สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2565 (ค.ศ.2022) ได้ยอมรับอย่างเป็นทางการถึงความสำคัญของโครงการลดของเสียให้เป็นศูนย์ และประกาศให้วันที่ 30 มีนาคมเป็นวันปลอดขยะสากล โดยเริ่มปฏิบัติทุกปีตั้งแต่ปี 2566 (ค.ศ.2023) เป็นต้นไป
สำหรับ “ขยะอาหาร” เป็นขยะที่เกิดจากอาหารเหลือจากการบริโภค เช่น จากครัวเรือน จากร้านอาหาร รวมทั้งอาหารที่เหลือจากการจำหน่ายในร้านค้าปลีก อาหารบุปเฟ่ต์จากภัตตาคารหรือโรงแรม นอกจากนี้ ยังมีขยะที่มาจากภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เป็นวัตถุดิบเหลือใช้ด้วย
มนุษยชาติกำลังสร้างขยะมูลฝอยชุมชนประมาณ 2.24 พันล้านตันต่อปี แต่มีขยะเพียง 55% เท่านั้นที่ได้รับการจัดการในโรงงานที่มีการควบคุม และภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) ขยะอาจเพิ่มขึ้นเป็น 3.88 พันล้านตันต่อปี ซึ่งมีส่วนสำคัญทั้งในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเขตเมืองและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ อาหารประมาณ 931 ล้านตันถูกทิ้งไปในแต่ละปี และคาดว่าขยะพลาสติกจำนวนมากถึง 37 ล้านตันจะลงสู่มหาสมุทรทุกปีภายในปี 2583 (ค.ศ.2040)
ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ เราต้องทำให้การจัดการขยะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น การจัดทำโครงการลดของเสียให้เป็นศูนย์ซึ่งสามารถส่งเสริมการจัดการของเสียที่ดี ลดและป้องกันของเสียซึ่งมีส่วนช่วยในการลดมลพิษ บรรเทาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร และปรับปรุงสุขภาพของผู้คนให้ดีขึ้น
นอกจากนี้ การใช้มาตรฐานสากลของไอเอสโอจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดของเสียที่ไม่จำเป็นลงได้เช่นกันโดยนำมาตรฐานไปปรับใช้ในแนวทางเดียวกันอย่างสอดคล้องกัน และปรับกระบวนการผลิตให้เหมาะสม
ตัวอย่างของมาตรฐานที่สามารถนำไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ เช่น ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001 นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐาน ISO 14051, Environmental management — Material flow cost accounting — General framework สำหรับบัญชีต้นทุนการไหลของวัสดุซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และจัดการใช้วัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสีย ลดการปล่อยมลพิษ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
มาตรฐานสำหรับการจัดการน้ำก็ช่วยให้ประหยัดทรัพยากรอันมีค่าได้เช่นกัน เช่น ISO 14046, Environmental management – Water footprint – Principles, requirements and guidelines ซึ่งช่วยให้องค์กรติดตามการใช้น้ำได้, ISO 16075-1, Guidelines for treated wastewater use for irrigation projects — Part 1: The basis of a reuse project for irrigation มาตรฐานนี้ส่งเสริมการนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ในระบบชลประทาน เนื่องจาก 70% ของการบริโภคน้ำจืดถูกนำไปใช้ในการผลิตอาหารทั่วโลก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้
ในขณะเดียวกัน องค์กรยังสามารถนำมาตรฐานเกี่ยวกับการติดฉลากสิ่งแวดล้อมไปใช้งานด้วย เพื่อสื่อสารเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ผู้บริโภคมีข้อมูลในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ เช่น มาตรฐาน ISO 14020, Environmental statements and programs for products – Principles and general requirements, ISO 14021/Amd 1, Environmental labels and declarations – Self-declared environmental claims (Type II environmental labelling) – Amendment 1: Carbon footprint, carbon neutral, ISO 14021, Environmental labels and declarations — Self-declared environmental claims (Type II, environmental labelling), ISO 14024, Environmental labels and declarations -Type I environmental labelling – Principles and procedures, และ ISO 14025, Environmental labels and declarations – Type III environmental declarations – Principles and procedures เป็นต้น
องค์กรสามารถนำมาตรฐานสากลดังกล่าวที่เหมาะสมกับองค์กรไปใช้ในองค์กรเพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการผลิตที่ยั่งยืน การร่วมกันสร้างความตระหนักถึงการลดของเสียให้เป็นศูนย์ และลงมือทำอย่างจริงจังเท่านั้นจึงจะทำให้โลกของเราสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ในที่สุด
ที่มา: 1. https://sciplanet.org/content/8436
2. https://www.iso.org/news/2013/06/Ref1746.html
Related posts
Tags: Food loss, Food waste, ISO 14001, ISO 14020, ISO 14021, ISO 14024, ISO 14025, ISO 14051, ISO 14064, ISO 16075-1, ISO 50001, ISO 9001, standard, Standardization
Recent Comments