• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,175 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    14,989 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,305 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,197 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,779 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — ตุลาคม 10, 2022 8:00 am
เปลี่ยนโลกให้ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
Posted by Phunphen Waicharern with 405 reads
0
  

ถึงแม้ว่าคนเราจะต่างชาติต่างภาษากัน แต่บางครั้ง เราอาจพบว่ามีสำนวนบางอย่างที่มีความหมายเหมือนกันอย่างไม่ได้ตั้งใจ เป็นต้นว่า “เวลาและวารีไม่เคยคอยใคร” ซึ่งตรงกับสำนวนอังกฤษที่ว่า “Time and tide wait for no man.”  สำนวนนี้ตรงกับสถานการณ์ปัจจุบันของโลกของเราที่กำลังก้าวสู่หัวเลี้ยวหัวต่อเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน  หมายความว่าโลกของเราไม่อาจรอให้เวลาผ่านไปได้อีกต่อไป มีแต่การลงมือปฏิบัติเท่านั้นที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์อย่างชัดเจนโดยมีการวางเทคโนโลยีด้านสภาพอากาศเป็นหัวใจสำคัญของการประชุม COP 27 ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงเพื่อบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2583 (ค.ศ. 2040)

ทั้งนี้ จากการประชุมประจำปี 2565 ของไอเอสโอที่เมืองอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็มีการบรรยายในหัวข้อเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม ซึ่งตัวแทนจากทั่วทุกมุมโลกต่างเห็นพ้องต้องกันว่าคนทั่วโลกจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใด หรืออุตสาหกรรมใดก็ตาม โดยมี “มาตรฐาน” เป็นสิ่งที่ช่วยวางรากฐานสำหรับนวัตกรรมในการทำงานร่วมกัน

ในการดำเนินการด้านสภาพอากาศ “เทคโนโลยีใหม่” ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ในขณะที่เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ยังคงอยู่ในระยะเริ่มต้น รายงานล่าสุดของ UN IPCC ยอมรับว่าต้องมีการใช้งานในระดับมหาศาลเพื่อชดเชยการปล่อยมลพิษที่ลดได้ยาก

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีส การดักจับและกักเก็บคาร์บอนเป็นเพียงด้านเดียวที่จำเป็นต้องมีนวัตกรรมอย่างรวดเร็วเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศ  นอกจากนี้ ยังมีนวัตกรรมอื่นๆ สนับสนุนด้วย เช่น การจัดเก็บพลังงานในระดับกริด การผลิตไฮโดรเจนสีเขียว (green hydrogen) และการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องบินและเรือ เป็นต้น

เมื่อเทคโนโลยีเหล่านั้นเกิดขึ้น มาตรฐานก็มีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ทุกฝ่าย ตั้งแต่ผู้ผลิตและรัฐบาล ไปจนถึงหน่วยงานกำกับดูแลและผู้บริโภค มีความมั่นใจว่าจะสามารถแบ่งปันและเข้าใจได้ถึงคำจำกัดความและคำศัพท์ต่างๆ ร่วมกัน มาตรฐานทำให้มั่นใจได้ว่าเทคโนโลยีเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทนี้  ซึ่งยังคงมีความสำคัญ อย่างไม่เปลี่ยนแปลง  มาตรฐานช่วยให้การลงทุน พัฒนา และใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย

ตัวอย่างเช่น ในประเทศแคนาดา รัฐบาลกำลังแสดงความเป็นผู้นำในการจัดซื้อวัสดุก่อสร้างที่มีคาร์บอนต่ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์ซีเมนต์และคอนกรีต บริษัท CarbonCure Technologies Inc. ซึ่งตั้งอยู่ในโนวาสโกเชีย มีภารกิจในการขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ในคอนกรีตและลดการปล่อยมลพิษที่เกี่ยวข้องกับวัสดุก่อสร้าง เทคโนโลยีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรของบริษัทนี้จะทำการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์อย่างถาวรโดยการฉีดเข้าไปในคอนกรีตในขณะที่ผสม ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่ตรงตามเกณฑ์มาตรฐานหรือสูงกว่าสำหรับคุณภาพและความแข็งแรง ในขณะที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดต้นทุนการผลิตได้ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น มาตรฐานที่ยอมให้ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ฉีดเข้าไปในซีเมนต์ยังได้รับการอ้างอิงในประมวลกฎหมายระดับประเทศ (National Model Construction Codes) เช่นเดียวกับการนำหลักจรรยาบรรณไปใช้ในระดับจังหวัดและในอาณาเขตด้วย (การผลิตคอนกรีตผสมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อปรับปรุงคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยไม่ลดทอนความแข็งแกร่ง มีผลงานวิจัยซึ่งสามารถศึกษาได้ที่นี่)

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีใหม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินการด้านสภาพอากาศ แต่หากพูดถึงเรื่องที่ก้าวไกลไปมากกว่าเรื่องของเทคโนโลยี  ความพยายามด้านสภาพอากาศต้องการอะไรที่เป็นมากกว่านวัตกรรมทางเทคโนโลยี อันที่จริง เทคโนโลยีจำนวนมาก ตั้งแต่การจับอากาศโดยตรงไปจนถึงไฮโดรเจนสีเขียว เดิมทีไม่ได้มีความต้องการอยู่จริงแต่เป็นเรื่องของนโยบายที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการลงทุนเพื่อการพัฒนา

มาซัมบา จัวเย ผู้แทนของ UNFCCC Global Innovation Hub ได้กล่าวในที่ประชุมไอเอสโอประจำปี 2565 ว่าเมื่อพูดถึงนวัตกรรม  ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของเทคโนโลยี แต่ความท้าทายด้านสภาพอากาศและความยั่งยืนนั้นมีความสำคัญมาก  เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะจัดการกับความท้าทายดังกล่าว เราต้องมีแนวทางแบบบูรณาการเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมผสมผสานกับนโยบายที่เป็นนวัตกรรมด้วย  รวมไปถึงโมเดลธุรกิจที่เป็นนวัตกรรม โมเดลทางการเงินที่เป็นนวัตกรรมใหม่ และแนวทางการทำงานร่วมกันที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เราต้องมีนวัตกรรมทางสังคมและใช้ประโยชน์จากมันให้ได้ เพราะสิ่งนี้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั่นเอง

การคิดเชิงนวัตกรรมจะต้องนำไปใช้โดยรวมในเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด  เพื่อหาวิธีใหม่และวิธีที่ดีกว่าในการเปิดใช้งานการดำเนินการด้านสภาพอากาศ ตัวอย่างเช่น ในการประชุมไอเอสโอประจำปีดังกล่าว มีการอภิปรายว่าเมืองต่างๆ ควรได้รับอำนาจในการทำหน้าที่เป็น ผู้ให้บริการอย่างครอบคลุมด้านสภาพอากาศมากกว่าที่จะเป็นเพียงผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งไอเอสโอกำลังทำงานร่วมกับเมืองโกยางในเกาหลีใต้เกี่ยวกับแนวทางที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในด้านบัญชีคาร์บอนซึ่งช่วยแจ้งข้อมูลความคืบหน้าในการวางแผนการลดคาร์บอน

ในทศวรรษต่อไป  นวัตกรรมด้านสภาพอากาศจะทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตและการทำงานของเราเปลี่ยนไป เมื่อก้าวไปสู่สิ่งที่ไม่คุ้นเคยด้วยการทดลองเหล่านี้แล้ว มาตรฐานไอเอสโอซึ่งครอบคลุมความพยายามที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ ตั้งแต่ระบบการจัดการพลังงานไปจนถึงการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (รวมทั้งมาตรฐานเทคโนโลยีนวัตกรรม) จะสามารถให้รากฐานที่มั่นคงและทำให้มั่นใจในแนวปฏิบัติที่ดี และส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในที่สุด

ที่มา: https://www.iso.org/contents/news/2022/09/top-technologies-for-climate.html  



Related posts

  • อียูส่งสัญญาณลงทุนในพลังงานสะอาดผ่าน Roadmap 2050อียูส่งสัญญาณลงทุนในพลังงานสะอาดผ่าน Roadmap 2050
  • ชาวลอนดอนปลื้ม เปลี่ยนทุกย่างก้าวเป็นพลังงานชาวลอนดอนปลื้ม เปลี่ยนทุกย่างก้าวเป็นพลังงาน
  • ไอเอสโอช่วยพัฒนาคุณภาพอุปกรณ์ทางการแพทย์ไอเอสโอช่วยพัฒนาคุณภาพอุปกรณ์ทางการแพทย์
  • มาตรฐานใหม่ไอเอสโอช่วยแก้ไขปัญหาสุขาภิบาลมาตรฐานใหม่ไอเอสโอช่วยแก้ไขปัญหาสุขาภิบาล
  • มาตรฐานใหม่เพื่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมาตรฐานใหม่เพื่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

Tags: Carbon Capture and Storage (CCS), Climate Change, COP 27, Green hydrogen, Innovation, ISO, Net Zero, Standardization, Technology

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑