บทความ MASCIInnoversity ได้นำเสนอบทความ เรื่อง “การประเมินความสอดคล้องในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ตอนที่ 1” ซึ่งได้กล่าวถึงประโยชน์ของการประเมินความสอดคล้องที่ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความมั่นใจว่าความต้องการหรือความคาดหวังเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ โดยหากประเมินความสอดคล้องในบริบทของเศรษฐกิจหมุนเวียน ก็จะช่วยเพิ่มเนื้อหาและความน่าเชื่อถือให้กับข้อความว่าผลิตภัณฑ์ กระบวนการ บริการ ระบบ หรือการกล่าวอ้างนั้นเป็นไปตามข้อกำหนดเฉพาะ จึงให้มั่นใจในการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น ความสามารถในการรีไซเคิล ความสามารถในการใช้ซ้ำ ความสามารถในการซ่อมแซม ความสามารถในการอัพเกรด เป็นต้น
สำหรับบทความในตอนนี้จะกล่าวถึงการประเมินความสอดคล้องที่ช่วยปิดช่องว่างบางอย่างได้ในวัฏจักรทางเทคนิคในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ดังต่อไปนี้
จากวัฏจักรด้านชีวภาพนับตั้งแต่เรื่องของ “จากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร” ไปจนถึงเรื่องของ “จากป่าสู่เครื่องทำลายกระดาษ” การทำให้ทรัพยากรกลับมาใช้งานได้อีกอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมีความเกี่ยวข้องกับหลายขั้นตอนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดของเสียเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าของเรา สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องหมุนเวียนระหว่างผู้มีบทบาททางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก ในขณะที่ผู้บริโภคจำเป็นต้องทราบอย่างชัดเจนว่าพวกเขากำลังซื้ออะไรในแง่ของอาหาร ผ้า อาหารสัตว์ เชื้อเพลิง และวัตถุดิบธรรมชาติอื่นๆ ซึ่งสามารถอธิบายได้จากคำถามเกี่ยวกับการประเมินความสอดคล้องตลอดวัฏจักรด้านชีวภาพ ดังต่อไปนี้
คำถาม: เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าสินค้าหรือชิ้นส่วนของสินค้านั้นสามารถรีไซเคิลได้
คำตอบ: เราสามารถทดสอบวัสดุที่ใช้แล้วในห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินความเหมาะสมสำหรับการหลอมและการหล่อใหม่ โดยใช้มาตรฐาน ISO/IEC 17025 ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นว่าห้องปฏิบัติการมีความสามารถทางเทคนิค มีความเป็นกลาง และมีความสามารถในการสร้างผลลัพธ์ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้อย่างสม่ำเสมอ
คำถาม: เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าชุดประกอบที่นำมาจากส่วนประกอบใหม่หรือส่วนประกอบที่นำกลับมาใช้ใหม่สามารถทำงานได้ตามที่ตั้งใจไว้
คำตอบ: เราสามารถใช้การตรวจสอบด้วยวิจารณญาณอย่างมืออาชีพเพื่อตรวจสอบว่าประเภทของการประกอบหรือการประกอบแต่ละอย่างยังคงเหมาะสมกับวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO/IEC 17020 ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าหน่วยงานตรวจสอบจะดำเนินการตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นกลางอย่างสม่ำเสมอ
คำถาม: เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าคำกล่าวอ้างของการรีไซเคิลหรือการซ่อมแซมนั้นสามารถเชื่อถือได้
คำตอบ: เราสามารถยืนยันได้จากกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องตามมาตรฐาน ISO/IEC 17029 ซึ่งช่วยให้มั่นใจได้ถึงการทำงานที่สอดคล้องกันและความเป็นกลางของหน่วยงานตรวจสอบ/ยืนยัน ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นการยืนยันความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้รับการกล่าวอ้างเช่นนั้น
คำถาม: เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการประกาศเกี่ยวกับส่วนประกอบของวัสดุรีไซเคิลนั้นมีความถูกต้อง
คำตอบ: ความถูกต้องของข้อมูลในประกาศสามารถยืนยันได้จากกระบวนการตรวจสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17029 เช่นเดียวกับที่ใช้กับหน่วยงานตรวจสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานสอดคล้องกันและมีความเป็นกลาง
คำถาม: เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าบริการจัดส่งและการขนส่งมีการปล่อยพลังงานที่ประหยัด และมีการปล่อยพลังงานในระดับต่ำ
คำตอบ: เราสามารถยืนยันได้จากการรับรองที่ผ่านการประเมินแล้วว่าเป็นไปตามมาตรฐาน ISO/IEC 17065ซึ่งทำให้มั่นใจว่าบริการนั้นเป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว
คำถาม: เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ากระบวนการมีอัตราการนำทรัพยากรกลับมาใช้ในอัตราสูงโดยมีปริมาณของเสียต่ำ
คำตอบ: เราสามารถยืนยันได้จากการกระบวนการที่ได้รับการรับรอง รวมถึงการตรวจสอบการทำงานของกระบวนการและการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลซึ่งเป็นไปมาตรฐาน ISO/IEC 17065 เนื่องจากมาตรฐานนี้ใช้สำหรับการรับรองกระบวนการด้วย (มาตรฐาน ISO/IEC 17065 ทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือบริการเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุในมาตรฐานดังกล่าว)
คำถาม: เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ดำเนินการอยู่นั้นมีประสิทธิภาพ
คำตอบ: เราสามารถยืนยันได้จากการได้รับการรับรองระบบการจัดการจากหน่วยรับรองที่ดำเนินการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17021 อันแสดงถึงความสามารถของทีมผู้ตรวจประเมินม ทรัพยากรที่มีอย่างเพียงพอในการดำเนินงาน และการปฏิบัติตามกระบวนการที่เป็นไปตามมาตรฐานอย่างสอดคล้อง และให้ผลลัพท์ที่เป็นกลาง
คำถาม: เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าบุคลากรที่ทำการบำรุงรักษาและการซ่อมแซมนั้นมีความสามารถในการดำเนินการ
คำตอบ: เราสามารถยืนยันได้จากการที่บุคคลนั้นได้รับการรับรองจากหน่วยรับรองที่ดำเนินการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17024 ทำให้มั่นใจได้ว่าหน่วยรับรองนั้นดำเนินการตามมาตรฐานอย่างสอดคล้อง เปรียบเทียบได้ และเชื่อถือได้
จากคำตอบเกี่ยวกับการประเมินความสอดคล้องในวัฏจักรด้านชีวภาพแสดงให้เห็นว่าการประเมินความสอดคล้องตามมาตรฐานดังกล่าวช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความมั่นใจว่ามีการทรัพยากรกลับมาใช้งานได้อีกอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งหน่วยรับรองทั่วโลกได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการนำมาตรฐานการประเมินความสอดคล้องไปใช้ในองค์กรและขอรับการรับรองเพื่อเป็นการยืนยันถึงความสามารถในการดำเนินการตามมาตรฐานการประเมินความสอดคล้องอย่างแท้จริง
ที่มา: https://www.iso.org/insights/circular-economy-building-trust.html
Related posts
Tags: Certification, Circular Economy, Conformity Assessment, Inspection, ISO/IEC 17000 Series, Recycling, standard, Standardization, testing, Validation, Verification
Recent Comments