• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,175 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    14,991 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,305 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,197 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,779 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — ตุลาคม 12, 2022 8:00 am
ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานภาคส่วนพลังงานเพื่ออนาคต
Posted by Phunphen Waicharern with 277 reads
0
  

ปัจจุบัน การใช้พลังงานทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญจากการเติบโตทางประชากรและการเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้ความต้องการพลังงานทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้นจาก 40% เป็น 60% ภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) การจัดการการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้จึงถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ ขณะเดียวกันก็กลับกลายเป็นโอกาสด้านการจัดการพลังงานด้วยเช่นกัน

ไอเอสโอได้มองเห็นแนวโน้มของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกในประเด็นดังกล่าว และได้ระบุไว้ใน ISO Foresight Trend Report ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เพื่ออนาคตที่ดีกว่าของคนทั่วโลก  โดยในบทความครั้งนี้จะเปิดเผยแนวโน้มที่สำคัญระดับโลกรวมไปถึงแนวทางการปรับเปลี่ยนด้านพลังงานเพื่อให้โลกดีขึ้น โดยโรแลนด์ ริสเซอร์ ประธานคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 301, Energy management and energy savings ซึ่งดูแลรับผิดชอบด้านการจัดการพลังงานและการประหยัดพลังงาน  และเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในสาขาพลังงาน ดังต่อไปนี้

ประการแรก การปฏิรูปภาคพลังงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นสิ่งที่ทั่วโลกจำเป็นต้องทำเป็นลำดับแรก  การบรรลุจุดมุ่งหมายของข้อตกลงปารีสหมายถึงการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างเร่งด่วน การขยายแหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)  การเพิ่มปริมาณการดักจับคาร์บอน และการปรับปรุงการจัดการพลังงานทุกด้าน นับตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงผู้ใช้ปลายทาง

ประการที่สอง การลดก๊าซเรือนกระจกมีความสำคัญมาก การตอบสนองความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นในขณะที่โลกจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  หมายความว่าเราจำเป็นต้องใช้พลังงานทดแทนและใช้พลังงานให้ต่ำลง แล้วจึงก้าวไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  การใช้พลังงานทดแทนนั้นมีอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ไฟฟ้าพลังน้ำ นิวเคลียร์ ความร้อนใต้พิภพ ไปจนถึงพลังงานชีวภาพ และพลังงานอื่นๆ  ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เราเห็นข้อดีของพลังงานทดแทน และมีความหวังที่จะลดก๊าซเรือนกระจกได้  ดังจะเห็นได้ว่าพลังงานหมุนเวียนเป็นวิธีการผลิตพลังงานที่เติบโตเร็วที่สุด ซึ่งจากการลงทุนอย่างมหาศาลไปกับพลังงานหมุนเวียนของหลายประเทศ โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ก็จะทำให้สามารถแข่งขันกับเชื้อเพลิงฟอสซิลได้เร็วกว่าที่คาดไว้ได้

ประการที่ 3 การปรับเปลี่ยนด้านพลังงานจำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในการกระจายพลังงาน แม้จะมีการเติบโตที่น่าประทับใจของพลังงานหมุนเวียน แต่พลังงานหมุนเวียนเพียงอย่างเดียวไม่อาจจะชะลอการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นได้หากไม่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนเพื่อให้ราคาถูกลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น จึงมีแนวโน้มว่าจะต้องรวมเทคโนโลยีกับพลังงานนิวเคลียร์และการดักจับคาร์บอน ควบคู่ไปกับมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานเพื่อสกัดกั้นความต้องการที่เพิ่มขึ้น

เทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงาน เช่น แบตเตอรี่หรือเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ช่วยให้สามารถเก็บพลังงานไว้ในระบบเพื่อแจกจ่ายพลังงานได้เมื่อจำเป็น สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน โดยช่วยให้โครงข่ายไฟฟ้าสามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้หากไม่สามารถหาได้จากแหล่งพลังงานอื่น

ปัจจุบัน ไม่มีแบตเตอรี่ใดที่สามารถจัดเก็บและปล่อยกระแสไฟฟ้าในปริมาณมากในลักษณะที่ประหยัดต้นทุนซึ่งเหมาะสำหรับการปรับใช้ในระดับกริด ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าจับตามองเพราะกำลังมีการลงทุนที่หลั่งไหลไปสู่การวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่ และตลาดแบตเตอรี่ทั่วโลกก็อาจเติบโตได้ถึง 22.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2570 (ค.ศ.2027)

การใช้พลังงานจากแหล่งโดยตรงในท้ายที่สุดอาจพิสูจน์ได้ว่ามีราคาถูกกว่า ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความสนใจในเทคโนโลยีการแปลงพลังงานโดยตรงซึ่งเปลี่ยนแหล่งพลังงานให้เป็นความร้อน ไฟฟ้า หรือเชื้อเพลิง เช่น ไฮโดรเจนสีเขียว (ไฮโดรเจนที่ผลิตโดยอิเล็กโทรไลซิสในน้ำจากพลังงานหมุนเวียน) ซึ่งผู้ส่งออกน้ำมันหวังว่าจะกลายเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งยังมีศักยภาพที่จะทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในอุตสาหกรรมที่ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ยาก เช่น การขนส่งและการผลิตเหล็ก เป็นต้น

ประการที่ 4 ความท้าทายของการจัดการปรับเปลี่ยนด้านพลังงาน การปรับเปลี่ยนระบบพลังงานที่ซับซ้อนถือเป็นความท้าทายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนทั่วโลก และไอเอสโอได้ยอมรับสิ่งนี้ด้วยการลงนามในปฏิญญาลอนดอนเมื่อปี 2564 ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นที่จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินการด้านสภาพอากาศอย่างมีความหมายโดยใช้มาตรฐาน

โลกเรามีมาตรฐานมากมายที่เกี่ยวข้องกับพลังงานอยู่แล้ว หากนับมาตรฐานไอเอสโอเพียงอย่างเดียวมีมาตรฐานมากกว่า 200 ฉบับสำหรับภาคส่วนนี้ ความท้าทายข้างหน้าของไอเอสโอไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามาตรฐานใหม่เท่านั้นแม้ว่าจะมีโอกาสทำเช่นนั้นสำหรับเทคโนโลยีใหม่ เช่น การดักจับคาร์บอน แต่ยังเกี่ยวข้องการนำมาตรฐานที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย รวมถึงการมีส่วนร่วมกับบริษัทพลังงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ และปรับปรุงมาตรฐานให้ทันเวลาที่เหมาะสมกับความเร่งด่วนของงาน

การปรับเปลี่ยนแปลงระบบพลังงานที่ซับซ้อนเป็นความท้าทายอย่างมากและมีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ที่มีการแข่งขันกันอย่างหลากหลาย ซึ่งเรื่องนี้ สถาบันมาตรฐานอาจช่วยให้การปรับเปลี่ยนด้านพลังงานนี้ง่ายขึ้นด้วยการให้แนวทางในการทำงานร่วมกันเป็นพื้นฐานสำหรับภาคส่วนพลังงาน

ความพยายามของไอเอสโอในการพัฒนามาตรฐานภาคส่วนพลังงานเพื่ออนาคตไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของไอเอสโอเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานด้วย รวมไปถึงสถาบันมาตรฐานที่มีส่วนในการผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดขององค์กรและประชาชนเพื่อก้าวไปสู่การบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้ต่อไป

ที่มา: https://www.iso.org/contents/news/2022/09/top-technologies-for-climate.html



Related posts

  • กระเป๋าเงินดิจิตอลกระเป๋าเงินดิจิตอล
  • คดีกูเกิ้ลสแกนหนังสือ ตัดสินแล้ว ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์คดีกูเกิ้ลสแกนหนังสือ ตัดสินแล้ว ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
  • รถไฟทุกขบวนตรงเวลาด้วย ISO/TS 22163: 2017รถไฟทุกขบวนตรงเวลาด้วย ISO/TS 22163: 2017
  • มาตรฐานประเภทของอุบัติเหตุการทำเหมืองมาตรฐานประเภทของอุบัติเหตุการทำเหมือง
  • วันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสากลวันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสากล

Tags: Electrolysis, energy management, Energy savings, Green hydrogen, greenhouse gas, Innovation, ISO, London Declaration, Net Zero, Standardization, Technology

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑