• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    14,906 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    14,898 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,237 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,135 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    9,678 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — August 29, 2022 8:00 am
โลกเปลี่ยน เราปรับ ยกระดับการทำงาน ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 333 reads
0
  

1.1 MORE  PRODUCTIVE WORKFORCE- THRIVING IN  A CHANGING WORK  ENVIRONMENTการปฏิวัติอุตสาหกรรมในแต่ละครั้ง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ได้ทำให้ตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิธีการผลิตและระดับการผลิตในแต่ละยุคมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยการนำเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาใช้ ทุกวันนี้ เทคโนโลยีใหม่กำลังมาบรรจบกัน ทำให้มีความก้าวหน้ารวดเร็วยิ่งขึ้น และธรรมชาติของงานก็ถูกดิสรัพท์ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่มีมากขึ้นไปด้วย  ระบบอัตโนมัติกำลังทำให้งานต่างๆ ที่จำเป็นในอนาคตต้องเปลี่ยนแปลงไปในขณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลและความสนใจของสังคมกำลังจะเปลี่ยนวิธีการและสถานที่ทำงานของเรา

ดังนั้น ไม่ใช่แค่นิยามของกำลังคนที่กำลังเปลี่ยนไป แต่ขอบเขตของงานทรัพยากรบุคคลก็เปลี่ยนจากการเน้นด้านแรงงานมาเป็นการเน้นที่ด้านทุนมนุษย์ด้วย

ผลกระทบของระบบอัตโนมัติ

อุตสาหกรรมต่างๆ ได้หันมาใช้ระบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่สังเกตเห็นได้ชัดโดยมีการศึกษาวิจัยมาเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าในเอไอหรือปัญญาประดิษฐ์  การผลิตอัจฉริยะและหุ่นยนต์ซึ่งได้ทำให้ความสามารถในการทำงานด้วยเครื่องจักรมีประสิทธิภาพมากกว่ามนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลต่อภาพรวมของการจ้างงานทั่วโลก เป็นอย่างมาก โดยผลการศึกษาบางส่วนคาดการณ์ว่าในระดับโลก ระบบอัตโนมัติสามารถกำจัดงานที่มีอยู่ออกไป  9% และเกิดเปลี่ยนแปลงอย่างหน้ามือเป็นหลังมือราว 1 ใน 3 ของงานที่มีอยู่ในอีก 15 ถึง 20 ปีข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงด้านอุตสาหกรรมในครั้งนี้แตกต่างจากที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้เนื่องจากเกิดขึ้นด้วยความรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมาซึ่งในขณะนี้ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลอย่างรอบคอบเพื่อประโยชน์สูงสุด

ในขณะที่การศึกษาจำนวนมากมุ่งเน้นไปที่การสูญเสียงานที่อาจเกิดขึ้นซึ่งอาจเป็นผลมาจากระบบอัตโนมัติ แต่สิ่งสำคัญคือ อย่างน้อยที่สุดในระยะยาว ระบบอัตโนมัติจะส่งผลให้เกิดการสร้างงานที่สำคัญเช่นกัน กล่าวคือเกิดการสร้างงานรูปแบบใหม่ โดยขจัดความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องทำงานที่ไม่ปลอดภัย น่าเบื่อ และซ้ำซากออกไป ในขณะที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความยืดหยุ่นและมีเวลาพักผ่อนมากกว่าเดิม

งานใหม่เหล่านั้นมีแนวโน้มว่าจะต้องใช้ทักษะทางเทคนิคระดับสูงและทักษะทางสังคมรวมทั้งความคิดสร้างสรรค์มากกว่างานที่จะหายไป  แน่นอนว่าความสามารถของแต่ละประเทศในการใช้ประโยชน์จากระบบอัตโนมัตินั้นแตกต่างกันไปตามปัจจัยหลายประการ ดังต่อไปนี้

  • ข้อมูลทางประชากรศาสตร์ ประเทศที่มีประชากรสูงอายุมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ได้เร็วขึ้นเพื่อทดแทนและเพิ่มแรงงานสูงอายุของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคส่วนต่างๆ เช่น สุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุ และเกษตรกรรม เป็นต้น ระบบอัตโนมัติในประเทศที่มีประชากรอายุน้อยกว่าและแรงงานที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลเสียมากกว่าและอาจกดดันค่าแรงให้ลดลง ในทางกลับกัน ประเทศเหล่านี้อาจมีความคล่องตัวมากขึ้นในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากระบบอัตโนมัติตราบเท่าที่สามารถจัดเตรียมการศึกษาที่จำเป็นในการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานใหม่ๆ
  • ระดับของอุตสาหกรรม  มีความวิตกกังวลว่าระบบอัตโนมัติอาจทำให้ประเทศกำลังพัฒนาเกิดการเสียเปรียบ เนื่องจากประเทศเหล่านี้มักจะมีงานจากการผลิตเป็นจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศที่พัฒนาแล้วอาจทำการผลิตโดยใช้หุ่นยนต์มากขึ้นซึ่งจะลดโอกาสสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในการขยายเศรษฐกิจผ่านการผลิตที่เน้นการส่งออก  แต่เศรษฐกิจที่ก้าวหน้าก็อาจประสบปัญหานี้เช่นกัน คือเกิดการขาดแคลนรายได้อันเนื่องมาจากจำนวนผู้ปฏิบัติงานที่จ่ายภาษีลดลง และเกิดความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากขึ้น เนื่องจากกลับกลายเป็นว่ากลุ่มประชากรที่เคยมีการเติบโตอย่างมั่นคงในมาตรฐานการครองชีพ ตอนนี้เกิดการเสียเปรียบ
  • ระบบการศึกษา สิ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการปรับตัวให้เข้ากับระบบอัตโนมัติที่เพิ่มขึ้นคือ ทักษะที่มีอยู่ในแรงงานของประเทศหนึ่งๆ ผนวกกับความสามารถในการเข้าถึงการศึกษาต่อเนื่อง

ในประเทศที่ผู้หญิงมีแนวโน้มว่าจะมีระดับการศึกษาต่ำกว่าผู้ชายและมีทักษะทางเทคนิคน้อยกว่าผู้ชาย งานของผู้หญิงอาจมีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการทำงานอัตโนมัติมากขึ้น และอาจส่งผลให้พวกเธอถูกกีดกันออกจากแรงงาน ดังนั้น ผู้กำหนดนโยบายจะต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่ามีการริเริ่มการฝึกอบรมและยกระดับทักษะอย่างเพียงพอที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับแรงงานที่มีทักษะต่ำและปานกลาง รวมถึงผู้หญิงด้วยในบางกรณี)

ในขณะที่ระบบอัตโนมัติทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนอะไรหลายๆ อย่างไป เทคโนโลยีดิจิทัลก็ช่วยให้เราทำงานจากระยะไกลและมีตารางการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความตอนต่อไปพร้อมกับแนะนำมาตรฐานสากลที่ไอเอสโอพัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงด้านการทำงานด้วย

ที่มา: https://www.iso.org/foresight/the-changing-nature-of-work



Related posts

  • จิ๋วแต่แจ๋ว ธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ของบริษัทเล็ก ตอนที่ 2จิ๋วแต่แจ๋ว ธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ของบริษัทเล็ก ตอนที่ 2
  • ไอเอสโอหาแนวทางปกป้องข้อมูลดิจิตอลผู้บริโภค ตอนที่ 1ไอเอสโอหาแนวทางปกป้องข้อมูลดิจิตอลผู้บริโภค ตอนที่ 1
  • ICAO พร้อมรับมืออนาคตการบิน ตอนที่ 2ICAO พร้อมรับมืออนาคตการบิน ตอนที่ 2
  • องค์กรยุคใหม่ ใส่ใจ ISO 26000 ตอนที่ 1องค์กรยุคใหม่ ใส่ใจ ISO 26000 ตอนที่ 1
  • ไอเอสโอแนะนำชุดมาตรฐานใหม่เสริมแกร่งทรัพยากรบุคคลไอเอสโอแนะนำชุดมาตรฐานใหม่เสริมแกร่งทรัพยากรบุคคล

Tags: AI, Demographics, Education systems, Effects of automation, Industrial revolutions, Industrialization, ISO, Labor market, Robotics, Smart Manufacturing, Standardization, Workforce

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑