• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,513 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,360 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,209 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — มีนาคม 23, 2023 8:00 am
ไอเอสโอสนับสนุนโลกแห่งความเสมอภาคระหว่างเพศ
Posted by Phunphen Waicharern with 426 reads
0
  

การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจในการดำเนินงานของรัฐบาลและองค์กรทั่วโลกที่เกี่ยวข้อง   สำหรับเป้าหมายที่ 5 ในการบรรลุความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสตรีและเด็กผู้หญิง (SDG 5: Gender Equality) ถือเป็นความท้าทายที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ท่ามกลางเทคโนโลยีใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลกระทบต่อคนทุกคนบนโลกนี้ แต่อนาคตของเทคโนโลยีนี้กลับไม่ได้รับการสร้างขึ้นโดยคำนึงถึงมนุษย์ทุกคน ในทางกลับกัน มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่ามีคนบางกลุ่มมีบทบาทในด้านเทคโนโลยีต่ำกว่าความเป็นจริง โดยเฉพาะผู้หญิง ในทวีปยุโรปพบว่ามีผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเพียง 17% เท่านั้น  นอกจากนี้ นวัตกรรมที่ล้ำสมัยอย่างเมตาเวิร์ส ก็พอจะทำให้มองเห็นว่าเกิดช่องว่างระหว่างเพศขึ้น  การกีดกันผู้หญิงออกจากโลกดิจิทัลทำให้ GDP ของประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลางลดลงถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในทศวรรษที่ผ่านมา  จึงเห็นได้ชัดว่าการลดช่องว่างระหว่างเพศในเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นสิ่งจำเป็นทางเศรษฐกิจและสังคม

จากเหตุผลดังกล่าว องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) จึงได้เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคทางเพศและการเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิง  โดย UN Women มุ่งมั่นในการทำงานเพื่อสนับสนุนสิทธิและความต้องการของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงทั่วโลก และมีหน้าที่รับผิดชอบในการสนับสนุนรัฐสมาชิกของสหประชาชาติในการวางกรอบกฎหมาย นโยบาย โครงการ และบริการที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มคนดังกล่าว

หัวข้อการประชุมสำหรับคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรี (CSW) ประจำปี 2566 ของ UN Women คือ “นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และการศึกษาในยุคดิจิทัลเพื่อการบรรลุความเท่าเทียมทางเพศและการเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงทุกคน”  คณะกรรมการนี้ได้รับการตั้งขึ้นเมื่อปี 2489 (ค.ศ.1946) เพื่อจัดการประชุมผู้มีอำนาจตัดสินใจที่สำคัญและผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเพื่อส่งเสริมสิทธิสตรี บันทึกความเป็นจริงในชีวิตของผู้หญิงทั่วโลก และกำหนดมาตรฐานระดับโลกเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศและการส่งเสริมพลังอำนาจของสตรี ปัจจุบัน เกือบ 80 ปีหลังจากการก่อตั้ง โลกของเราได้แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง และเทคโนโลยีก็ไม่ได้สำคัญน้อยไปกว่าการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศและการเสริมสร้างศักยภาพของผู้หญิงเลย

ในการเตรียมการสำหรับ CSW ทุกปี มีการเรียกประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านสถานภาพสตรีจากทุกภูมิภาคทางภูมิศาสตร์เพื่อแบ่งปันความเชี่ยวชาญซึ่งกันและกัน และร่วมกันพัฒนาคำแนะนำเชิงนโยบายสำหรับคณะกรรมาธิการและประเทศสมาชิก ในปีนี้ ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญในการพิจารณาคือบทบาทสำคัญที่มาตรฐานมีต่อการออกแบบ การพัฒนา และการใช้เทคโนโลยี

การวิจัยของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเมื่อปี 2565 (ค.ศ.2022) พบว่า “มาตรฐาน” เป็นส่วนสำคัญของนักศึกษา การสร้างและการทดสอบสมมติฐาน การออกแบบผลิตภัณฑ์และการออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง  นอกจากนี้ ยังพบว่ามาตรฐานที่มาจากกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ครอบคลุมคุณภาพและมาตรฐานสามารถส่งผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินได้

ลอนดา ชีบิงเงอร์ ผู้เขียนหลักของงานวิจัยดังกล่าว ยกตัวอย่างกรณีศึกษาภาพที่ถูกบิดเบือนไปเกี่ยวกับเพศซึ่งเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและเทคโนโลยี พบว่าหุ่นทดสอบการชนจำลองมาจากผู้ชายอายุน้อย รูปร่างขนาดกลาง มีความแข็งแรง (แม้ว่ารถยนต์ที่มีประเภทตัวถึงต่างๆ จะวางตลาดทั่วโลกสำหรับคนทุกเพศก็ตาม)   วิศวกรยานยนต์จึงออกแบบรถยนต์ให้ปลอดภัยสำหรับร่างกายของผู้ชาย และวัสดุที่จัดหามา (หุ่นทดสอบการชน) ก็ไม่คำนึงถึงเรื่องเพศ ผลก็คือ ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะได้รับบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุรถชนมากกว่าผู้ชายถึง 47% ตัวอย่างนี้จำลองตามอุตสาหกรรมและภาคส่วนต่างๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า อันแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงไม่ได้รับการพิจารณาให้อยู่ในมาตรฐานนวัตกรรมทางเทคโนโลยี

ลอนดา ชีบิงเงอร์ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงรวมพลังเรียกร้องให้มีการใช้มาตรฐานที่ตอบสนองต่อเพศสภาพด้วยแนวทางที่ครอบคลุมการออกแบบโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน สิ่งนี้สะท้อนถึงคำแนะนำของอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติที่ระบุไว้ในรายงานเกี่ยวกับ CSW ซึ่งเน้นย้ำถึงความจำเป็นในเรื่องมาตรฐานเพื่อให้มั่นใจถึงความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และการกำกับดูแลในการออกแบบและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล  กูเตอร์เรสยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิและความปลอดภัยของสตรีและเด็กหญิงในยุคดิจิทัล ดังนั้น การบูรณาการมุมมองเรื่องเพศในเทคโนโลยีและนวัตกรรมจึงเป็นขั้นตอนสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ

เมื่อเป็นเช่นนี้ มาตรฐานจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสะท้อนถึงความจำเป็นที่ผู้หญิงจะมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนามาตรฐาน  เป็นต้นว่า การวิจัยและข้อมูลที่มีผู้หญิงสามารถช่วยให้นักออกแบบเข้าใจความต้องการและประสบการณ์ของผู้หญิงได้ดีขึ้น  การใช้ภาษาที่ไม่แบ่งแยกในเอกสารประกอบของผลิตภัณฑ์ อินเทอร์เฟสผู้ใช้ และเอกสารทางการตลาดที่ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างสำหรับผู้หญิงมากขึ้น

ยุคดิจิทัลกำลังปฏิวัติสังคม มีศักยภาพในการสร้างเงื่อนไขที่เอื้อให้ผู้หญิงก้าวสู่ความเป็นเลิศในอนาคตของการทำงาน เข้าถึงบริการดิจิทัลที่จำเป็น และเพิ่มการมีส่วนร่วมในกิจการพลเมืองและการเมือง  อย่างไรก็ตาม เราไม่อาจจะบรรลุความเท่าเทียมกันในเรื่องเพศสภาพได้ด้วยคำพูดที่หรูหราหรือทฤษฎีที่ไม่ชัดเจน  แต่ด้วยการดำเนินการที่มีเจตนาอันแน่วแน่โดยมีพื้นฐานจากมาตรฐานและความเชี่ยวชาญของไอเอสโอ ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการมาตรฐานและได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง  เพราะมาตรฐานเป็นพื้นฐานในการสร้างความตระหนักถึงการรวมเรื่องของความเท่าเทียมกันทางเพศเอาไว้ในเทคโนโลยีและนวัตกรรมดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง

ที่มา: https://www.iso.org/contents/news/2023/03/gender-responsive-technology.html



Related posts

  • “โดรน” ที่สร้างเลียนแบบ “แมงกะพรุนว่ายน้ำ”“โดรน” ที่สร้างเลียนแบบ “แมงกะพรุนว่ายน้ำ”
  • จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่มนุษย์ ตอนที่ 2จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่มนุษย์ ตอนที่ 2
  • 5 เทคโนโลยีเพื่อสมอง ช่วยปั้นอนาคตของเรา5 เทคโนโลยีเพื่อสมอง ช่วยปั้นอนาคตของเรา
  • คู่มือความปลอดภัยและอาชีวอนามัยฉบับใหม่สำหรับ SMEsคู่มือความปลอดภัยและอาชีวอนามัยฉบับใหม่สำหรับ SMEs
  • ไอเอสโอชี้เทรนด์โลกใหม่ของการทำงานหลังยุคโควิดไอเอสโอชี้เทรนด์โลกใหม่ของการทำงานหลังยุคโควิด

Tags: Gender Equality, Innovation, SDG5 CSW, standard, Standardization, Technology, UN Women

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑