• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,175 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    14,990 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,305 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,197 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,779 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — October 14, 2022 8:00 am
สำเร็จอย่างยั่งยืนด้วยมาตรฐานการจัดการนวัตกรรม
Posted by Phunphen Waicharern with 369 reads
0
  

3.1 Effectively Manage Innovation by ISO 56002เมื่อกล่าวถึงเรื่องนวัตกรรม เรามักจะนึกถึงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาศัยการคิดนอกกรอบ ในขณะที่ “มาตรฐาน” อยู่ในด้านตรงกันข้ามซึ่งมักจะมีกรอบของการคิดอยู่เสมอ ไอเอสโอหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานก็เคยตั้งคำถามว่า “มาตรฐาน” สามารถทำให้เกิดนวัตกรรม หรือว่าเป็นการจำกัดนวัตกรรมกันแน่

แนวความคิดที่ว่ามาตรฐานกลายเป็นสิ่งที่เป็นกรอบจนไม่สามารถสร้างนวัตกรรมได้นั้นเป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเพราะฟังดูมีเหตุผลคือดูเหมือนจะทำให้เพิ่มข้อจำกัดในการคิดมากขึ้น จึงมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยสำหรับความคิดสร้างสรรค์และสิ่งที่แปลกใหม่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในบางสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม ไอเอสโอมีผลการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างมาตรฐานกับนวัตกรรมนั้นมีความซับซ้อนมากกว่าที่เราเข้าใจ มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่า ในหลายกรณี มาตรฐานสามารถมีบทบาททำให้เกิดนวัตกรรม ไม่ว่าจะเกิดจากการให้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมหรือการสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

แล้วคำว่า “นวัตกรรม” ในที่นี้หมายถึงอะไรกันแน่  เพื่อศึกษาความหมายของคำว่านวัตกรรม ไอเอสโอโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 279, Innovation Management ได้ร่วมมือกับองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ในการศึกษาและแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับคำจำกัดความของ “นวัตกรรม” ซึ่งทำให้คำจำกัดความของทั้งสององค์กรมีความสอดคล้องกันมากขึ้น โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันของมาตรฐานคู่มือออสโลของ OECD ซึ่งให้แนวทางในการรวบรวมและตีความข้อมูลด้านนวัตกรรม

OECD จึงได้ให้คำจำกัดความของ “นวัตกรรม” ว่าหมายถึง ผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการใหม่หรือที่ปรับปรุงแล้ว (หรือทั้งสองอย่าง) ที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการก่อนหน้านี้เป็นอย่างมาก และที่ทำให้มีบริการสำหรับผู้ที่มีโอกาสจะเข้ามาใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่หรือกระบวนการใหม่ด้วย ในขณะที่มาตรฐาน ISO 56000, Innovation management – Fundamentals and vocabulary ได้ให้คำจำกัดความของ “นวัตกรรม” ว่าหมายถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปหรือสิ่งใหม่ที่มีการตระหนักรู้ถึงคุณค่าหรือมีการกระจายต่อซึ่งคุณค่านั้น

เมื่อลองทบทวนบทบาทของมาตรฐานในด้านนวัตกรรมก็พบว่ามีงานวิจัยที่ค้นพบว่ามาตรฐานมักจะได้มาจากเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ และยังค้นพบว่านวัตกรรมมักจะได้รับการกระตุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมจากมาตรฐานด้วย  ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวสรุปว่า โดยทั่วไปแล้ว ประโยชน์ของมาตรฐานด้านนวัตกรรมสำหรับการออกแบบและการผลิตนั้นมีคุณค่ามากกว่าจะเป็นข้อจำกัดในเรื่องความคิดสร้างสรรค์

มาตรฐานจึงไม่ใช่ตัวการที่ปิดกั้นการเกิดนวัตกรรมแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม กลับช่วยส่งเสริมให้องค์กรสร้างนวัตกรรมได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสำเร็จได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งไอเอสโอก็ได้พัฒนามาตรฐานด้านการจัดการนวัตกรรมขึ้นมาจำนวนหนึ่งเพื่อให้องค์กรทั่วโลกนำไปใช้งาน เช่น ISO 56003, Innovation management – Tools and methods for innovation partnership – Guidance, ISO 56005, Innovation management – Tools and methods for intellectual property management — Guidance, ISO 56006, Innovation management – Tools and methods for strategic intelligence management – Guidance เป็นต้น รวมทั้งมาตรฐานระบบการจัดการนวัตกรรม ISO 56002, Innovation management – Innovation Management System – Guidance

สำหรับองค์กรที่นำมาตรฐานการจัดการนวัตกรรม ISO 56002 ไปใช้ จะได้รับประโยชน์ในหลายแง่มุม ดังต่อไปนี้

  • เป็นแนวทางการดำเนินงานขององค์กรให้บรรลุตามความต้องการของลูกค้า
  • เพิ่มโอกาสทางธุรกิจและเปิดตลาดใหม่ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
  • เพิ่มการเติบโต และรายได้จากนวัตกรรม
  • ลดระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาด
  • ประหยัดต้นทุนและลดความเสี่ยงในการสร้างนวัตกรรม
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพและสมรรถนะขององค์กรในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
  • พัฒนาความคิดให้เปิดใจรับรูปแบบทางธุรกิจและวิธีการใหม่ๆ
  • สามารถแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านกระบวนการของนวัตกรรม เช่น การสร้างเครือข่ายในชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
  • เพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจขององค์กร เพื่อเผชิญกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง

ปัจจุบัน ไอเอสโอยังอยู่ในระหว่างการพัฒนามาตรฐานฉบับอื่น ๆ อีกหลายฉบับ เช่น เครื่องมือและวิธีการจัดการกับแนวคิดหรือไอเดีย เครื่องมือและวิธีการในการวัดการปฏิบัติงานด้านนวัตกรรม  และการจัดการข้อมูลนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถจัดการนวัตกรรมได้อย่างครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง และสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ที่มา: 1. https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0040162599001043
2. https://www.oecd.org/berlin/44120491.pdf
3. https://www.iso.org/committee/4587737.html



Related posts

  • มาตรฐานสากลเพื่ออาหารปลอดภัยมาตรฐานสากลเพื่ออาหารปลอดภัย
  • ISO 21378: 2019 ช่วยรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดการระบบงานองค์กรISO 21378: 2019 ช่วยรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดการระบบงานองค์กร
  • มาตรฐานไอเอสโอที่สนับสนุน MSMEs ให้ก้าวข้ามผ่านวิกฤต COVID-19มาตรฐานไอเอสโอที่สนับสนุน MSMEs ให้ก้าวข้ามผ่านวิกฤต COVID-19
  • หมู่เกาะแคริบเบียนต่อสู้ภาวะโลกร้อนด้วยมาตรฐานสากลหมู่เกาะแคริบเบียนต่อสู้ภาวะโลกร้อนด้วยมาตรฐานสากล
  • ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานสากลเพื่อตอบโจทย์ “เมือง” ตอนที่ 1ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานสากลเพื่อตอบโจทย์ “เมือง” ตอนที่ 1

Tags: Innovation Management, ISO, ISO 56000, ISO 56002, ISO 56003, ISO 56005, ISO 56006, OECD, Standardization

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑