• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,228 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,005 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,322 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,207 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,834 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Strategic Management | — สิงหาคม 17, 2022 8:00 am
ทั่วโลกรวมพลังแก้ไขวิกฤตความมั่นคงทางอาหาร
Posted by Phunphen Waicharern with 625 reads
0
  

เมื่อทศวรรษที่ 1960 (พ.ศ. 2503) เป็นช่วงเวลาที่โลกขาดแคลนอาหาร เราจึงได้รู้จักคำว่า “ความมั่นคงทางอาหาร” ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางความพยายามแก้ไขปัญหาที่ได้เน้นการเพิ่มปริมาณอาหารมากให้เพียงพอต่อการบริโภค  แต่ความหิวโหยก็ยังคงอยู่ทั้ง ๆ ที่มีอาหารอยู่มากมายทั่วโลก ทำให้ในทศวรรษที่ 1980 (พ.ศ. 2523)  ทั่วโลกได้หันมาให้ความสนใจกับการเข้าถึงอาหารที่ใช้อำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยกระจายอาหารให้ถึงปากท้องของทุกคน ต่อมาในทศวรรษที่ 1990 (พ.ศ. 2533) ความมั่นคงทางอาหารจึงได้ขยายครอบคลุมไปถึงเรื่องของความปลอดภัยทางอาหารด้วย ได้แก่ คุณภาพของอาหาร คุณค่าทางอาหารและโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

เวลาผ่านไปแล้วกว่า 60 ปีนับตั้งแต่โลกของเราได้รู้จักคำว่า “ความมั่นคงทางอาหาร”  แต่ในพื้นที่บางแห่งของโลกยังคงเผชิญหน้ากับความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรงตามที่องค์การอนามัยโลกได้ออกมาเตือนเมื่อวันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2565 ว่าแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ (คาบสมุทรโซมาลี หรือ Horn of Africa) กำลังเผชิญกับความไม่มั่นคงด้านอาหารอย่างรุนแรงที่สุดใน 70 ปีที่ผ่านมา

ปัจจุบัน ผู้คนมากกว่า 37 ล้านคนกำลังเผชิญกับความหิวโหยโดยมีเด็กประมาณ 7 ล้านคนที่อายุต่ำกว่า 5 ปีขาดสารอาหารอย่างเฉียบพลันในภูมิภาคดังกล่าว

ในขณะที่การหาอาหารและน้ำที่ปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่สิ่งสำคัญกว่านั้น องค์การอนามัยโลกได้กล่าวว่าเพื่อหลีกเลี่ยงโรคและการเสียชีวิตที่ป้องกันได้ เราต้องสร้างความมั่นใจว่าจะมีการตอบสนองฉุกเฉินด้านสุขภาพอย่างเข้มแข็งด้วย

องค์การสหประชาชาติกำลังเรียกร้องเงินจำนวน 123.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นและป้องกันไม่ให้วิกฤตด้านอาหารกลายเป็นวิกฤตด้านสุขภาพ โดยอิบราฮิมา โซเช ฟอลล์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการทั่วไปขององค์การอนามัยโลกด้านรับมือเหตุฉุกเฉิน ได้กล่าวว่าสถานการณ์กำลังเลวร้ายไปทุกที จึงจำเป็นต้องดำเนินการทันทีและไม่สามารถดำเนินต่อไปในภาวะวิกฤติขาดแคลนทุนทรัพย์ได้

ภัยแล้งที่รุนแรงมากขึ้น

ภัยแล้งรุนแรงเกิดขึ้นที่สุดปลายแหลมแห่งแอฟริกา ได้แก่ จิบูตี โซมาเลีย ซูดาน ซูดานใต้ เอธิโอเปีย ยูกันดา และเคนยา โดยที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความขัดแย้ง ราคาอาหารที่สูงขึ้น และการระบาดใหญ่ของ COVID-19 เป็นหนึ่งในความแห้งแล้งที่เลวร้ายที่สุดในภูมิภาคในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก

โซฟี เมส ผู้จัดการด้านอุบัติการณ์ขององค์การอนามัยโลกได้กล่าวว่า  ปัจจุบันมีฤดูกาล 4 ฤดูที่ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ และฤดูกาลที่ 5 (The fifth season) ซึ่งหมายถึงฤดูกาลมรณะก็คงไม่เป็นไปตามที่คาดเช่นกัน สถานที่ที่มีความแห้งแล้งยังคงเป็นปัญหาที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ  ส่วนในสถานที่อื่นๆ เช่น เซาท์ซูดาน มีน้ำท่วมต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี โดยเกือบ 40% ของประเทศถูกน้ำท่วม และโลกก็กำลังมองดูบางสิ่งบางอย่างที่กำลังจะเลวร้ายลงในอนาคตอันใกล้นี้

วิกฤตความหิวโหย

เป็นที่คาดว่าผู้คนกว่า 37 ล้านคนในภูมิภาคนั้นจะกล่าวสู่ระดับที่สามของการจัดกลุ่มความปลอดภัยด้านอาหารแบบบูรณาการ (Integrated Food Security Phase Classification: IPC) และสูงขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า สำหรับ IPC มีประเด็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยทางอาหารจำนวน 6 ข้อ ได้แก่ ระดับความรุนแรงของสถานการณ์ ระยะเวลาที่ประชากรได้รับผลกระทบ  สถานที่ที่ประชากรได้รับผลกระทบ  จำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบ  สาเหตุของการเกิดสถานการณ์ และผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งในการตอบคำถามเหล่านี้ IPC ใช้มาตราส่วน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับความไม่มั่นคงด้านอาหารเฉียบพลัน ระดับความไม่มั่นคงด้านอาหารเรื้อรัง และระดับภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลัน

ดังนั้น จึงมีประชากรจำนวนมากที่อยู่ในภาวะวิกฤตโดยมีประชากรเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่สามารถตอบสนองความต้องการอาหารขั้นต่ำได้ และผลกระทบจากภัยรุนแรงนั้นเกิดขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอธิโอเปียตะวันออกและทางตอนใต้ เคนยาตะวันออกและทางตอนเหนือ และโซมาเลียตอนใต้และทางตอนกลาง

ความไม่มั่นคงด้านอาหารในเซาท์ซูดานได้มาถึงระดับที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ได้รับเอกราชเมื่อปี 2554 โดยมีประชากร 8.3 ล้านคนที่เผชิญกับความไม่มั่นคงด้านอาหารอย่างรุนแรง ซึ่งคิดเป็น 75% ของประชากรทั้งหมด

ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก ภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันนำไปสู่การย้ายถิ่นที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากประชากรย้ายถิ่นฐานเพื่อแสวงหาอาหารและสถานที่อันอุดมสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม การหยุดชะงักจากสถานการณ์ต่าง ๆ ก็ส่งผลให้สุขอนามัยและการสุขาภิบาลแย่ลงไปด้วย เนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อซึ่งกำลังเพิ่มขึ้น เช่น อหิวาตกโรค โรคหัด และมาลาเรีย

นอกจากนี้ การให้วัคซีนอย่างครอบคลุมก็ไม่เพียงพอและการบริการด้านสุขภาพก็มีทรัพยากรที่จำกัดซึ่งอาจส่งผลให้จำนวนโรคระบาดในประเทศและโรคระบาดข้ามพรมแดนเพิ่มขึ้นในวงกว้าง ส่วนการดูแลเด็กที่ขาดสารอาหารขั้นรุนแรงที่มีอาการแทรกซ้อนทางการแพทย์ก็จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และส่งผลให้มีอัตราการเสียชีวิตสูงในเด็กด้วย

สำหรับการหยุดชะงักในการเข้าถึงบริการสุขภาพอาจเพิ่มอัตราการป่วยและอัตราการเสียชีวิตได้ เนื่องจากภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ทำให้ประชากรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแสวงหาสุขภาพที่ดี และจัดลำดับความสำคัญในการเข้าถึงทรัพยากรช่วยชีวิต เช่น อาหารและน้ำ เป็นต้น

ทั่วโลกร่วมต่อสู้เพื่อยุติความหิวโหยและความยั่งยืน

ประเด็นปัญหาความมั่นคงทางอาหารดังกล่าวได้กลายเป็นวาระแห่งชาติของเกือบทุกประเทศ และเกี่ยวข้องกับการต่อสู้กับความหิวโหย (SDG2) การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (SDG8) การต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG13) ซึ่งทั่วโลกได้เร่งกันร่วมมือสร้างสังคมให้มีความสงบสุข ความยุติธรรม และครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกระดับ (SDG16) ตลอดจนการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG17)

ที่มา:   1. https://news.un.org/en/story/2022/08/1123812  
2. bit.ly/3A8sTSW



Related posts

  • การสร้างองค์กรให้เป็น SFO ตอนที่ 17 บทบาทของหน่วยงานบริหารยุทธศาสตร์องค์กรการสร้างองค์กรให้เป็น SFO ตอนที่ 17 บทบาทของหน่วยงานบริหารยุทธศาสตร์องค์กร
  • ควรทำให้ธุรกิจของเรามีผลผลิตน้อยลงไหม? ตอนที่ 2ควรทำให้ธุรกิจของเรามีผลผลิตน้อยลงไหม? ตอนที่ 2
  • ธุรกิจไอบีเอ็มยั่งยืนด้วย ISO 14001 ตอนที่ 1ธุรกิจไอบีเอ็มยั่งยืนด้วย ISO 14001 ตอนที่ 1
  • แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดทำแผนการบริหารนวัตกรรม ตอนที่ 3แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดทำแผนการบริหารนวัตกรรม ตอนที่ 3
  • สร้างองค์กรเข้มแข็ง เปลี่ยนแปลงด้วย “วัฒนธรรมองค์กร” ตอนที่ 1สร้างองค์กรเข้มแข็ง เปลี่ยนแปลงด้วย “วัฒนธรรมองค์กร” ตอนที่ 1

Tags: Climate Change, Food security, Horn of Africa, IPC Scales, Management Strategy, SDG13, SDG16, SDG17, SDG2, SDG8, SDGs, Strategic Management, WHO

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑