ในวงการธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นที่ทราบกันดีว่าการนำมาตรฐานไปใช้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อองค์กรในหลายด้าน และไม่ว่าองค์กรนั้นจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ “มาตรฐาน” มีส่วนสำคัญเสมอในการสร้างความก้าวหน้าทางธุรกิจและการดำเนินงานในองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประโยชน์ที่มองเห็นได้โดยตรงในด้านเศรษฐกิจซึ่งการนำมาตรฐานไปใช้ในองค์กรมีส่วนทำให้เกิดมูลค่าอยู่ระหว่าง 0.15% ถึง 5% ของรายได้จากการขายต่อปี (กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีหรือ EBIT)
การนำมาตรฐานไปใช้ทำให้เกิดประโยชน์มากมาย เช่น ปรับปรุงกระบวนการภายในบริษัท ลดของเสียและต้นทุนภายใน
เพิ่มประสิทธิภาพของการวิจัยและพัฒนา สร้างสรรค์กระบวนการทางธุรกิจและนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม ทำให้ลดความเสี่ยงต่าง ๆ ลง ช่วยให้มีการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และตลาดใหม่ เป็นต้น
องค์กรทั่วโลกได้พิสูจน์แล้วถึงประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมของมาตรฐาน ยกตัวอย่างเช่น
- บริษัทด้านพลังงานในประเทศเยอรมนี คือ ซีเมนส์ ได้รับประโยชน์ด้านเศรษฐกิจโดยมีส่วนทำให้เกิดมูลค่า 1.1% ถึง 2.8% ของรายได้จากการขายต่อปี (EBIT)
- บริษัทค้าปลีกในประเทศสิงคโปร์ คือ NTUC FairPrice สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 13.6 ล้านดอลล่าร์สิงคโปร์ ระหว่างปี 2542 – 2552 (ค.ศ.1999 – 2009)
- บริษัทผู้ผลิตเหล็กเส้นและท่อเหล็กในประเทศจีน คือ Xingxing Ductile Iron Pipes ได้รับประโยชน์ทางการเงินประมาณ 68 ล้านหยวน เมื่อปี 2555 (ค.ศ.2012)
- บริษัทด้านระบบอัตโนมัติในประเทศบราซิล คือ บริษัท Festo Brasil สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการจัดซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานได้ถึง 30%
- บริษัทผู้ผลิตนม โยเกิร์ตและน้ำผลไม้ในประเทศอียิปต์ คือ Juhayna Food Industries S.A.E. มีประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 70% จากปี 2551 ถึง 2555 (ค.ศ.2008 – 2012)
- บริษัทผู้ให้บริการวัสดุก่อสร้างในประเทศแอฟริกาใต้ คือ Pretoria Portland Cement สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 14.3% จากต้นทุนด้านวิจัยและพัฒนาทั้งหมด
การปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานจึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับธุรกิจที่ต้องการเข้าร่วมในการค้าระหว่างประเทศ ในทางกลับกัน ก็เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับธุรกิจที่ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการนำมาตรฐานไปใช้ในองค์กร
ปัจจุบัน เราจะพบเห็นสินค้าและบริการที่ไม่ได้สร้างขึ้นมาจากประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นจากโลกใบนี้ ทุกส่วนของชีวิตเราในปัจจุบัน บริษัทต่างๆ แบ่งการดำเนินงานของตนจากทั่วโลก ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์และการผลิตชิ้นส่วนไปจนถึงการประกอบและการตลาด การสร้างห่วงโซ่การผลิตระหว่างประเทศ มีผลิตภัณฑ์จำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ถือว่า “ผลิตในโลก” มากกว่า “ผลิตในสหราชอาณาจักร” หรือ “ผลิตในฝรั่งเศส” เท่านั้น
โลกาภิวัตน์ได้เชื่อมโยงเศรษฐกิจและวัฒนธรรมทั่วโลกเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น รถยนต์ที่ขายในแคนาดาสามารถออกแบบในฝรั่งเศสโดยใช้ชิ้นส่วนจากออสเตรเลีย กางเกงที่ขายในสหราชอาณาจักรทำจากผ้าฝ้ายแอฟริกาใต้โดยคนงานในโรงงานในประเทศไทย ในโลกที่มีรูปแบบทางการค้าเปลี่ยนไป การผลิตมีการแยกส่วนและกระจัดกระจายมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ชิ้นเล็กชิ้นน้อยถูกผลิตขึ้นในหลายประเทศ ในหลายบริษัท ก่อนที่จะมารวมกันเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายสำหรับผู้บริโภค ซึ่งเป็นรูปแบบการค้าที่มักเรียกกันว่าห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก สิ่งเหล่านี้ทำให้การใช้มาตรฐานสากลมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น การปฏิบัติตามมาตรฐานจะทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่ามีความมั่นใจว่าปัจจัยการผลิตสามารถเข้ากันได้ (Compatible) และมีความปลอดภัย
“มาตรฐาน” มีอยู่อย่างแพร่หลาย การอธิบายถึงประโยชน์ของมาตรฐานมักจะทำได้ดีที่สุดโดยการชี้ไปที่ปัญหาที่เกิดจากการไม่มีมาตรฐานเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ปลั๊กที่ไม่พอดี กระดาษติดในเครื่องพิมพ์ แล็ปท็อปที่มีพอร์ตประเภทต่างๆ สำหรับแฟลชไดรฟ์ บัตรเครดิตที่มีขนาดต่างกัน เป็นต้น ปัจจุบัน การค้าโลกได้ขยายความสำคัญของประเด็นเหล่านี้ออกไป เพราะการให้สิทธิทางภาษีจะไม่ช่วยอะไรได้หากสินค้าที่ซื้อขายนั้นไม่สามารถเข้ากันได้กับอุปกรณ์อื่น หรือหากขาดความมั่นใจว่าสินค้านั้นปลอดภัยหรือมีคุณภาพเพียงพอ
เมื่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวในจุดเดียวสามารถส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก การพึ่งพาซึ่งกันและกันนี้จึงส่งผลอย่างมากต่อมาตรฐานสากล อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าที่แท้จริงกำลังเกิดขึ้นเนื่องจากการใช้งานมาตรฐานสากลของธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ กำลังดึงดูดการค้าโลกเข้ามา ทำให้มาตรฐานสากลเป็นส่วนสำคัญของการค้าระหว่างประเทศที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาได้อย่างยั่งยืนและครอบคลุมในที่สุด
Related posts
Tags: Compatibility, EBIT, Economy, Innovation, ISO, Quality, R&D, safety, standard, Standardization, Trade
Recent Comments