกวนจากเพื่อนร่วมงานหรือคนอื่นๆ ระหว่างที่ออฟไลน์ ดังนั้น จึงรู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะสามารถทำงานร่วมกันได้เมื่อกลับมาทำงานร่วมกัน เพราะต่างคนต่างก็คาดหวังให้ผู้อื่นๆ มีเวลาพร้อมที่จะรับมือกับงานในเวลาเดียวกันด้วย

แน่นอนว่าความยืดหยุ่นเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น ซีซาร์ คาร์วัลโญ่ จึงสนับสนุนให้ทีมของเขาทำงานทางไกลอย่างเต็มที่ สำหรับผู้ปฏิบัติงาน ทุกคนตระหนักดีว่าภาระหน้าที่ของผู้คนที่บ้านอาจไม่สอดคล้องกับการจัดตารางเวลาที่เข้มงวดเสมอไป แต่คนส่วนใหญ่สามารถมีส่วนร่วมในช่วงพักพร้อม ๆ กันแบบนั้นได้ และการตอบสนองก็เป็นไปในเชิงบวกเป็นอย่างมาก แม้ว่าการหยุดพักเป็นช่วงพร้อมกันนั้นจะไม่ใช่กฎที่เข้มงวดในบริษัทแต่อย่างใด แต่บางทีมก็ยังคงทำเช่นนั้นเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ ในทำนองเดียวกัน บริษัทบางแห่งก็ขอให้พนักงานมีวันหยุดในวันเดียวกันหรือสัปดาห์เดียวกัน และพบว่าการหยุดพักทำให้พวกเขามีไฟในการทำงานมากขึ้นในเวลาต่อมาเช่นกัน

ประการที่สาม คิดแบบเอ็นจีโอ (Think Like an NGO) ในฐานะผู้นำองค์กร เมื่อซีซาร์ คาร์วัลโญ่ พูดคุยถึงสถานะของบริษัทกับพนักงาน เขาไม่ได้เริ่มต้นด้วยตัวเลขหรือเจาะลึกถึงผลกำไรกับการเติบโตโดยตรง แต่เขามุ่งเน้นไปที่ผลกระทบของงานเป็นหลักโดยเชื่อมโยงเข้ากับวัตถุประสงค์ของบริษัท  เขาแบ่งปันเรื่องราวของผู้คนที่สร้างกิจวัตรเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นซึ่งสะท้อนถึงวิธีการทำงานและการพัฒนาธุรกิจ เขาคิดว่ามันเป็นการปฏิบัติตามภารกิจที่คล้ายกับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรหรือเอ็นจีโอ

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์มากขึ้นจะช่วยบรรเทาความเครียด ยิ่งผู้คนเชื่อมโยงงานของตนกับความรู้สึกที่มีจุดมุ่งหมายมากขึ้นเท่าใด พวกเขาก็ยิ่งมีโอกาสลดความเหนื่อยหน่ายและผลกระทบด้านลบจากความเครียดน้อยได้มากขึ้นเท่านั้น แน่นอน  ไม่ได้หมายความว่าการคิดเช่นนี้เป็นการเพิกเฉยต่อความสำเร็จและเป้าหมายทางการเงิน  เรายังคงขับเคลื่อนด้วยตัวเลขหรือผลกำไร เราควรดีใจกับความสำเร็จ เรียนรู้จากความล้มเหลว และพูดคุยถึงเป้าหมายต่อไป ซึ่งจุดประสงค์ที่มาก่อนสิ่งอื่นใดก็คือผลกระทบของบริษัทที่มีต่อผู้คนและโลก (มากกว่าเรื่องการเงิน)

แม้ว่าซีซาร์ คาร์วัลโญ่ จะทำตามขั้นตอนเหล่านี้ แต่ท้ายที่สุดก็ขึ้นอยู่กับผู้จัดการที่จะต้องตรวจสอบเรื่องราวต่าง ๆ อย่างชัดเจน และในฐานะผู้จัดการ ควรมีการพูดคุยและรับฟังพนักงานเพื่อทำความเข้าใจสาเหตุของความเครียด และตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขารู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่บริษัทนำเสนอ ส่งเสริมให้พนักงานหยุดพักโดยทำการสนทนาแบบตัวต่อตัว และช่วยให้พนักงานเชื่อมโยงงานของตนกับภารกิจขององค์กรได้

สุดท้ายนี้  หัวหน้างานและผู้จัดการควรระลึกอยู่เสมอว่าตนเองสามารถมีส่วนช่วยให้พนักงานบริหารความเครียดได้ดีขึ้นด้วยมุมมองที่รอบคอบ รับฟังพนักงานอย่างเข้าอกเข้าใจ หาวิธีการจัดการที่ดีเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานใช้ชีวิตอย่างสมดุลระหว่างการงานและชีวิตส่วนตัว และนำพาผู้ปฏิบัติงานให้เติบโตไปพร้อม ๆ กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

ที่มา: https://sloanreview.mit.edu/article/three-ways-managers-can-address-workforce-stress/



Related posts

  • มาเหนือเมฆ:  CLOUD COMPUTING ตอนที่ 1มาเหนือเมฆ: CLOUD COMPUTING ตอนที่ 1
  • ไซเดอร์ ซอฟต์แวร์ใหม่มิกซ์แอนด์แมทช์บนแอนดรอยด์และแอปเปิ้ลไซเดอร์ ซอฟต์แวร์ใหม่มิกซ์แอนด์แมทช์บนแอนดรอยด์และแอปเปิ้ล
  • คนรุ่นใหม่สนใจสมัครงานกับองค์กรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมคนรุ่นใหม่สนใจสมัครงานกับองค์กรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
  • สร้างรอยยิ้มให้ลูกค้าด้วยชุดมาตรฐานใหม่ไอเอสโอสร้างรอยยิ้มให้ลูกค้าด้วยชุดมาตรฐานใหม่ไอเอสโอ
  • แนวทางจัดการทางธุรกิจกับผลกระทบของโควิดสายพันธุ์ใหม่แนวทางจัดการทางธุรกิจกับผลกระทบของโควิดสายพันธุ์ใหม่

Tags: Burnout, Culture, Exercise, Gallup, Gympass, Leadership, Management Strategy, Strategic Management, work life balance, Workforce stress

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑