• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,175 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    14,991 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,305 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,197 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,779 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — November 30, 2022 8:00 am
มาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่ออนาคตของโลก
Posted by Phunphen Waicharern with 213 reads
0
  

2.1 NEW  GLOBAL ECONOMYIS  CIrcular ECONOMYเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญ 2 ข้อจากทั้งหมด 17 หัวข้อ คือ SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน  (Sustainable Consumption and Production) และ SDG13 ปฏิบัติการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) ซึ่งการที่โลกของเราจะบรรลุเป้าหมายทั้ง 2 ข้อนี้ได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการผลักดันครั้งสำคัญเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง

จะเห็นได้ว่า 70% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในโลกนี้เกี่ยวข้องกับการสกัดวัตถุดิบและการแปรรูปทรัพยากรต่าง ๆ ดังนั้น การเปลี่ยนไปใช้แบบจำลองการผลิตและการบริโภคสินค้าที่ยั่งยืนมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง  ตัวอย่างเช่น ของเสียอย่างความร้อนและน้ำเสียสามารถนำมาใช้เป็นทรัพยากรที่ช่วยเติมเต็มให้วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์มีความสมบูรณ์ แทนที่จะทิ้งไปหลังจากใช้แล้วซึ่งทำให้มีการใช้งานอย่างคุ้มค่ามากที่สุด

รายงาน Circularity Gap ฉบับปี 2565 (ค.ศ.2022) พบว่ามีการใช้วัสดุหลายแสนล้านตันทุกปี ซึ่งมากกว่า 90% ของวัสดุถูกใช้ไปอย่างสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์  และคาทเธอรีน เชอโวเช่  ประธานคณะกรรมการไอเอสโอซึ่งรับผิดชอบในการร่างมาตรฐานสากลฉบับแรกสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนกล่าวว่า เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่โลกของเราจำเป็นต้องทำ เราไม่มีเวลาให้เสียอีกต่อไปแล้ว  รัฐบาล องค์กร หน่วยงาน และทุกคนต้องร่วมมือกันดำเนินการอย่างรวดเร็วและมากพอที่จะขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้  แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ในระยะเวลาอันสั้น
อันที่จริงแล้ว มนุษย์เราบริโภคมากเกินไปและเร็วเกินไป การที่จะเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบเดิมไปเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน องค์กรต้องเตรียมพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าเพื่อต่อสู้กับความต้องการที่อาจเกิดขึ้นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่จะดำเนินการแสวงหาผลกำไรในระยะสั้นต่อไปไม่ว่าจะต้องแลกด้วยต้นทุนแบบใดก็ตาม  เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืน

คาทเธอรีนกล่าวว่าเรามีความเสี่ยงที่จะทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของโลกหมดไป แต่เรามีโลกเพียงใบเดียว ถ้าเราเอาแต่หาทางใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าในระหว่างทางโดยไม่ดูที่ต้นทางของการกระทำหรือยังคงทำธุรกิจตามปกติในแบบเดิมๆ ทรัพยากรก็อาจหมดไปเช่นกัน  และแม้ว่าจะมีความท้าทายในเรื่องต่าง ๆ อยู่มากมาย แต่โลกของเราก็ยังมีความหวัง ไม่ว่าจะเกิดจากการแทรกแซงด้วยนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค หรือเกิดจากปฏิบัติการในทุกภาคส่วนก็ตาม เช่น นโยบาย Green New Deal ของสหภาพยุโรป  ปฏิบัติการด้านความยั่งยืนของภาคเอกชน เป็นต้น

ในขณะเดียวกัน  คณะกรรมการวิชาการ   ISO/TC 323, Circular economy ก็กำลังพัฒนาร่างชุดมาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเร่งด่วนอีกครั้ง เพื่อพัฒนากรอบการทำงาน แนวทาง เครื่องมือสนับสนุน และข้อกำหนดสำหรับการดำเนินกิจกรรมขององค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมสูงสุดในการพัฒนาอย่างยั่งยืน และแทนที่จะพัฒนาร่างมาตรฐานทีละฉบับ ไอเอสโอจะจัดทำร่างมาตรฐานหลายฉบับไปพร้อมกันโดยใช้เวลา 3 ปีโดยจะเผยแพร่มาตรฐานดังกล่าวภายในต้นปี 2567 (ค.ศ.2024)  การพัฒนามาตรฐานเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกด้วยจำนวนที่เพิ่มขึ้นจาก 40 ประเทศ เป็น 85 ประเทศ

การเผยแพร่มาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียนจะเป็นก้าวสำคัญในการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกที่ยั่งยืนมากขึ้นซึ่งของเสียถูกลดและนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้องค์กรทุกแห่งได้รับข้อมูลที่จำเป็นเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างจริงจังต่อไป

มาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียนจะได้รับการหยิบยกมาอภิปรายในประเด็นสำคัญอีกครั้งเกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีชั้นสูงของระบบดิจิทัลและการใช้พลังงานสะอาดในอุตสาหกรรม 4. 0 เพื่อนำไปสู่อนาคตที่ปราศจากคาร์บอนในการประชุมประจำปีของไอเอสโอ 2566 (ISO Annual meeting 2023) ระหว่างวันที่ 18 – 22 พฤศจิกายน 2565 ที่เมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย

สำหรับประเทศไทย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้พัฒนามาตรฐานระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับองค์กร (มตช.2 เล่ม 2–2564) เพื่อให้องค์กรนำไปใช้งาน และมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

ที่มา: 1. https://www.iso.org/contents/news/2022/11/ambition-for-the-new-economy.html
2. https://www.iso.org/en/home/news/events/iso-annual-meeting-1/speakers.html



Related posts

  • กว่าจะมาเป็นมาตรฐานไอเอสโอกว่าจะมาเป็นมาตรฐานไอเอสโอ
  • กลุ่มบริษัทประกันยักษ์ใหญ่ของสเปนมุ่งใช้กลยุทธ์จัดการพลังงาน ตอนที่ 2กลุ่มบริษัทประกันยักษ์ใหญ่ของสเปนมุ่งใช้กลยุทธ์จัดการพลังงาน ตอนที่ 2
  • ไอเอสโอเผยโมเดลแนวคิดเมืองอัจฉริยะไอเอสโอเผยโมเดลแนวคิดเมืองอัจฉริยะ
  • จัดการนวัตกรรมให้มีประสิทธิผลด้วยชุดมาตรฐานการจัดการนวัตกรรมจัดการนวัตกรรมให้มีประสิทธิผลด้วยชุดมาตรฐานการจัดการนวัตกรรม
  • องค์การสหประชาชาติเชื่อมั่นทั่วโลกก้าวสู่เป้าหมาย SDGsองค์การสหประชาชาติเชื่อมั่นทั่วโลกก้าวสู่เป้าหมาย SDGs

Tags: Circular Economy, Consumption, Economy, European Green Deal, GHG, SDG12, SDG13, Standardization, Standards, Sustainability

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑