• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,243 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,010 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,329 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,211 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,842 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Strategic Management | Management Strategy | — สิงหาคม 24, 2022 8:00 am
แนวทางสร้างความยืดหยุ่นให้องค์กรเมื่อเศรษฐกิจผันผวน ตอนที่ 2
Posted by Phunphen Waicharern with 469 reads
0
  

บทความ เรื่อง “แนวทางสร้างความยืดหยุ่นให้องค์กรเมื่อเศรษฐกิจผันผวน” ตอนที่ 1”  ได้กล่าวถึงแนวคิดที่น่าสนใจ 3 ประการที่ช่วยสร้างความยืดหยุ่นเมื่อองค์กรต้องเผชิญกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจจาก วารสาร MIT Sloan Management Review เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565  ได้แก่ 1. เตรียมพร้อมอยู่เสมอเพื่อคว้าโอกาสในการเปลี่ยนแปลงและรับมือกับ “ปรากฏการณ์แส้ม้า” (Bullwhip) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ความผันผวนของ demand ในซัพพลายเชน ส่งผลให้เกิดปัญหาสินค้าขาดแคลนหรือไม่ก็สินค้าล้นตลาด 2. ความหลงใหลที่มีร่วมกันในธุรกิจจะทำให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น  3. ผลการวิจัย 10 อันดับแรกเกี่ยวกับความยืดหยุ่นและการมีส่วนร่วม สำหรับบทความในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงแนวคิดที่เหลืออีก 2 ประการ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

4. ผู้นำต้องมีความกล้าหาญในการตัดสินใจเลือกอนาคต

บทความของสก๊อตต์ ดี. แอนโธนีโธนี อธิบายว่าความไม่แน่นอนในระยะสั้นค่อนข้างขัดแย้งกัน ทำให้การคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปมีความสำคัญยิ่งขึ้นในขณะที่ผู้นำอาจให้ความสำคัญกับแนวทางในอดีตโดยไม่รู้ตัว แต่จริง ๆ แล้วนี่คือเวลาที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อก้าวไปข้างหน้าอย่างกล้าหาญ สิ่งสำคัญในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน คือการมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและน่าสนใจในอนาคต วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนจะยิ่งเน้นย้ำถึงโอกาสในการเพิ่มกลยุทธ์การเติบโตขึ้นเป็นสองเท่าในขณะที่คู่แข่งกำลังไล่กวดตามมา  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถที่จำเป็นในการสร้างรูปแบบธุรกิจของอนาคต และเพื่อเร่งการเคลื่อนไหวในทิศทางและรูปแบบใหม่

5. สิ่งที่ต้องทำเมื่อการดิสรัพท์ต่างๆ เป็นภัยคุกคามต่ออาชีพของเรา
บทความของบอริส กรอยสเบิร์ก, วิทนีย์ จอห์นสัน และเอริก ลิน กล่าวไว้ว่าความผันผวนในอุตสาหกรรมไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับบริษัทภายในนั้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้คนที่ทำงานให้กับพวกเขาด้วย เพื่อที่จะอยู่นำหน้าการพัฒนาที่อาจดัสรัพท์หรือขัดขวางชีวิตการทำงาน เราต้องตอบคำถาม 2 อย่างนี้ให้ได้ คือ ประการแรก อุตสาหกรรมของเรามีความผันผวนแค่ไหน  และประการที่สอง อะไรคือคำอธิบายสำหรับความผันผวนนั้น  การใช้เวลาตรวจสอบคำถามเหล่านี้จะช่วยให้เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทันท่วงทีเมื่อเผชิญกับความผันผวน

เมื่อความผันผวนทำให้บริษัทต่างๆ ตกอยู่ในความเสี่ยง มันจึงคุกคามผู้นำ ผู้จัดการ และพนักงานทุกคนด้วย อันที่จริงแล้ว บริษัทต่างๆ สามารถเปลี่ยนแปลงและเพิ่มพูนความรู้ได้โดยจ้างคนใหม่ๆ เข้ามาเสริมทีม แต่บุคคลทั่วไปไม่สามารถแลกเปลี่ยนทักษะที่เฉียบขาดได้เร็วพอที่จะปรับตัวให้เข้ากับตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป แม้ว่าผู้คนจะรับรู้ถึงความจำเป็นในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ แต่ก็ไม่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่เป็นเพราะทักษะต่างๆ ถูกบ่มเพาะและสั่งสมมาอย่างยาวนานผ่านการศึกษา การฝึกอบรม การเรียนรู้ และประสบการณ์การทำงานเป็นเวลาหลายปี

อย่างไรก็ตาม ความคิดที่จะหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนโดยอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีความมั่นคงนั้นไม่ใช่ทางเลือกที่ดี ดังที่เรารู้กันดีว่าไม่มีอะไรที่มีเสถียรภาพอยู่ตลอดเวลา การดูแลเส้นทางอาชีพของตนเองสามารถทำได้โดยการค้นหาสัญญาณเริ่มต้นของความผันผวนในอุตสาหกรรมแล้วก้าวไปข้างหน้ามากกว่าที่บริษัทของเราทำอยู่ โดยดูว่าในอุตสาหกรรมหรือภาคส่วนเดียวกันกับที่เราทำอยู่นั้นมีทักษะอะไรที่เป็นที่ต้องการสูงแล้วพัฒนาทักษะนั้นให้ครอบคลุมและเพียงพอที่จะก้าวข้ามปัญหาอุปสรรคของความไม่แน่นอน และสามารถใช้ทักษะนั้นไปกับอุตสาหกรรมอื่นๆ หากจำเป็นต้องทำ

ตัวอย่างเช่น บริษัทในวอลล์สตรีทมักจะว่าจ้างนักวิเคราะห์เป็นจำนวนมากที่มีความรู้เกี่ยวกับบริษัทและความรู้ในอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน  นอกจากนี้ ยังแสวงหานักวิเคราะห์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่ครอบคลุมในหมวดหมู่ต่างๆ ด้วย เช่น ผู้ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวโน้มด้านกฎระเบียบ บริษัทขนาดเล็ก ความรู้เชิงปริมาณ การจัดการพอร์ตโฟลิโอ เศรษฐศาสตร์ หรือการบัญชี เป็นต้น  สิ่งที่โดดเด่นของคนเหล่านี้แม้ว่าจะตกอยู่ในความผันผวนของอุตสาหกรรมก็คือ ความเชี่ยวชาญของพวกเขาสามารถนำไปใช้ในวงกว้างกับกลุ่มบริษัทที่มีความหลากหลายและไม่เกี่ยวข้องกันได้

แนวคิดทั้ง 5 ประการดังกล่าวเป็นแนวทางที่องค์กรสามารถนำไปใช้เพื่อสร้างความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้เมื่อเผชิญหน้ากับความผันผวนทางเศรษฐกิจซึ่งจะเห็นได้ว่ามีประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน การสร้างความยืดหยุ่นและการมีส่วนร่วมของบุคลากร การมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร และการเพิ่มพูนความรู้ทักษะด้วยความเข้าใจในบริบททั้งภายในและภายนอกองค์กรรวมทั้งการประเมินความเสี่ยง  ทั้งหมดนี้มีการกล่าวถึงอย่างเป็นระบบในมาตรฐานสากลหลายฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรฐานระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยสำหรับห่วงโซ่อุปทาน ISO 28000 มาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ISO 22301 และมาตรฐานการจัดการความเสี่ยง ISO 31000

ไม่ว่าองค์กรหรือบุคคลจะต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดก็ตาม การเตรียมความพร้อมรับมืออยู่เสมอจะช่วยให้สามารถผ่านพ้นภาวะวิกฤติต่างๆ ไปได้และสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน  โดยสามารถนำแนวทางจากมาตรฐานสากลไปปรับใช้เพื่อให้สามารถรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิผล

ที่มา: https://sloanreview.mit.edu/article/five-articles-for-building-resilience-when-facing-a-recession/



Related posts

  • มาตรฐานเกี่ยวกับแสงไฟ – “แสงสว่างเพื่อชีวิต” ตอนที่ 2มาตรฐานเกี่ยวกับแสงไฟ – “แสงสว่างเพื่อชีวิต” ตอนที่ 2
  • ว่าที่เลขาธิการคนใหม่ของไอเอสโอว่าที่เลขาธิการคนใหม่ของไอเอสโอ
  • ไอเอสโอทบทวน ISO/IEC 17025ไอเอสโอทบทวน ISO/IEC 17025
  • การจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อความยั่งยืนการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อความยั่งยืน
  • โลกจำเป็นต้องใช้มาตรฐานรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโลกจำเป็นต้องใช้มาตรฐานรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Tags: BCM, Disruption, ISO, ISO 22301, ISO 28000, ISO 31000, Security and resilience, Security Management System, Standardization, uncertainty

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑