เมื่อกล่าวถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปัจจุบัน พบว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะกลับมายืนหยัดอีกครั้งหลังจากวิกฤตการระบาดใหญ่ทั่วโลก แต่สำหรับซุรับ โปโลลิกาชวิลิ เลขาธิการองค์การการท่องเที่ยวโลก (UNWTO) แล้ว เขายังคงเชื่อมั่นและเป็นกำลังใจให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วโลก และเนื่องในวันท่องเที่ยวโลกในปี 2565 ซึ่งตรงกับวันที่ 27 กันยายนของทุกปี เขาได้เปิดเผยว่าวาระ 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ยังคงเป็นเป้าหมายสูงสุดของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ทุกคนที่อยู่ในภาคส่วนนี้ต้อง “คิดใหม่” ว่าจะก้าวไปถึงเป้าหมายนั้นได้อย่างไร
ซุรับ โปโลลิกาชวิลิ กล่าวว่า “ศักยภาพของการท่องเที่ยวนั้นมีอยู่อย่างมหาศาล และเรามีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อสร้างความมั่นใจในศักยภาพอันเต็มเปี่ยมนั้น เนื่องในวันท่องเที่ยวโลก พ.ศ. 2565 องค์การการท่องเที่ยวโลกจึงขอเชิญชวนให้ทุกคน ตั้งแต่ผู้ปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวไปจนถึงนักท่องเที่ยว รวมทั้งธุรกิจขนาดเล็ก บริษัทขนาดใหญ่ และรัฐบาล มาลองไตร่ตรองดู และคิดใหม่ว่าเราทำจะอะไร และจะทำอย่างไรให้การท่องเที่ยวก้าวสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเต็มศักยภาพ”
เขากล่าวว่าเพื่อให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวก้าวสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะต้องมีการปรับโครงสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อให้ความสำคัญกับ “คน” เป็นอันดับแรก การท่องเที่ยวทำให้คนหนุ่มสาว ผู้หญิง และชุมชนมีงานทำมาโดยตลอด รวมถึงตอนนี้ โลกของเรายังต้องการเสียงตอบรับจากคนใหม่ๆ และแนวคิดใหม่ๆ เพื่อสร้างการปรับเปลี่ยนไปสู่การท่องเที่ยวที่ดีขึ้นสำหรับทุกคนด้วย
ท่องเที่ยวครั้งต่อไป…ไม่ลืมเรื่องความยั่งยืน
อากาศบริสุทธิ์…ภูเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะ…และชายหาดอันเงียบสงบ…นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ชอบประสบการณ์การเดินทางเหล่านี้
วันท่องเที่ยวโลกในปีนี้ได้กลับมาเน้นที่อนาคต ในขณะที่การฟื้นตัวของภาคธุรกิจกำลังดำเนินไป เรากำลังใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้เพื่อคิดใหม่ว่าเราทำธุรกิจท่องเที่ยวอย่างไรเพื่อให้ความสำคัญกับผู้คนและโลกเป็นอันดับแรก และนำทุกคนมารวมกันโดยมีวิสัยทัศน์ร่วมกันเพื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน ครอบคลุม และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
ไอเอสโอมีความมุ่งมั่นต่อการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการมุ่งสู่ความยั่งยืนซึ่งทำให้ไอเอสโอเร่งดำเนินงานเพื่อให้มีความก้าวหน้าในผลงานและการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำมุมมองด้านความยั่งยืนมาสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เนื่องจากความยั่งยืนของบุคคลและองค์กรอาจแตกต่างกันออกไป ดังนั้น การมีมาตรฐานร่วมกันจึงสามารถช่วยให้ทุกคนเข้าใจตรงกันและนำไปใช้งานได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างมาตรฐานการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นในเรื่องความยั่งยืน ได้แก่
1. ISO 18065, Tourism and related services – Tourist services for public use provided by Natural Protected Areas Authorities – Requirements
2. ISO 20611, Adventure tourism – Good practices for sustainability – Requirements and recommendations
3. ISO 21416, Recreational diving services – Requirements and guidance on environmentally sustainable practices in recreational diving
4. ISO 21401, Tourism and related services – Sustainability management system for accommodation establishments – Requirements
5. ISO 23405, Tourism and related services – Sustainable tourism – Principles, vocabulary and model
ก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของโลกจึงไม่เพียงแต่จะช่วยสร้างงาน กระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสริมวัฒนธรรมของชุมชนต่างๆ เท่านั้น แต่ยังมุ่งไปสู่ความยั่งยืน และความยืดหยุ่นที่ทุกคนสามารถปรับตัวได้ดีด้วย
ที่มา: 1. https://www.iso.org/contents/news/2022/09/Next-for-the-travel-industry.html
2. https://www.unwto.org/world-tourism-day-2022/official-messages
Related posts
Tags: Adventure, Agenda 2030, ISO 18065, ISO 20611, ISO 21401, ISO 21416, ISO 23405, Standardization, Tourism, UNWTO
ความเห็นล่าสุด