• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,228 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,005 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,322 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,207 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,834 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — August 10, 2022 8:00 am
ไอเอสโอพัฒนามาตรฐาน “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
Posted by Phunphen Waicharern with 723 reads
0
  

2.1 CIRCULAR ECONOMY STANDARDS AND  CLIMATE CHANGEโลกของเรากำลังเผชิญหน้ากับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่องและจำเป็นต้องได้รับแก้ไขอย่างเร่งด่วน ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่นี้มีแนวทางหลายอย่างที่โลกสามารถร่วมกันแก้ไขได้  หนึ่งในแนวทางนั้นคือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน”

จากข้อมูลของ World Economic Forum ระบุว่าการก้าวไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นกุญแจสำคัญ เช่นเดียวกับโอกาสที่มีมูลค่านับล้านล้านดอลลาร์ อันหมายถึงศักยภาพมหาศาลสำหรับนวัตกรรม การสร้างงาน และการเติบโตทางเศรษฐกิจ

สำหรับบทความในครั้งนี้ วารสารไอเอสโอโฟกัสจะนำเราไปทำความรู้จักกับเรื่องราวของเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านคำบอกเล่าของ กาเธอรีน เชอโวเช่  ในฐานะผู้จัดการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและสภาพภูมิอากาศของบริษัท Suez ผู้เชี่ยวชาญภาคธุรกิจเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน และประธานคณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งจะกล่าวถึงดังต่อไปนี้  

เศรษฐกิจหมุนเวียนถือเป็นเสาหลักของการดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ  ซึ่งตรงกันข้ามกับโมเดลการผลิตและการบริโภคแบบเดิมที่นำเอาทรัพยากรมาผลิต ใช้ และกำจัดทิ้งไปในขณะที่เศรษฐกิจหมุนเวียนมีเป้าหมายในการลดการสิ้นเปลืองของทรัพยากรด้วยการนำไปใช้ซ้ำ การลดของเสีย น้ำ และพลังงาน

ล่าสุด ไอเอสโอได้พัฒนาชุดมาตรฐานสากลสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อให้ทั่วโลกนำไปใช้ ทำให้เรารู้ว่าจะเปลี่ยนผ่านจากการผลิตและการบริโภคแบบเดิมไปสู่การผลิตโดยใช้หลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียนได้อย่างไร รวมทั้งจะวัดความสำเร็จของการดำเนินการได้อย่างไร

SDGs กับเศรษฐกิจหมุนเวียน
ก่อนหน้าที่เศรษฐกิจหมุนเวียนจะกลายเป็นแนวคิดที่รู้จักกันดี กาเธอรีน เชอโวเช่  ได้ทำงานในด้านนี้มาก่อน ภูมิหลังของเธอครอบคลุมเรื่องของมาตรฐานและความยั่งยืน โดยทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ และรัฐบาลท้องถิ่นในการดักจับความร้อนและน้ำเสียและนำกลับมาใช้ใหม่ และที่ Suez ก่อนที่จะถูกควบรวมกิจการกับ Veolia เธอได้พัฒนากลยุทธ์ทั่วทั้งองค์กรเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศ

ความเป็นไปได้ในการทำงานร่วมกับไอเอสโอนั้นเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสเสนอให้จัดตั้งชุดมาตรฐานสากลสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน และกาเธอรีน เชอโวเช่ ก็ได้รับโอกาสนี้ เธอกล่าวว่าเธอสนใจงานนี้มาก เพราะเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าต้องหาวิธีการผลิตและการบริโภคทางเลือกอื่นเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ได้ ปัจจุบัน เธอเป็นผู้นำในการพัฒนามาตรฐานไอเอสโอที่มุ่งช่วยเหลือองค์กรต่างๆ โดยเธอขอให้ทุกคนคิดว่าขยะเป็น “ทรัพยากร” ที่สำคัญอย่างหนึ่ง และเศรษฐกิจหมุนเวียนก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการสิ้นเปลืองของทรัพยากรที่นำไปใช้ให้ได้มากที่สุด

เร่งพัฒนามาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน
กาเธอรีน เชอโวเช่ ได้เสนอแนวทางที่แตกต่างออกไปจากเดิมในการร่างมาตรฐานชุดใหม่ เธอเชื่อว่าคณะกรรมการจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เธอจึงทำงานร่วมกับไอเอสโอและจัดทำร่างมาตรฐานควบคู่กันไป  ร่างมาตรฐานฉบับแรกกำหนดหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่วนร่างมาตรฐานฉบับที่ 2 อธิบายถึงการเปลี่ยนจากรูปแบบธุรกิจเชิงเส้นแบบเดิมไปเป็นแบบหมุนเวียนสำหรับองค์กร และร่างมาตรฐานฉบับที่ 3 กำหนดวิธีการประเมินความหมุนเวียนในระดับต่างๆ ซึ่งไอเอสโอสนับสนุนการพัฒนาชุดมาตรฐานฉบับสมบูรณ์นี้ภายในกรอบเวลาที่เร่งรัดคือ 3 ปี เธอกล่าวว่าไอเอสโอเข้าใจถึงความเร่งด่วนในการดำเนินการและทุกฝ่ายก็ให้การสนับสนุนอย่างมาก

กาเธอรีน เชอโวเช่ ทราบดีว่าการจัดการที่อยู่เบื้องหลังมาตรฐานใหม่โดยใช้เวลาเพียง 3 ปีร่วมกับประเทศต่างๆ นั้นเป็นความท้าทายครั้งใหญ่  นอกจากนี้ เศรษฐกิจหมุนเวียนยังเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างใหม่ซึ่งมีการใช้งานจริงอย่างจำกัด  จากรายงาน Circularity Gap ล่าสุดพบว่าโลกของเราใช้ทรัพยากรหรือวัสดุที่ดึงมาจากโลกแล้วกลับมาใช้ซ้ำเพียง 8.6% เท่านั้น

เธอยังกล่าวด้วยว่าการเปลี่ยนจากเศรษฐกิจเชิงเส้นเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียนหมายถึงการขอให้องค์กรเปลี่ยนหลักการที่ดำเนินการมาตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นกระบวนทัศน์ใหม่จริงๆ และไม่ง่ายที่จะนำไปใช้ เพราะต้องเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างในองค์กร

พร้อมก้าวสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน
กาเธอรีน เชอโวเช่ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างความมั่นใจว่ามาตรฐานนั้นทำให้เกิดความเป็นธรรมและเกี่ยวข้องกับทุกประเทศโดยการกระจายตัวแทนทางภูมิศาสตร์ในบทบาทความเป็นผู้นำ ซึ่งมีผู้แทนรวม 89 ประเทศจาก 5 ทวีปเข้ามาอยู่ในคณะกรรมการวิชาการ และคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมการประชุมเป็นจำนวนมากในครั้งต่อไปซึ่งกำหนดจัดขึ้นในปลายปี 2565 นี้ที่เมืองคิกาลี ประเทศรวันดา เธอมีความมั่นใจว่าจะสามารถผลักดันให้เกิดการลงมือทำและมีส่วนร่วมกับประเทศต่างๆ ให้ได้มากที่สุด

เธอเชื่อมั่นว่าความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นกุญแจสำคัญในการร่างชุดมาตรฐานสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การวางตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญอย่างหมาะสมกับชุดมาตรฐานต่างๆ ที่จะเผยแพร่ภายในต้นปี 2567  เธอกล่าวว่าจะต้องมีการนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ที่คุ้มค่ากับความพยายาม และประชาคมโลกก็ต้องการให้ไอเอสโอดำเนินการเพื่อสร้างอนาคตที่ดีสำหรับความยั่งยืนและการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย

เมื่อไอเอสโอเผยแพร่มาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียนแล้ว ความไม่รู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียนและการทำงานของเศรษฐกิจหมุนเวียนก็จะไม่เป็นข้ออ้างสำหรับองค์กรต่างๆ อีกต่อไปในการที่จะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตและการบริโภคเชิงเส้นที่ไม่ยั่งยืน ความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้ามีความสำคัญมากและจะเป็นก้าวสำคัญในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างจริงจังซึ่งจะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม และการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป

ที่มา: 1. https://www.iso.org/contents/news/2022/08/towards-a-circular-economy.html
2. https://circulareconomy.europa.eu/platform/en/news-and-events/all-news/iso-tc323-connects-dots-circular-economy



Related posts

  • ไอเอสโอกำหนดมาตรฐานจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อต่อสู้ดินเสื่อมสภาพไอเอสโอกำหนดมาตรฐานจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อต่อสู้ดินเสื่อมสภาพ
  • วิจัยพบระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเร็วสุดในรอบสองพันปีวิจัยพบระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเร็วสุดในรอบสองพันปี
  • เตรียมพบมาตรฐานใหม่ ISO 14080เตรียมพบมาตรฐานใหม่ ISO 14080
  • การจัดการน้ำและสุขาภิบาลเพื่อประชากรโลกการจัดการน้ำและสุขาภิบาลเพื่อประชากรโลก
  • ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ตอนที่ 1ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ตอนที่ 1

Tags: Circular Economy, Climate Change, Environmental emergency, ISO, Kigali, Standardization, Suez, Sustainability, Sustainable Development, Veolia

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑