• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,175 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    14,990 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,305 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,197 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,779 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — March 16, 2023 8:00 am
การประเมินความสอดคล้องในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 22 reads
0
  

2. 1 CONFORMITY ASSESSMENT  IN  THE CIRCULAR ECONOMY 1ไอเอสโอได้กล่าวไว้ว่า เครื่องมือสำหรับเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไป คือมาตรฐานและการประเมินความสอดคล้อง ซึ่งปัจจุบัน มาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียนได้เข้ามามีบทบาทในสังคมโลกมากขึ้น และเมื่อเร็ว ๆ นี้  MASCIInnoversity ได้นำเสนอเรื่องราวของเศรษฐกิจหมุนเวียน เรื่อง “สร้างสังคมที่ยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน”และได้นำเสนอเรื่องราวของการประเมินความสอดคล้อง เรื่อง “CABs เชื่อถือได้เมื่อใช้ ISO/IEC 17000 Series” ไปแล้ว  สำหรับบทความในครั้งนี้ จึงขอนำเสนอเรื่องราวของการประเมินความสอดคล้องเพื่อสร้างความเชื่อถือในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนดังต่อไปนี้

มาตรฐานการประเมินความสอดคล้องตามที่ปรากฏในมาตรฐาน ISO/IEC 17000 Series ทำให้หน่วยงานที่ทำการประเมินความสอดคล้องสามารถรับรู้ซึ่งกันและกันว่าหน่วยงานของตนมีความสามารถตามข้อกำหนดไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานภาคเอกชน

การใช้มาตรฐาน ISO/IEC 17000 Series ทำให้ผู้มีส่วนได้สวนเสียมีความมั่นใจถึงแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานประเมินความสอดคล้อง (CABs) ว่ามีการประเมินความสอดคล้องที่เป็นไปตามมาตรฐาน ทำให้สามารถออกแถลงการณ์ความสอดคล้องที่สามารถเทียบเคียงกันได้ทั่วโลก โดยการจัดการแบบพหุภาคีที่ทำขึ้นบนพื้นฐานนี้จะทำให้มั่นใจได้ถึงการยอมรับร่วมกันระหว่าง CABs ซึ่งหมายความรวมถึงการยอมรับร่วมกันในผลการประเมินและคำชี้แจงความสอดคล้องด้วย

การประเมินความสอดคล้องเป็นการสร้างความมั่นใจว่าความต้องการหรือความคาดหวังเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบอย่างง่าย การตรวจสอบอย่างละเอียด หรือการตัดสินอย่างมืออาชีพที่ซับซ้อนก็ตาม เครื่องมือของไอเอสโอสามารถสนับสนุนแนวทางทั่วไปในการประเมินความสอดคล้องได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ หากดำเนินการประเมินความสอดคล้องในบริบทของเศรษฐกิจหมุนเวียน  จะมีการเพิ่มเนื้อหาและความน่าเชื่อถือให้กับข้อความว่าผลิตภัณฑ์ กระบวนการ บริการ ระบบ หรือการอ้างสิทธิ์เป็นไปตามข้อกำหนดเฉพาะ ดังนั้น จึงให้ความมั่นใจในด้านต่างๆ เช่น ความสามารถในการรีไซเคิล ความสามารถในการใช้ซ้ำ ความสามารถในการซ่อมแซม ความสามารถในการอัพเกรด เป็นต้น

วัฏจักรทางเทคนิคที่เชื่อถือได้ของการประเมินความสอดคล้องในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

ผู้บริโภคและบริษัทต่างๆ จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ร่วมกันกับผู้อื่นหรือทำจากวัสดุรีไซเคิล หากพวกเขาเชื่อมั่นได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นปลอดภัย เชื่อถือได้ และเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ในทำนองเดียวกัน เมื่อสินค้าที่สร้างขึ้นเพื่อความทนทานได้มีการนำเข้าสู่ตลาดในราคาที่สูงกว่าสินค้าของคู่แข่ง คำมั่นสัญญาว่าสินค้าจะมีอายุยืนยาวจะต้องมีความน่าเชื่อถือ นี่คือจุดที่การประเมินความสอดคล้องสามารถให้แนวทางที่สร้างความเชื่อมั่นได้ ซึ่งการใช้เครื่องมือประเมินความสอดคล้องตลอดวงจรทางเทคนิค จะทำให้ตลาดเกิดความไว้วางใจและความมั่นใจได้ตลอดทั้งวัฏจักรทางเทคนิคนับตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการรีไซเคิลอีกครั้ง ดังต่อไปนี้
- สำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนวัสดุรีไซเคิลและใช้ส่วนประกอบ ทำให้ชิ้นส่วนได้รับการทดสอบ ตรวจสอบ และผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรอง
- สำหรับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้การออกแบบเพื่อให้วัสดุสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ ทำให้ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรอง การตรวจสอบความใช้ได้ และการทวนสอบ
- สำหรับผู้ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ และเกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด ทำให้บริการได้รับการรับรอง
- สำหรับผู้บริโภค ทำให้มีการแบ่งปันทรัพยากร และมีการใช้งานอย่างมีจิตสำนึกรับผิดชอบ
- สำหรับการดูแลรักษาผลิตภัณฑ์ที่มีการบำรุงรักษาและยืดอายุการใช้งาน ทำให้มีการรับรองส่วนบุคคล การตรวจสอบ การรับรองการบริการ
- สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วซึ่งมีการใช้ซ้ำและมีการกระจายออกไปอีกครั้ง ทำให้มีการรับรองระบบการจัดการ
- สำหรับการรีไซเคิล ทำให้มีการตรวจสอบการรีไซเคิล

กิจกรรมการประเมินความสอดคล้องดังกล่าวจะสามารถปิดช่องว่างบางอย่างในวัฏจักรทางเทคนิคได้ ตัวอย่างเช่น การสร้างความมั่นใจว่าชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์สามารถรีไซเคิลได้จากการทดสอบวัสดุที่ใช้แล้วในห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินความเหมาะสมกับการหลอมและหล่อใหม่ เป็นต้น ซึ่งจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดในบทความครั้งต่อไป

ที่มา:   https://www.iso.org/insights/circular-economy-building-trust.html



Related posts

  • หนทางสร้างเมืองอัจฉริยะ ตอนที่ 2หนทางสร้างเมืองอัจฉริยะ ตอนที่ 2
  • ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อสินค้ามือสองไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อสินค้ามือสอง
  • ปรับปรุงใหม่แล้ว ISO/IEC 27000: 2018ปรับปรุงใหม่แล้ว ISO/IEC 27000: 2018
  • สามองค์กรสากลคว้ารางวัลเอ็มมีสามองค์กรสากลคว้ารางวัลเอ็มมี
  • ไอเอสโอกับวันสตรีสากลไอเอสโอกับวันสตรีสากล

Tags: CABs, Certification, Circular Economy, Inspection, ISO/IEC 17000 Series, Recycling, standard, Standardization, Sustainability, testing, Validation, Verification

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑