• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,582 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,081 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,417 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,303 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,005 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — October 12, 2022 8:00 am
ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานภาคส่วนพลังงานเพื่ออนาคต
Posted by Phunphen Waicharern with 399 reads
0
  

2.1 ISO FORESIGHT AND ENERGY TRANSITIONปัจจุบัน การใช้พลังงานทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญจากการเติบโตทางประชากรและการเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้ความต้องการพลังงานทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้นจาก 40% เป็น 60% ภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) การจัดการการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้จึงถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ ขณะเดียวกันก็กลับกลายเป็นโอกาสด้านการจัดการพลังงานด้วยเช่นกัน

ไอเอสโอได้มองเห็นแนวโน้มของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกในประเด็นดังกล่าว และได้ระบุไว้ใน ISO Foresight Trend Report ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เพื่ออนาคตที่ดีกว่าของคนทั่วโลก  โดยในบทความครั้งนี้จะเปิดเผยแนวโน้มที่สำคัญระดับโลกรวมไปถึงแนวทางการปรับเปลี่ยนด้านพลังงานเพื่อให้โลกดีขึ้น โดยโรแลนด์ ริสเซอร์ ประธานคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 301, Energy management and energy savings ซึ่งดูแลรับผิดชอบด้านการจัดการพลังงานและการประหยัดพลังงาน  และเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในสาขาพลังงาน ดังต่อไปนี้

ประการแรก การปฏิรูปภาคพลังงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นสิ่งที่ทั่วโลกจำเป็นต้องทำเป็นลำดับแรก  การบรรลุจุดมุ่งหมายของข้อตกลงปารีสหมายถึงการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างเร่งด่วน การขยายแหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)  การเพิ่มปริมาณการดักจับคาร์บอน และการปรับปรุงการจัดการพลังงานทุกด้าน นับตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงผู้ใช้ปลายทาง

ประการที่สอง การลดก๊าซเรือนกระจกมีความสำคัญมาก การตอบสนองความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นในขณะที่โลกจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  หมายความว่าเราจำเป็นต้องใช้พลังงานทดแทนและใช้พลังงานให้ต่ำลง แล้วจึงก้าวไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  การใช้พลังงานทดแทนนั้นมีอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ไฟฟ้าพลังน้ำ นิวเคลียร์ ความร้อนใต้พิภพ ไปจนถึงพลังงานชีวภาพ และพลังงานอื่นๆ  ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เราเห็นข้อดีของพลังงานทดแทน และมีความหวังที่จะลดก๊าซเรือนกระจกได้  ดังจะเห็นได้ว่าพลังงานหมุนเวียนเป็นวิธีการผลิตพลังงานที่เติบโตเร็วที่สุด ซึ่งจากการลงทุนอย่างมหาศาลไปกับพลังงานหมุนเวียนของหลายประเทศ โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ก็จะทำให้สามารถแข่งขันกับเชื้อเพลิงฟอสซิลได้เร็วกว่าที่คาดไว้ได้

ประการที่ 3 การปรับเปลี่ยนด้านพลังงานจำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในการกระจายพลังงาน แม้จะมีการเติบโตที่น่าประทับใจของพลังงานหมุนเวียน แต่พลังงานหมุนเวียนเพียงอย่างเดียวไม่อาจจะชะลอการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นได้หากไม่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนเพื่อให้ราคาถูกลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น จึงมีแนวโน้มว่าจะต้องรวมเทคโนโลยีกับพลังงานนิวเคลียร์และการดักจับคาร์บอน ควบคู่ไปกับมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานเพื่อสกัดกั้นความต้องการที่เพิ่มขึ้น

เทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงาน เช่น แบตเตอรี่หรือเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ช่วยให้สามารถเก็บพลังงานไว้ในระบบเพื่อแจกจ่ายพลังงานได้เมื่อจำเป็น สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน โดยช่วยให้โครงข่ายไฟฟ้าสามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้หากไม่สามารถหาได้จากแหล่งพลังงานอื่น

ปัจจุบัน ไม่มีแบตเตอรี่ใดที่สามารถจัดเก็บและปล่อยกระแสไฟฟ้าในปริมาณมากในลักษณะที่ประหยัดต้นทุนซึ่งเหมาะสำหรับการปรับใช้ในระดับกริด ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าจับตามองเพราะกำลังมีการลงทุนที่หลั่งไหลไปสู่การวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่ และตลาดแบตเตอรี่ทั่วโลกก็อาจเติบโตได้ถึง 22.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2570 (ค.ศ.2027)

การใช้พลังงานจากแหล่งโดยตรงในท้ายที่สุดอาจพิสูจน์ได้ว่ามีราคาถูกกว่า ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความสนใจในเทคโนโลยีการแปลงพลังงานโดยตรงซึ่งเปลี่ยนแหล่งพลังงานให้เป็นความร้อน ไฟฟ้า หรือเชื้อเพลิง เช่น ไฮโดรเจนสีเขียว (ไฮโดรเจนที่ผลิตโดยอิเล็กโทรไลซิสในน้ำจากพลังงานหมุนเวียน) ซึ่งผู้ส่งออกน้ำมันหวังว่าจะกลายเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งยังมีศักยภาพที่จะทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในอุตสาหกรรมที่ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ยาก เช่น การขนส่งและการผลิตเหล็ก เป็นต้น

ประการที่ 4 ความท้าทายของการจัดการปรับเปลี่ยนด้านพลังงาน การปรับเปลี่ยนระบบพลังงานที่ซับซ้อนถือเป็นความท้าทายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนทั่วโลก และไอเอสโอได้ยอมรับสิ่งนี้ด้วยการลงนามในปฏิญญาลอนดอนเมื่อปี 2564 ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นที่จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินการด้านสภาพอากาศอย่างมีความหมายโดยใช้มาตรฐาน

โลกเรามีมาตรฐานมากมายที่เกี่ยวข้องกับพลังงานอยู่แล้ว หากนับมาตรฐานไอเอสโอเพียงอย่างเดียวมีมาตรฐานมากกว่า 200 ฉบับสำหรับภาคส่วนนี้ ความท้าทายข้างหน้าของไอเอสโอไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามาตรฐานใหม่เท่านั้นแม้ว่าจะมีโอกาสทำเช่นนั้นสำหรับเทคโนโลยีใหม่ เช่น การดักจับคาร์บอน แต่ยังเกี่ยวข้องการนำมาตรฐานที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย รวมถึงการมีส่วนร่วมกับบริษัทพลังงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ และปรับปรุงมาตรฐานให้ทันเวลาที่เหมาะสมกับความเร่งด่วนของงาน

การปรับเปลี่ยนแปลงระบบพลังงานที่ซับซ้อนเป็นความท้าทายอย่างมากและมีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ที่มีการแข่งขันกันอย่างหลากหลาย ซึ่งเรื่องนี้ สถาบันมาตรฐานอาจช่วยให้การปรับเปลี่ยนด้านพลังงานนี้ง่ายขึ้นด้วยการให้แนวทางในการทำงานร่วมกันเป็นพื้นฐานสำหรับภาคส่วนพลังงาน

ความพยายามของไอเอสโอในการพัฒนามาตรฐานภาคส่วนพลังงานเพื่ออนาคตไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของไอเอสโอเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานด้วย รวมไปถึงสถาบันมาตรฐานที่มีส่วนในการผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดขององค์กรและประชาชนเพื่อก้าวไปสู่การบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้ต่อไป

ที่มา: https://www.iso.org/contents/news/2022/09/top-technologies-for-climate.html



Related posts

  • ไอเอสโอสู้ภัยแผ่นดินไหว กำหนดมาตรฐาน ISO 16711ไอเอสโอสู้ภัยแผ่นดินไหว กำหนดมาตรฐาน ISO 16711
  • หลักการและคำศัพท์มาตรฐานการประเมินความสอดคล้องหลักการและคำศัพท์มาตรฐานการประเมินความสอดคล้อง
  • อุตสาหกรรมการบินพร้อมก้าวข้าม COVID-19 สู่โลกอนาคต ตอนที่ 2อุตสาหกรรมการบินพร้อมก้าวข้าม COVID-19 สู่โลกอนาคต ตอนที่ 2
  • วันรับรองระบบงานโลก 2565วันรับรองระบบงานโลก 2565
  • ข้อกังวลเรื่องกัญชากับเอกสาร IWA ของไอเอสโอข้อกังวลเรื่องกัญชากับเอกสาร IWA ของไอเอสโอ

Tags: Electrolysis, energy management, Energy savings, Green hydrogen, greenhouse gas, Innovation, ISO, London Declaration, Net Zero, Standardization, Technology

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑