• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,512 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,358 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,208 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — พฤษภาคม 16, 2023 8:00 am
รู้จักไอเอสโอ
Posted by Phunphen Waicharern with 316 reads
0
  

หลายคนตั้งคำถามว่าทำไมชื่อย่อของไอเอสโอหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) จึงไม่ใช่ IOS คำตอบคือเนื่องจากไอเอสโอประกอบด้วยสมาชิกจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก หากใช้คำย่อของไอเอสโอในภาษาต่างๆ จะทำให้ชื่อย่อไอเอสโอแตกต่างกันออกไป  เช่น ภาษาฝรั่งเศส แปลชื่อองค์กรนี้ว่า Organisation Internationale de Normalisation ส่วนภาษารัสเซียแปลชื่อองค์กรนี้ว่าМеждународная организация по стандартизации (Mezhdunarodnaya organizatsiya po standartizatsii) เป็นต้น ผู้ก่อตั้งองค์กรจึงตัดสินใจเรียกชื่อย่อว่า ISO เพื่อให้คนทุกชาติทุกภาษาเข้าใจตรงกัน และสื่อความหมายที่ดี เนื่องจากมีที่มาในภาษากรีกโบราณว่า ísos ซึ่งแปลว่าเท่ากัน

เรื่องราวของไอเอสโอได้เริ่มต้นขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้สิ้นสุดลงแล้วโดยในปี 2489 (ค.ศ.1946) มีผู้แทนจาก 25 ประเทศทั่วโลกได้มารวมตัวกันที่กรุงลอนดอนเพื่อพูดคุยกันถึงอนาคตของการมาตรฐานด้วยความตื่นตัวที่จะฟื้นฟูสันติภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น ทำให้ในปีต่อมา ไอเอสโอได้ถือกำเนิดขึ้นที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2490 (ค.ศ.1947)

ไอเอสโอทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานสากลและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศ และพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ

ไอเอสโอประกอบด้วยหน่วยงานมาตรฐานแห่งชาติ (National Standard Bodies) จากทั่วโลกจำนวน 168 ประเทศ สำหรับประเทศไทย  สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมบูรณ์ (Full member หรือ Member body) ของไอเอสโอตั้งแต่ปี 2509 (ค.ศ.1966) ในฐานะสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศไทย

สมาชิกสมบูรณ์หมายถึงตัวแทนด้านการมาตรฐานของแต่ละประเทศซึ่งจะมีเพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้น  สำหรับประเทศไทย สมอ.ได้เข้าร่วมดำเนินงานกับไอเอสโอทั้งในด้านบริหารและวิชาการ โดยงานด้านบริหาร ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในคณะกรรมการกำหนดนโยบายโดยพิจารณาให้ข้อคิดเห็น และส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมประจำปีในคณะกรรมการด้านการตรวจสอบรับรอง (CASCO) คณะกรรมการด้านนโยบายผู้บริโภค (COPOLCO) และคณะกรรมการว่าด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเทศกำลังพัฒนา (DEVCO) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับสถาบันมาตรฐานของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ส่วนงานด้านวิชาการ สมอ.ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในคณะกรรมการวิชาการ และคณะอนุกรรมการวิชาการของไอเอสโอด้วย

การเป็นสมาชิกสมบูรณ์ทำให้ประเทศไทยมีบทบาทในการพัฒนามาตรฐานและกลยุทธ์ของไอเอสโอโดยมีส่วนร่วมและลงคะแนนเสียงในการประชุมทางเทคนิควิชาการและนโยบายของไอเอสโอ

ประเทศสมาชิกของไอเอสโอมีผู้เชี่ยวชาญที่แบ่งปันความรู้และพัฒนามาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับตลาดด้วยความสมัครใจบนพื้นฐานของฉันทามติหรือความเห็นพ้องต้องกันในการสนับสนุนนวัตกรรมและการแก้ไขความท้าทายระดับโลก ทำให้ปัจจุบัน  ไอเอสโอสามารถพัฒนามาตรฐานสากลครอบคลุมทุกสาขาอุตสาหกรรมกว่า 20,000 ฉบับ และได้เผยแพร่รายงานทางเทคนิค ข้อกำหนดทางเทคนิค ข้อกำหนดที่สาธารณชนสามารถเข้าถึงได้ รวมทั้งคู่มือต่างๆ ด้วย

บทบาทสำคัญของไอเอสโอคือการอำนวยความสะดวกทางการค้าของโลกซึ่งทำให้ผู้ใช้งานและผู้บริโภคมีความมั่นใจในคุณภาพ ความปลอดภัย และความเชื่อถือในผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความสอดคล้องตามมาตรฐานสากล  และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจุบันนี้ โลกของเรากำลังเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน ไอเอสโอจึงมุ่งมั่นทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมประโยชน์ของมาตรฐานที่อยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใส และความเห็นพ้องต้องกันระหว่างประเทศ รวมทั้งขับเคลื่อนการค้าและเศรษฐกิจโลกให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนสืบไป

ที่มา: 1. https://www.iso.org/files/live/sites/isoorg/files/news/magazine/ISOfocus%20(2013-NOW)/en/2017/ISOfocus_122/ISOfocus_122_EN.pdf
2.  https://www.tisi.go.th/website/interstandard/iso
3. https://www.investopedia.com/terms/i/international-organization-for-standardization-iso.asp



Related posts

  • เบียร์บัลติก้าก้าวหน้าด้วยมาตรฐาน ISO 9001เบียร์บัลติก้าก้าวหน้าด้วยมาตรฐาน ISO 9001
  • แคมเปญไอเอสโอ เน้นงานบริการทั่วโลกแคมเปญไอเอสโอ เน้นงานบริการทั่วโลก
  • ไอเอสโอปรับปรุงมาตรฐานสากล ช่วยสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับวันที่และเวลาไอเอสโอปรับปรุงมาตรฐานสากล ช่วยสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับวันที่และเวลา
  • ขนส่งยุคใหม่ ประหยัด อัจฉริยะ ตอนที่ 2ขนส่งยุคใหม่ ประหยัด อัจฉริยะ ตอนที่ 2
  • ร่วมลดภาวะโลกร้อนให้ได้ผลเร็วด้วย ISO 50001ร่วมลดภาวะโลกร้อนให้ได้ผลเร็วด้วย ISO 50001

Tags: CASCO, COPOLCO, DEVCO, Economy, Innovation, ISO, Quality, Reliability, safety, Science, standard, Standardization, Technology, TISI

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑