• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,228 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,005 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,322 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,207 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,834 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Strategic Management | Innovation Management | — กันยายน 16, 2022 8:00 am
เอ็มไอทีเผยผลวิจัยใช้ Design Thinking ให้ประสบความสำเร็จ ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 443 reads
0
  

การคิดเชิงออกแบบหรือ Design Thinking เป็นหนึ่งในหลายๆ แนวทางที่องค์กรนำไปใช้พัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรม แต่การที่องค์กรจะเริ่มต้นพัฒนาด้วยตนเองอาจทำได้ไม่ง่ายนักเนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมและขนบธรรมเนียมแบบเดิมๆ ซึ่งทำให้การคิดนอกกรอบเป็นไปได้ยาก ดังนั้น การประเมินความพร้อมขององค์กร การเตรียมทีมงาน รวมถึงการเปิดโอกาสให้บุคลากรภายนอกเข้ามาช่วยในช่วงเริ่มต้น จึงมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของการนำ Design Thinking ไปใช้ในองค์กร

เมื่อต้นเดือนกันยายน 2565 วารสาร MIT Sloan Management Review ได้เปิดเผยผลการวิจัยจากกรณีศึกษาและเอกสารรวมทั้งการสัมภาษณ์มากกว่า 50 ครั้งร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ได้แก่ นักออกแบบ ผู้นำบริษัทออกแบบและห้องปฏิบัติการ  นักวิชาการ ที่ปรึกษา และผู้นำธุรกิจ โดยครึ่งหนึ่งของการสัมภาษณ์ได้ทำการวิจัยระหว่างปี 2557 – 2560 (ค.ศ.2014 – 2017) และอีกครึ่งหนึ่ง ได้ทำการวิจัยระหว่างปี 2562 – 2564 (2019 – 2021) สำหรับการสัมภาษณ์เป็นแบบกึ่งโครงสร้างและสำรวจแนวคิดการออกแบบภายในองค์กร ควบคู่ไปกับประสบการณ์ของนักออกแบบกับการนำการคิดเชิงออกแบบไปใช้ในองค์กร

เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการคิดเชิงออกแบบ ผู้นำจำเป็นต้องรู้ว่าเมื่อใดจึงจะนำไปใช้ และต้องเตรียมทั้งพนักงานและผู้จัดการให้มีความพร้อม การวิจัยของนี้ได้ระบุลักษณะเฉพาะที่ทำให้องค์กร “พร้อมสำหรับการคิดเชิงออกแบบ” รวมถึงแนวทางเชิงกลยุทธ์ในการปรับใช้ด้วย

ทำไมต้อง “คิดเชิงออกแบบ”

การคิดเชิงออกแบบเป็นแบบแผนที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา จากการศึกษากระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องใช้แนวทางการทดลองซ้ำๆ เพื่อแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง การกำหนดพื้นที่ปัญหา คิดวิธีแก้ปัญหาใหม่ จากนั้นจึงสร้างต้นแบบ ทดสอบ และปรับแต่ง

หลายองค์กรที่หันมาใช้การคิดเชิงออกแบบมีนวัตกรรมอยู่ในใจแล้ว บางองค์กรมองหาแนวคิดนี้เพื่อคิดค้นโมเดลธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ๆ และบางองค์กรใช้เพื่อระบุ pain point จากประสบการณ์ของผู้ใช้และปรับแต่งข้อเสนอที่มีอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น องค์กรอาจสร้างประสบการณ์ดิจิทัลเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงและใช้งานให้ง่ายขึ้นสำหรับลูกค้า

ในบรรดาข้อดีหลายประการของการคิดเชิงออกแบบ คือ การทำให้ “อคติทางปัญญา” (Cognitive Bias)  ลดลง ทำให้ผู้คนเห็นภาพวิธีแก้ปัญหาที่ไม่เคยคิดมาก่อน นอกจากนี้ ยังส่งเสริมความเห็นอกเห็นใจลูกค้า  ทำให้มีการไตร่ตรองและการเรียนรู้  ตลอดจนเป็นการชี้ทางไปสู่รูปแบบความเป็นผู้นำที่ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา และสนับสนุนการคิดที่ต่างกันออกไป ส่งผลให้องค์กรสามารถมีเป้าหมายได้หลากหลายสำหรับการคิดเชิงออกแบบมากกว่าเพียงแค่เป้าหมายด้านผลิตภัณฑ์ บริการ หรือนวัตกรรมรูปแบบธุรกิจ

บางองค์กรนำแนวคิดการออกแบบมาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้คล่องตัวมากขึ้นหรือตอบสนองต่อลูกค้ามากขึ้น การคิดเชิงออกแบบช่วยได้เพราะมันเกี่ยวข้องกับการสะท้อนความคิดในเชิงรุก ซึ่งธรรมชาติของปัญหาถูกตั้งคำถามมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงส่งเสริมการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมได้

คิดอย่างนักออกแบบ

วิธีการของนักออกแบบมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้อันเนื่องมาจากมีปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวพันกันไปหมด (Wicked problems) เนื่องจากพวกเขาต้องการให้ผู้คนคิดนอกกรอบหรือนอกขอบเขตของธุรกิจตามปกติ เมื่อทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการคิดเชิงออกแบบมากกว่า 50 คนในอเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลีย รวมถึงผู้นำธุรกิจที่ไม่เชื่อในแนวทางนี้ ก็พบความแตกต่างที่สำคัญ 8 ประการระหว่างวิธีคิดของนักออกแบบและผู้จัดการธุรกิจ วิธีคิดในการทำงาน และวิธีคิดในการกำหนดวัตถุประสงค์ซึ่งแตกต่างกันตั้งแต่ระดับสูงไปจนถึงพนักงาน   บุคคลเหล่านี้สามารถเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไขตามมิติ 8 ประการดังต่อไปนี้ตามที่นักออกแบบทำซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าการคิดเชิงออกแบบจะประสบความสำเร็จหรือไม่

คิดเชิงบริหารกับคิดเชิงออกแบบแตกต่างกันอย่างไร

มิติ 8 ด้านของการคิดเชิงออกแบบแสดงความแตกต่างที่สำคัญของวิธีการที่ผู้จัดการและนักออกแบบทำงานและตัดสินใจ ดังนี้ 1. มิติด้านวัตถุประสงค์ การคิดเชิงบริหารให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นอันดับแรก ส่วนการคิดเชิงออกแบบให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานเป็นอันดับแรก 2. มิติด้านความร่วมมือ การคิดเชิงบริหารให้ความสำคัญกับการจัดการแผนหรือฝ่ายต่างๆ  ส่วนการคิดเชิงออกแบบให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาผ่านทีมงานข้ามสายงาน 3. มิติด้านรูปแบบการทำงาน การคิดเชิงบริหารให้ความสำคัญกับการทำงานอย่างเป็นทางการและมีลำดับชั้น (Hierarchy)  ส่วนการคิดเชิงออกแบบให้ความสำคัญกับการทำงานที่ยืดหยุ่น ไม่เป็นทางการ และไม่มีลำดับชั้น 4. มิติด้านกระบวนการคิด การคิดเชิงบริหารให้ความสำคัญกับการให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive) และอุปนัย (Inductive) ส่วนการคิดเชิงออกแบบให้ความสำคัญกับการให้เหตุผลทั้งสองอย่างดังกล่าวรวมทั้งแบบจารนัย (Abductive) 5. มิติด้านกำเนิดองค์ความรู้ การคิดเชิงบริหารให้ความสำคัญกับปริมาณขององค์ความรู้ ส่วนการคิดเชิงออกแบบให้ความสำคัญกับเรื่องราวหรือคุณภาพขององค์ความรู้ 6. มิติด้านข้อจำกัด การคิดเชิงบริหารให้ความสำคัญกับทางเลือกที่จำกัด ส่วนการคิดเชิงออกแบบให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสและการกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์ 7. มิติด้านความล้มเหลว การคิดเชิงบริหารให้ความสำคัญกับการหลีกเลี่ยงความล้มเหลว ส่วนการคิดเชิงออกแบบให้ความสำคัญกับความล้มเหลวในฐานะที่เป็นโอกาสในการเรียนรู้ 8. มิติด้าน workflow การคิดเชิงบริหารให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากคุณค่าที่มีอยู่ ส่วนการคิดเชิงออกแบบให้ความสำคัญกับการค้นพบคุณค่าของอนาคต

เมื่อรู้ถึงความแตกต่างของการคิดเชิงบริหารกับการคิดเชิงออกแบบแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องพิจารณาว่าองค์กรพร้อมหรือยังสำหรับการคิดเชิงออกแบบ โปรดติดตามรายละเอียดในตอนต่อไปค่ะ

ที่มา:  1. https://sloanreview.mit.edu/article/can-design-thinking-succeed-in-your-organization/
2. https://www.bangkokbiznews.com/columnist/1007065



Related posts

  • ที่มาของไอเดียบรรเจิดที่มาของไอเดียบรรเจิด
  • ไซเดอร์ ซอฟต์แวร์ใหม่มิกซ์แอนด์แมทช์บนแอนดรอยด์และแอปเปิ้ลไซเดอร์ ซอฟต์แวร์ใหม่มิกซ์แอนด์แมทช์บนแอนดรอยด์และแอปเปิ้ล
  • ถนอมเท้าด้วยรองเท้านวดได้ “Water Massage”ถนอมเท้าด้วยรองเท้านวดได้ “Water Massage”
  • แนะ 4 ขั้นตอนปรับอารมณ์และพฤติกรรมแนะ 4 ขั้นตอนปรับอารมณ์และพฤติกรรม
  • ส่งมอบบริการไอทีด้วย ISO/IEC 20000-1 ตอนที่ 2ส่งมอบบริการไอทีด้วย ISO/IEC 20000-1 ตอนที่ 2

Tags: Cognitive bias, Design Thinking, Innovation, Innovation Management, Pain point, Strategic Management, Wicked problems

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑