• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    14,906 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    14,900 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,237 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,136 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    9,678 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — January 10, 2023 8:00 am
“IWA 42” เครื่องมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
Posted by Phunphen Waicharern with 71 reads
0
  

1.1 IWA 42 A Tool towards Net Zeroในการจัดการกับภาวะโลกร้อน  องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนในหลายประเทศได้ตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) การบรรลุเป้าหมายนี้หมายถึงการไม่ปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นไปในชั้นบรรยากาศอีก ซึ่งสามารถทำได้ทั้งลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือชดเชยด้วยการกำจัดก๊าซเรือนกระจกเท่ากับจำนวนที่ปล่อยออกไป

เพื่อสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ซึ่งจะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงหายนะจากสภาพภูมิอากาศได้ ไอเอสโอจึงได้จัดทำแนวทาง Net Zero หรือข้อตกลงหลักเกณฑ์สุทธิเป็นศูนย์ (IWA 42, Net zero guidelines) เพื่อเป็นเครื่องมือหรือแนวทางที่ผู้มีส่วนได้เสียสามารถนำไปใช้จัดการกับอุปสรรคสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ลดลงเหลือน้อยที่สุดและสมดุล

IWA 42 เป็นเครื่องมือสำหรับผู้กำหนดนโยบายและทุกคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศเพื่อให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์สำหรับธุรกิจ กลุ่ม หรือประเทศของตนเอง ซึ่งได้รับการเปิดตัวในการประชุม COP27 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา

ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำ IWA 42 ไปใช้ในการประสาน ทำความเข้าใจ และวางแผนสำหรับสุทธิเป็นศูนย์ทั้งในระดับรัฐบาล ภูมิภาค เมือง และองค์กร เพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศของโลกให้บรรลุตามเป้าหมาย

แนะนำแนวทางของ IWA 42

IWA 42 ได้มีการกำหนดแนวทางทั่วไปดังต่อไปนี้

-          คำจำกัดความของ “ศูนย์สุทธิ” และคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง (การกำจัดก๊าซเรือนกระจก การชดเชย ห่วงโซ่มูลค่า ฯลฯ) ชี้แจงความแตกต่างของขอบเขตระหว่างการปล่อยโดยตรง การปล่อยทางอ้อมจากพลังงานที่ซื้อ และการปล่อยทางอ้อมอื่นๆ ที่เกิดจากกิจกรรมขององค์กร

-          หลักการระดับสูงสำหรับทุกฝ่ายที่ต้องการบรรลุความเป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศ

-          คำแนะนำที่นำไปใช้ได้จริงและเป็นข้อมูลล่าสุดเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วที่สุดภายในปี 2593

-          การสื่อสารที่โปร่งใส ข้อเรียกร้องที่น่าเชื่อถือ และการรายงานที่สอดคล้องกันเกี่ยวกับการวัดปริมาณและการรายงานผลการปล่อย และการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก

ข้อตกลง IWA ดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นมาผ่านกระบวนการแบบเปิด (Open process) ของผู้เชี่ยวชาญกว่า 1,200 คนจากประเทศต่าง ๆ กว่า 100 ประเทศ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและได้รับฉันทามติในวงกว้างในการกำหนดแนวทางปฏิบัติสุทธิเป็นศูนย์ซึ่งเป็นข้อมูลอ้างอิงร่วมกันที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง

IWA คืออะไร คืออะไร?

เอกสาร IWA ของไอเอสโอเป็นแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์แบบซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการมีส่วนร่วมโดยตรงของผู้เชี่ยวชาญในวงกว้าง

IWA เป็นข้อตกลงการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศของไอเอสโอที่สามารถนำไปใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างเร่งด่วน ซึ่งมีการจัดทำขึ้นผ่านกลไกการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ไม่ได้อยู่ภายใต้โครงสร้างคณะกรรมการไอเอสโอ แต่เป็นไปตามขั้นตอนที่รับรองว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั่วโลกมีโอกาสเข้าร่วมและได้รับการอนุมัติจาก ฉันทามติระหว่างผู้เข้าร่วมแต่ละคนในการประชุมเชิงปฏิบัติการ

หลังจากเผยแพร่ข้อตกลงการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศไปแล้วเป็นเวลา 3 ปี เอกสารข้อตกลงนี้จะได้รับการทบทวน และสามารถดำเนินการต่อไปเพื่อให้เป็นข้อกำหนดที่เปิดเผยต่อสาธารณะ เป็นข้อกำหนดทางเทคนิค หรือมาตรฐานสากล ตามความต้องการของตลาด ข้อตกลงการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศสามารถคงอยู่ได้สูงสุดถึง 6 ปี หลังจากนั้นจะถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนเป็นเอกสารไอเอสโอฉบับอื่นต่อไป

การบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จะเป็นจริงได้จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากประชาคมโลกด้วยการสนับสนุนทุกวิถีทางรวมทั้งนำเครื่องมืออย่าง IWA 42 และมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติอย่างจริงจัง

ที่มา: 1. https://www.bbc.com/thai/international-59150935
2. https://www.iso.org/netzero



Related posts

  • กรณีศึกษา เคล็ดลับการกำหนดกลยุทธ์เพื่อสร้างนวัตกรรม ตอนที่ 2กรณีศึกษา เคล็ดลับการกำหนดกลยุทธ์เพื่อสร้างนวัตกรรม ตอนที่ 2
  • ไอเอสโอหนุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไอเอสโอหนุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
  • มาตรฐานใหม่เพื่อหอสมุดแห่งชาติมาตรฐานใหม่เพื่อหอสมุดแห่งชาติ
  • มาตรฐานใหม่ล่าสุดในชุด ISO/IEC 17000มาตรฐานใหม่ล่าสุดในชุด ISO/IEC 17000
  • ย้อนรอยประวัติศาสตร์ 100 ปี สถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศอิตาลีย้อนรอยประวัติศาสตร์ 100 ปี สถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศอิตาลี

Tags: Climate Change, COP27, ISO, IWA 42, Net Zero, SDGs, standard, Standardization

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑