• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,175 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    14,991 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,305 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,197 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,779 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — ธันวาคม 9, 2022 8:00 am
นวัตกรรมสร้างปะการังเทียม ช่วยลดโลกร้อน
Posted by Phunphen Waicharern with 165 reads
0
  

การประชุม COP27 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ความร่วมมือร่วมใจของคนทั้งโลกเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศไว้ยังคงดำเนินต่อไป

สำหรับสถานที่จัดการประชุมคือที่เมืองชาร์ม เอล-ชีค ประเทศอียิปต์ เป็นแหล่งที่ตั้งของแนวปะการังที่มีชีวิตต่อเนื่องยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งของโลก  และตั้งอยู่บนแถบชายฝั่งทะเลแดงอันที่อยู่อาศัยของแนวปะการังจำนวน 5%ของโลก และมีปะการังมากกว่า 350 ชนิด แต่ก็เช่นเดียวกับแนวปะการังทั่วโลก แนวปะการังบริเวณนั้นกำลังถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเช่นกัน

อันที่จริงแล้ว แนวปะการังเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศทางทะเลบนโลกของเรา แนวปะการังช่วยปกป้องชายฝั่งจากน้ำท่วม และเป็นแหล่งอาหาร ทำให้เกิดรายได้ และปกป้องคุ้มครองความเป็นอยู่ให้กับผู้คนกว่าครึ่งพันล้านคนทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นและการเกิดกรดในมหาสมุทร เป็นผลมาจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศซึ่งกำลังส่งผลกระทบต่อแนวปะการังทั่วโลก และนำไปสู่ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ทำให้แนวปะการังทั้งหมดไม่อาจมีชีวิตอยู่ต่อไปได้  และจากสถิติระหว่างปี 2552 ถึงปี 2561 (ค.ศ.2009 – 2018) โลกของเราได้สูญเสียปะการังไปประมาณ 14 % จากแนวปะการังทั้งหมด คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 11,700 ตารางกิโลเมตร

นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้มองหาวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยเทคโนโลยี โดยได้รวมตัวกันเปิดบริษัทสตาร์ทอัพ ในชื่อ Archireef เพื่อฟื้นฟูชีวิตใต้ทะเลในแนวปะการังใกล้เกาะฮ่องกง เมื่อปี 2553(ค.ศ.2020) โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท คือ วรีโก ยู และเดนิส เทเคียเรก ซึ่งได้อธิบายถึงความท้าทายของปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการประชุม COP 27 ดังต่อไปนี้

นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ได้เริ่มจากการสร้างปะการังเทียมด้วยวิธีการดั้งเดิมอย่างการใช้คอนกรีตบล็อก  เหล็กเส้น และโครงพลาสติก แต่ก็เป็นเวลา 4 ปีที่ล้มเหลว พวกเขาพบว่าถ้าไม่เห็นปะการังเทียมหลุดออกมาก็จะเห็นว่าปะการังจริงได้ตายไปแล้ว ต่อมาจึงเริ่มแนวคิดใหม่ที่ว่ามันเป็นปะการังที่ต้องอาศัยวัสดุบางอย่างที่สามารถเข้ากันได้กับตัวปะการังนั่นเอง ซึ่งสิ่งนั้นก็คือความเข้ากันได้ (Compatibility) ของวัสดุ

พวกเขารู้ดีว่าปะการังสามารถเข้ากันได้ดีกับวัสดุธรรมชาติอย่างดินเหนียว แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการมากกว่านั้นคือความซับซ้อนเพื่อให้ปะการังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้  สิ่งที่ต้องการต่อมาก็คือราก เพื่อให้สามารถทรงตัวบนพื้นทะเลได้  ทั้ง 3 สิ่งนี้ (ความเข้ากันได้ ความซับซ้อน และราก) เป็นองค์ประกอบที่นำไปสู่การสร้างพิมพ์กระเบื้องแนวปะการังสามมิติเป็นครั้งแรกของโลก โดยมีกระบวนการคือ ข้อมูลทางนิเวศวิทยาที่เปิดเผยต่อสาธารณชนในท้องถิ่นจะถูกป้อนเข้าในอัลกอริธึม แล้วอัลกอริธึมจะกำหนดการออกแบบชั้นบนสุดของวัสดุซึ่งพิมพ์แบบสามมิติด้วยดินเหนียวและติดกับฐานกระเบื้องที่ได้มาตรฐาน

วรีโก ยูกล่าวว่า พวกเขาได้ออกแบบแนวประการังเพื่อป้องกันการสะสมตัวของตะกอน ซึ่งเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่สำคัญต่อแนวปะการัง กระเบื้องแต่ละแผ่นกว้างประมาณ 50 ซม. และหนักประมาณ 15 กก. พวกเขาเลือกพื้นที่ที่มีชีวิตจำกัด และสุดท้ายก็เลือกพื้นที่พื้นทะเลที่แห้งแล้ง

แม้ว่าแนวปะการังเทียมจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การใช้อัลกอริธึมและการพิมพ์สามมิติก็ช่วยให้สามารถเลียนแบบโครงสร้างตามธรรมชาติของแนวปะการังได้ ซึ่งส่งผลให้สิ่งมีชีวิตในทะเลเติบโตขึ้น

ปัจจุบัน ปะการังเทียมของ Archireef ทำให้มีปะการังมีอัตราการรอดชีวิตสูงถึง 98% ของพื้นที่ที่ทีมได้ติดตั้งแนวปะการัง ในขณะที่วิธีการใช้อัลกอริทึมก็ช่วยให้สามารถปรับขนาดให้เหมาะสมได้อย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่

ถึงแม้ว่านวัตกรรมการสร้างปะการังเทียมด้วยการพิมพ์ 3 มิติจะช่วยชีวิตปะการังไว้ได้ แต่สุดท้ายแล้ว สิ่งเดียวที่จะช่วยแนวปะการังทั่วโลกได้รวมทั้งช่วยให้ระบบนิเวศทั้งหมดบนโลกนี้อยู่รอดได้อย่างสมดุลก็คือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั่นเอง

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่สนใจนำระบบการจัดการต่าง ๆ ไปใช้เพื่อร่วมกันลดภาวะโลกร้อน สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่   https://www.masci.or.th/, https://www.masci.or.th/service/climate-change-services/  และ https://www.masci.or.th/service/corsia-verification-service/

ที่มา: 1. https://unfccc.int/blog/coral-20
2. https://unfccc-events.azureedge.net/COP27_87831/agenda



Related posts

  • ยกระดับเตาปรุงอาหารด้วยมาตรฐานไอเอสโอ ตอนที่ 1ยกระดับเตาปรุงอาหารด้วยมาตรฐานไอเอสโอ ตอนที่ 1
  • ไอเอสโอ – วงซิมโฟนีที่เชื่อมโยงผู้คนให้ทำงานร่วมกันไอเอสโอ – วงซิมโฟนีที่เชื่อมโยงผู้คนให้ทำงานร่วมกัน
  • ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อโลกที่ยั่งยืน ตอนที่ 2ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อโลกที่ยั่งยืน ตอนที่ 2
  • เมืองหางโจวพัฒนามาตรฐานช่วยหยุดยั้ง COVID-19เมืองหางโจวพัฒนามาตรฐานช่วยหยุดยั้ง COVID-19
  • เทคโนโลยีดิจิทัลกับวิถีการทำงานยุคใหม่ ตอนที่ 1เทคโนโลยีดิจิทัลกับวิถีการทำงานยุคใหม่ ตอนที่ 1

Tags: 3D Technology, Achireef, climate action, COP 27, coral reefs, ecosystem, Innovation, Sharm el-Sheikh

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑