• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,513 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,360 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,209 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — August 19, 2022 8:00 am
นักดำน้ำ…โลกใต้ทะเล…และมาตรฐานไอเอสโอ
Posted by Phunphen Waicharern with 829 reads
0
  

3.1 ISO and  Environmentally Friendly  Divingโลกใต้ทะเลเป็นโลกที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ที่นักดำน้ำต้องการค้นหา ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น จากข้อมูลของนิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิกระบุว่าโลกของเรามีส่วนประกอบของน้ำทะเลถึง 70% ส่วนน้ำบนพื้นดินมีเพียง 30% และภาพของสัตว์และพืชที่อยู่ใต้ทะเลที่เราเห็นนั้นมีสีสันสวยงามอย่างเหลือเชื่อ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะนักดำน้ำ จึงต้องการค้นหาความงดงามที่ซ่อนอยู่ใต้ทะเลด้วยสายตาของตนเอง

การดำน้ำลึกเป็นความหลงใหลอย่างยิ่งสำหรับนักดำน้ำนับล้านคนทั่วโลก พวกเขาต่างมีความรักในโลกใต้น้ำเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม กิจกรรมดำน้ำที่ขาดการฝึกฝนด้วยความรับผิดชอบ สามารถทิ้งร่องรอยของตัวเองไว้กับสิ่งแวดล้อมทางทะเลได้  ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการผจญภัยใต้น้ำ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีการดำน้ำอย่างยั่งยืน  ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐานขึ้นมา 2 ฉบับ ได้แก่ มาตรฐาน ISO 21416, Recreational diving services – Requirements and guidance on environmentally sustainable practices in recreational diving  และ ISO 21417, Recreational diving services – Requirements for training on environmental awareness for recreational divers

มาตรฐาน ISO 21416 ช่วยส่งเสริมเทคนิคการดำน้ำที่อนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลในขณะที่มาตรฐาน ISO 21417 ช่วยเสริมสร้างความมุ่งมั่นของนักดำน้ำในด้านพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมซึ่งมีโปรแกรมการฝึกอบรมอย่างมีมาตรฐานที่ทำให้นักดำน้ำมีพื้นฐานที่ดีและมีความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมและมีแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนสำหรับกิจกรรมต่างๆ อย่างครอบคลุม เช่น การดำน้ำแบบลอยตัวบนผิวน้ำ และการดำน้ำใต้ผิวน้ำ เป็นต้น  ซึ่งช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ศูนย์ดำน้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ไม่ว่าจะเป็นนักดำน้ำมือใหม่หรือผู้ที่ช่ำชองแล้ว ต่างให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อมทางน้ำอย่างเต็มที่ เป้าหมายของศูนย์ดำน้ำคือการช่วยให้นักดำน้ำเพลิดเพลินไปกับโลกใต้น้ำได้อย่างปลอดภัยและพัฒนาความตระหนักรู้ถึงธรรมชาติอันละเอียดอ่อน หัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมการดำน้ำคือสถานที่ที่ผู้คนไปดำน้ำ การได้รับประกาศนียบัตรที่รับรองการดำน้ำ และการเช่าอุปกรณ์

โปรแกรมการฝึกอบรมเป็นส่วนสำคัญของการดำน้ำ ดังนั้น การที่ผู้ให้บริการดำน้ำหรือศูนย์ดำน้ำ นำมาตรฐาน ISO 24803, Recreational diving services  - Requirements for recreational diving providers ไปใช้จึงเป็นการยืนยันว่าศูนย์ดำน้ำมีการยึดถือแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในทุกเรื่อง นับตั้งแต่การฝึกอบรมพนักงานไปจนถึงอุปกรณ์ฉุกเฉิน มาตรฐานนี้พัฒนาขึ้นโดยทีมผู้เชี่ยวชาญระดับระหว่างประเทศที่ช่วยสร้างมาตรฐานสำหรับเงื่อนไขการฝึกอบรมในอุตสาหกรรมที่เข้าถึงพื้นที่ที่ห่างไกลที่สุดในโลก

ISO 24803 เพื่อศูนย์ดำน้ำที่มีคุณภาพและปลอดภัย

การรู้วิธีประเมินศูนย์ดำน้ำมีความสำคัญเนื่องจากความปลอดภัยส่วนบุคคลขึ้นอยู่กับการได้รับอุปกรณ์และการฝึกฝนที่ดี มาตรฐาน ISO 24803 ทำให้นักดำน้ำมั่นใจได้ว่า ไม่ว่าจะอยู่ลึกลงไป 20 เมตรใต้ผิวน้ำในทะเลแคริบเบียนหรือเริ่มดำน้ำครั้งแรกในประเทศไทยก็ตาม พวกเขากำลังดำน้ำกับผู้คนที่ปลอดภัยที่สุดและเป็นมืออาชีพมากที่สุด ตัวอย่างเช่น ในอียิปต์ได้เห็นประโยชน์แล้วว่าการนำ ISO 24803 ไปใช้ทั่วประเทศส่งผลให้คุณภาพและความปลอดภัยของศูนย์ดำน้ำทั่วประเทศดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ด้วยเหตุนี้ ประกาศนียบัตรรับรองการดำน้ำจำนวนมากที่ออกในประเทศจึงแสดงมาตรฐานไอเอสโอเพื่อยืนยันคุณภาพและความปลอดภัย

การวิจัยใต้ท้องทะเลลึก

การมีชุดทักษะของนักประดาน้ำหมายความว่าพวกเขาสามารถมีบทบาทสำคัญในการทำงานทางวิทยาศาสตร์ใต้น้ำได้ นับตั้งแต่การรวบรวมตัวอย่างไปจนถึงการปกป้องแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม นักดำน้ำเหล่านี้ต้องผสมผสานความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์และการปกป้องสิ่งแวดล้อมเข้ากับความถนัดในการดำน้ำและความปลอดภัย

สาขาการดำน้ำอยู่ภายใต้การควบคุมในรูปแบบต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับภูมิศาสตร์และองค์กรที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีการกำหนดให้มีความคล่องตัวด้วยกรอบการดำน้ำทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นหนึ่งเดียว

ปัจจุบัน ไอเอสโออยู่ระหว่างการพัฒนามาตรฐาน ISO 8804  จำนวน 3 ฉบับ  โดยพัฒนาข้อกำหนดการฝึกอบรมสำหรับนักดำน้ำทางวิทยาศาสตร์ที่แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ นักดำน้ำทางวิทยาศาสตร์ (Scientific diver) นักดำน้ำทางวิทยาศาสตร์ชั้นสูง (Advanced scientific diver) และหัวหน้าโครงการดำน้ำทางวิทยาศาสตร์ (Scientific diving project leader)  ซึ่งให้คำแนะนำสำหรับชุมชนนักดำน้ำเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ปลอดภัยภายใต้สภาวะการทดลองและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน

มาตรฐานไอเอสโอสำหรับการดำน้ำได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 228, Tourism and related services

ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ

ที่มา: 1. https://www.iso.org/contents/news/2022/08/beyond-the-sea.html
2. https://amitydivingclub.com/why-diving-interesting/?lang=th



Related posts

  • ไอเอสโอปรับปรุงมาตรฐานรหัสสกุลเงินตราทั่วโลกไอเอสโอปรับปรุงมาตรฐานรหัสสกุลเงินตราทั่วโลก
  • ยกระดับการท่องเที่ยวไทยด้วยมาตรฐานการท่องเที่ยวยกระดับการท่องเที่ยวไทยด้วยมาตรฐานการท่องเที่ยว
  • มาตรฐานสากลฉบับแรกใช้ทดสอบเตาปรุงอาหารมาตรฐานสากลฉบับแรกใช้ทดสอบเตาปรุงอาหาร
  • 10 อุปกรณ์เป้าหมายของแฮ็คเกอร์10 อุปกรณ์เป้าหมายของแฮ็คเกอร์
  • ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลด้วยมาตรฐาน ISO/IEC 29184ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลด้วยมาตรฐาน ISO/IEC 29184

Tags: Free diving, ISO, Recreational diving, Safe Practice, safety, Scientist, Scuba, Sea, standard, Standardization, Sustainability, Tourism, Travel

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑