โลกรอบตัวเรากำลังเปลี่ยนแปลงด้วยย่างก้าวที่เร็วมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา สิ่งนี้สามารถสะท้อนถึงเรื่องราวต่อไปว่า อนาคตใหม่ได้เริ่มต้นแล้ว ทำให้เราต้องมองไปในอนาคตอย่างเป็นระบบและรู้เท่าทันบริบทของสังคมโลก
ไอเอสโอเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโลกและได้รวบรวม วิจัยข้อมูลเชิงลึกทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี พร้อมทั้งได้นำไปพิจารณาประกอบการกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายของไอเอสโอแล้ว (ISO 2030 Strategy) โดยได้กำหนดเป้าหมายสูงสุดไว้คือการเข้าใจบริบทในการดำเนินงานและสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดเกิดใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับใจความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
ด้านสังคมและเศรษฐกิจ:
ประชากรสูงอายุกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ และผลกระทบต่อสิ่งต่าง ๆ รอบด้าน
- แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางประชากรกลุ่มสูงอายุกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยรวมแล้ว ประชากรโลกมีอายุมากขึ้น แต่ยังมีบางภูมิภาคที่ประชากรวัยหนุ่มสาวจำนวนมากขึ้นจะส่งผลกระทบอย่างมาก ในขณะที่ประชากรสูงอายุจะมีผล กระทบต่อความยั่งยืนของรูปแบบการจัดหาเงินทุนสาธารณะและการดูแลสุขภาพ ประชากรวัยหนุ่มสาวที่เพิ่มขึ้นจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมทางการเมืองและระบบการศึกษา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแรงงานและรูปแบบการจ้างงานอย่างมาก
เศรษฐกิจแบบประสบการณ์ การบริโภคกับการผลิตที่ยั่งยืน และการออกแบบตามความต้องการของลูกค้า
- ปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงของทัศนคติและความพึงพอใจของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากเมกะเทรนด์ เช่น การเชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้น ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางประชากร และความไม่เท่าเทียมกันที่เปลี่ยนไป เป็นต้น แนวโน้มเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อวิธีคิดของบริษัทต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างมูลค่าในปัจจุบันซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายอีกต่อไป แต่เกี่ยวกับปัจจัยการผลิตที่ป้อนเข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด วิธีการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น และความพิเศษเฉพาะตัวของผลิตภัณฑ์ (เช่น การผลิตที่สร้างขึ้นตามความต้องการเฉพาะของลูกค้า) เนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนจากความต้องการ “สิ่งของ” ไปสู่ความต้องการประสบการณ์ที่นำไปสู่การเติบโตของตนเองซึ่งไม่ได้เป็นแต่เพียงความพึงพอใจทางวัตถุเท่านั้น
การเคลื่อนย้ายของผู้คน ความเป็นเมือง และการอพยพที่เพิ่มขึ้น
ผู้คนกำลังอพยพเคลื่อนย้ายทั้งภายในประเทศของตนเอง และระหว่างประเทศ และเกิดขึ้นได้ทั้งแบบถูกสภาพแวดล้อมบังคับและตัดสินใจเลือกด้วยตนเอง ทั้งนี้ เมื่อจำนวนประชากรทั่วโลกเพิ่มขึ้น อัตราการขยายตัวของเมืองและการย้ายถิ่น อาจมีนัยสำคัญทางสังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีปัจจัยมากมายที่ผลักดันให้ผู้คนเคลื่อนไหว เช่น การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้ง ความไม่มั่นคงทางการเมือง และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น ทำให้ผู้คนอาศัยอยู่ในต่างประเทศมากขึ้นกว่าเดิม และมักจะอยู่อาศัยในเมืองใหญ่มากกว่า ดังนั้น หากเมืองใหญ่เหล่านั้นมีการจัดการที่ดี ก็จะส่งเสริมสังคมและเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาและการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นนั้น ในสถานที่ซึ่งการเติบโตก้าวล้ำไปจนเกินกว่าทรัพยากรจะรองรับได้ แนวโน้มนี้อาจเพิ่มพูนความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมและนำไปสู่ความขัดแย้งที่มากขึ้น
การกระจายความไม่เท่าเทียมกัน กับการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง
โลกปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้ากว่าในอดีตอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ความเจริญทั่วโลกยังห่างไกลจากความเท่าเทียมกัน ความเหลื่อมล้ำทั้งในด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและอื่น ๆ กำลังเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าความยากจนโดยรวมจะลดลงและชนชั้นกลางจะเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ชนชั้นกลางที่ขยายตัวก็ไม่ได้มีความสุขมากขึ้นเสมอไปท่ามกลางพลังอันซับซ้อนที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ และความเทคโนโลยี
ด้านสังคมและเทคโนโลยี
จริยธรรมด้านเทคโนโลยีกับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
เมื่อมีการรวมเอาเทคโนโลยีเข้ากับวิถีชีวิตของคนเรามากขึ้น ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีก็มีเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เกิดเป็นช่องว่างทางไซเบอร์ และก่อให้เกิดความท้าทายของจริยธรรมด้านเทคโนโลยี เช่น เอไอ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีลดคาร์บอน เป็นต้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดความเสี่ยงทั้งในระดับจุลภาคและในระดับมหภาคด้วย ได้แก่ ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลและความเสี่ยงของบุคคลต่อการจัดการทางออนไลน์ และความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีแนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เราได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่อย่างเทคโนโลยีใหม่ ๆ
ลักษณะงานที่เปลี่ยนไป กับผลกระทบของระบบอัตโนมัติ
การปฏิวัติอุตสาหกรรมในแต่ละครั้งได้เปลี่ยนแปลงตลาดแรงงานเป็นอย่างมากซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาการผลิตและการยกระดับของผลิตภาพอย่างต่อเนื่องโดยมีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ซึ่งเป็นความก้าวหน้าที่รวดเร็วขึ้นโดยมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการทำงานที่ถูกดิสรัพท์มากขึ้น ระบบอัตมัติจะทำให้การทำงานในอนาคตเปลี่ยนไปทั้งวิธีการและลักษณะงานหรือตำแหน่งงาน ดังนั้น ไม่เพียงแต่คำจำกัดความของคำว่า “แรงงาน” จะเปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น แต่ขอบเขตและสิ่งที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องให้ความสำคัญก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย จากเดิมที่มุ่งเน้นด้านบุคลากรไปเป็นการมุ่งเน้นในด้านทุนมนุษย์
สำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง และวิทยาศาสตร์นั้น โปรดติดตามในบทความ MASCIInnoversity ครั้งต่อไปค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/files/live/sites/isoorg/files/store/en/PUB100470-executive-summary.pdf
Related posts
Tags: Aging population, Data privacy, Economy, ISO, ISO 2030 Strategy, Society, standard, Standardization, Technology, Urbanization, Young generation
Recent Comments