ในขณะที่ศตวรรษที่ 21 กำลังแผ่ขยายออกไป การทำนายว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใดเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เรารู้เพียงแต่ว่าโลกของเรากำลังรับมือกับแนวโน้มทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ตลาด และเทคโนโลยีที่ซับซ้อนอยู่เสมอ และเมื่อเผชิญกับความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่อง องค์กรจะปรับตัวอย่างไรให้สามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างยั่งยืน
เป็นที่ทราบกันดีว่าธุรกิจอุตสาหกรรมและทุกภาคส่วนต่างได้รับภัยคุกคามจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดแนวทางปฏิบัติทางเศรษฐกิจรวมทั้งการผลิตและการบริโภคที่มีการคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น หลายองค์กรหันมาให้ความสำคัญกับ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ในการเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การเติบโตที่ยั่งยืนโดยนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนไปใช้เป็นเครื่องมือในการรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เสริมสร้างศักยภาพในการปรับตัวด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทำให้สังคมมีความยั่งยืนและยืดหยุ่นมากขึ้น
“เศรษฐกิจหมุนเวียน” ช่วยลดความต้องการทรัพยากรที่นำมาจากธรรมชาติ ทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากที่สุด และวัสดุต่างๆ จะถูกนำมารีไซเคิล ดังนั้น ทรัพยากรและพลังงานจะไม่สูญเปล่าอีกต่อไป เพราะผลพลอยได้ที่ไม่พึงประสงค์จากกระบวนการทางเศรษฐกิจกระบวนการหนึ่งจะถูกป้อนกลับเข้าสู่อีกกระบวนการหนึ่งต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
“เศรษฐกิจหมุนเวียน” ประกอบด้วยมาตรการในการสร้างวัสดุที่สามารถปิดวัฏจักรการใช้พลังงานให้สั้นลงโดยลดมลพิษและของเสียให้เหลือทิ้งน้อยที่สุด ยืดอายุผลผลิตภัณฑ์ และเปิดให้มีการแบ่งปันทรัพย์สินจากธรรมชาติเพื่อใช้งานร่วมกันได้ในวงกว้าง
“เศรษฐกิจหมุนเวียน” ได้กลายเป็นแนวทางใหม่ในการบรรลุการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ส่งผลให้เกิดการเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างรุนแรง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนโยบายของรัฐบาลทั่วโลก
ปฏิญญาลอนดอนที่ได้รับการอนุมัติเมื่อเดือนกันยายน 2564 ได้ทำให้ไอเอสโอมุ่งมั่นที่จะดำเนินการปรับปรุงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อช่วยให้ธุรกิจองค์กรทั่วโลกสามารถประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวางแผนสำหรับการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ
คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 323, Circular Economy ได้พัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียนในด้านกรอบการทำงาน แนวทาง เครื่องมือ และข้อกำหนดของการนำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งหมดไปใช้เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยครอบคลุมเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนให้มากที่สุด
กระบวนการเศรษฐกิจหมุนเวียนของไอเอสโอครอบคลุมทั้งข้อกำหนดที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ รวมถึงความยั่งยืนของห่วงโซ่มูลค่าของโลกในแง่มุมต่างๆ เช่น การค้า ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ความรับผิดชอบขององค์กร แรงงาน สุขภาพ และสิทธิมนุษยชน เป็นต้น นอกจากนี้ ไอเอสโอยังให้ความสำคัญกับการประเมินความสอดคล้องเพื่อทำให้มั่นใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ความปลอดภัย ประสิทธิภาพ ความสามารถในการซ่อมแซม ความทนทาน ความสามารถในการอัปเกรด ความสามารถในการรีไซเคิลและการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้มีส่วนทำให้กระบวนการเศรษฐกิจหมุนเวียนมีความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
ที่มา: 1. https://www.iso.org/committee/7203984.html
2. https://www.iso.org/insights/circular-economy-building-trust.html
Related posts
Tags: Circular Economy, Circularity, climate action, Climate Change, ISO/TC 323, standard, Standardization, Sustainability, Value chain
ความเห็นล่าสุด