จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่คนทั่วโลกต้องร่วมกันหยุดยั้งความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติหรือการคุกคามของระบบนิเวศทั้งหมด เพราะนอกจากเรื่องนี้จะเป็นปัญหาร้ายแรงในตัวของมันเองแล้ว ยังเชื่อมโยงกับความท้าทายอื่นๆ ระดับโลกอย่างใกล้ชิดด้วย เช่น ความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งนำไปสู่วงจรอุบาทว์ที่ทำลายได้ยากมาก
เช่นเดียวกัน ความพยายามทุกวิถีทางในการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมสามารถก้าวไปสู่วงจรความดีที่มีประโยชน์หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข ความมั่นคงด้านพลังงาน หรือการจ้างงาน
ทรัพยากรธรรมชาติที่ขาดแคลน
ความเสื่อมโทรมของธรรมชาติอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดความตึงเครียดกับสังคมในขณะที่ความต้องการทรัพยากรเช่นน้ำและอาหารยังคงเพิ่มมากขึ้นโดยมีการใช้น้ำได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของอัตราการเติบโตของประชากรในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาซึ่งองค์การสหประชาชาติประเมินว่าประชากรโลกราว 1.8 พันล้านคนจะเผชิญกับการขาดแคลนน้ำภายในปี 2568 โดย 2ใน 3ของประชากรโลกทั้งหมดต้องเผชิญกับความเครียดน้ำแรงกดดันต่อแหล่งน้ำจืดที่หายากอยู่แล้วนั้นรวมถึงอุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งมีการสูญเสียมากขึ้นเนื่องจากการระเหย ในขณะที่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้ต้นทุนน้ำสูงขึ้น และความขัดแย้งในการจัดการกับทรัพยากรอันมีค่านี้อาจนำไปสู่ความตึงเครียดระหว่างประเทศ
แรงผลักดันเดียวกันนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเติบโตของประชากร และการพัฒนาเศรษฐกิจ ยิ่งทำให้การขาดแคลนน้ำรุนแรงขึ้น และสร้างแรงกดดันต่อความพร้อมของพื้นที่เพาะปลูกสำหรับทำการเกษตร ในขณะเดียวกัน ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักอย่างโลหะหายากก็อยู่ภายใต้แรงกดดันแล้ว เนื่องจากความพยายามในการขจัดคาร์บอนออกไปทำให้มีความต้องการในทรัพยากรหายากมากขึ้นด้วย เช่น ลิเธียมสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า
ความขาดแคลนเช่นนี้สามารถทำให้เกิดความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองทำให้มีอุปสรรคในการเข้าถึงน้ำมากขึ้น
ระบบนิเวศที่ถูกคุกคาม
ระบบนิเวศทางธรรมชาติบนบก ในน้ำ และในทะเลก็ได้รับผลกระทบจากปัจจัยและอิทธิพลเช่นเดียวกัน ภาวะโลกร้อน มลพิษ การตัดไม้ทำลายป่า การทำเหมืองแร่พื้นท้องทะเล และปรากฏการณ์ทะเลกรด (Ocean Acidification ซึ่งมีความเป็นกรดมากขึ้น) กำลังรบกวนการทำงานตามธรรมชาติของระบบนิเวศเหล่านั้น และนักวิทยาศาสตร์ยังคงทำงานเพื่อทำความเข้าใจขอบเขตและผลกระทบของการหยุดชะงักทั้งหมดด้วย
ระบบนิเวศเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างลึกซึ้งของสิ่งมีชีวิต โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อการคุกคามของการหยุดชะงักของระบบนิเวศ สภาพอากาศสุดขั้วอาจส่งผลร้ายแรงทั้งทางตรงและทางอ้อม ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศกำลังก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านสาธารณสุขที่สำคัญในเขตเมือง องค์การอนามัยโลกประมาณการว่า 99%ของประชากรโลกหายใจเอาอากาศที่มีมลพิษเกินขีดจำกัดเข้าไป
ความท้าทายของความเสื่อมโทรมด้านสิ่งแวดล้อมอาจจะดูเหมือนมีอยู่มากมาย แต่ก็มีการดำเนินการที่สามารถทำได้และกำลังแก้ไขกันอยู่เพื่อบรรเทาและกู้คืนความเสียหาย ส่วนใหญ่ประเทศต่างๆ ตั้งเป้าที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ในทศวรรษหน้า และสนธิสัญญา ระเบียบข้อบังคับ และมาตรฐานต่างๆ ก็กำลังมีการนำไปใช้เพื่อช่วยต่อสู้กับการแสวงประโยชน์และการจัดการที่ผิดพลาดของธรรมชาติ
มาตรฐานสากลคือรากฐานความร่วมมือในทุกระดับ
ไอเอสโอพิจารณาอยู่เสมอว่าการจัดทำมาตรฐานจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้ดี ปัจจุบัน มีกลุ่มที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับการทำแผนงานที่มีอยู่และความต้องการของตลาดที่เกี่ยวข้องกับแร่ธาตุที่สำคัญ รวมทั้งการทำฟาร์มอัจฉริยะ ในขณะที่ตลาดเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนขยายตัว ก็มีขอบเขตที่สำคัญในการขยายงานของคณะกรรมการวิชาการเฉพาะด้านออกไปให้ครอบคลุม ซึ่งไอเอสโอได้ปรับตัวให้เข้ากับความต้องการมาตรฐานใหม่ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีและแนวทางการกำจัดคาร์บอนใหม่ด้วย เช่น การปลูกป่าเป็นต้น
มาตรฐานเหล่านั้นอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา แต่ก็เป็นการวางรากฐานที่สำคัญสำหรับความร่วมมือและความไว้วางใจระหว่างบริษัท ประเทศ และผู้บริโภค ซึ่งถือว่าไอเอสโอได้ก้าวเข้ามาสู่เส้นทางที่ถูกต้องและในเวลาที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ทั่วโลกได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงจากการนำมาตรฐานสากลไปใช้ต่อไป
ที่มา:https://www.iso.org/contents/news/2022/08/everything-is-connected.html
Related posts
Tags: ecosystems, Environmental Management, Food security, GHG, ISO, Natural resources scarcity, Ocean Acidification, Paris Agreement, SDGs, Standardization, Sustainability, Water stress
ความเห็นล่าสุด