• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    16,005 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,149 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,532 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,366 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,225 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — June 20, 2023 8:00 am
มาตรฐานไอเอสโอเรื่องการเข้ารหัสข้อมูล
Posted by Phunphen Waicharern with 270 reads
0
  

1.1 CRYPTOGRAPHIC STANDARDSวารสาร MASCIInnoversity ในครั้งที่แล้ว ได้นำเสนอบทความ เรื่อง  “มาตรฐานไอเอสโอเรื่องการเข้ารหัสข้อมูล” และกล่าวถึงความสำคัญของการเข้ารหัส รวมทั้งประเภทการเข้ารหัส ซึ่งในยุคนี้ การสื่อสารและธุรกรรมส่วนตัวรวมทั้งการประกอบอาชีพส่วนใหญ่ทำกันแบบออนไลน์มากขึ้น การเข้ารหัสจึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นมากกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต สำหรับบทความในครั้งนี้ จะกล่าวถึงเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น สกุลเงินดิจิทัล  อัลกอริทึมและมาตรฐานการเข้ารหัส ดังต่อไปนี้

นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยของข้อมูลแล้ว การเข้ารหัสยังใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในด้านอื่น ได้แก่
1. การยืนยันตัวตน (Entity authentication) โดยการตรวจสอบสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน ซึ่งสามารถใช้กลไกและโปรโตคอลที่ใช้การเข้ารหัสลับต่างๆ เช่น ระบบสมมาตร (เข้ารหัสด้วยกุญแจเดียวกันทั้งผู้ส่งและผู้รับ) ลายเซ็นดิจิทัล เทคนิคการรับรองความถูกต้องของข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูล (zero-knowledge techniques) และเช็คซัม (Checksums) ซึ่งชุดมาตรฐาน ISO/IEC 9798 (Entity authentication) เป็นมาตรฐานที่ระบุโปรโตคอลและเทคนิคการยืนยันตัวตน
2. ลายเซ็นดิจิทัล (Digital signatures) ใช้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ลายเซ็นดิจิทัลยืนยันว่าข้อมูลมาจากผู้ลงนามและไม่ถูกเปลี่ยนแปลง ใช้ในข้อความอีเมล เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และการชำระเงินออนไลน์  สำหรับมาตรฐานสากลที่ระบุรูปแบบลายเซ็นดิจิทัล ได้แก่ ชุดมาตรฐาน ISO/IEC 9796 (Digital signatures schemes giving message recovery), ชุดมาตรฐาน ISO/IEC 14888 (Digital signatures with appendix), ชุดมาตรฐาน ISO/IEC18370 (Blind digital signatures) และชุดมาตรฐาน ISO/IEC 20008 (Anonymous digital signatures)
3. การป้องกันการปฏิเสธ (Non-repudiation) เทคนิคการเข้ารหัส เช่น ลายเซ็นดิจิทัลสามารถใช้เพื่อป้องกันการปฏิเสธโดยการทำให้มั่นใจว่าผู้ส่งไม่สามารถปฏิเสธว่าได้ทำการส่งและผู้รับข้อความไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าทำการรับข้อความ ซึ่งชุดมาตรฐาน ISO/IEC 13888 (Security techniques – Non-repudiation) มีการอธิบายเทคนิค (สมมาตรและอสมมาตร) สำหรับการให้บริการแบบป้องกันการปฏิเสธ
4. การเข้ารหัสที่มีน้ำหนักเบา (Lightweight cryptography)  การเข้ารหัสที่มีน้ำหนักเบาใช้ในแอปพลิเคชันและเทคโนโลยีที่มีข้อจำกัดในความซับซ้อนของการคำนวณ ปัจจัยที่จำกัดอาจเป็นหน่วยความจำ พลังงาน และทรัพยากรในการประมวลผล ความต้องการการเข้ารหัสที่มีน้ำหนักเบากำลังขยายตัวในโลกดิจิทัลยุคใหม่ของเรา อุปกรณ์ที่มีข้อจำกัด เช่น เซ็นเซอร์ไอโอที (Internet of Things) หรือแอคทูเอเตอร์ เช่น สวิตช์เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านอัจฉริยะ ใช้การเข้ารหัสแบบสมมาตรน้ำหนักเบา ซึ่งชุดมาตรฐาน ISO/IEC 29192  (Lightweight cryptography)  ทั้ง 8 ฉบับมีการระบุเทคนิคการเข้ารหัสต่างๆ สำหรับการใช้งานที่มีน้ำหนักเบา
5. การจัดการสิทธิ์ดิจิทัล (Digital Rights Management: DRM) ช่วยปกป้องลิขสิทธิ์ของเนื้อหาดิจิทัล DRM ใช้ซอฟต์แวร์เข้ารหัสเพื่อให้แน่ใจว่าเฉพาะผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงเนื้อหา ปรับเปลี่ยนหรือแจกจ่ายได้
6.การค้าอิเล็กทรอนิกส์และการช้อปปิ้งออนไลน์ (Electronic commerce and online shopping) อีคอมเมิร์ซที่ปลอดภัยเกิดขึ้นได้จากการใช้การเข้ารหัสแบบอสมมาตร การเข้ารหัสมีบทบาทสำคัญในการช้อปปิ้งออนไลน์เนื่องจากปกป้องข้อมูลบัตรเครดิตและรายละเอียดส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประวัติการซื้อและการทำธุรกรรมของลูกค้า
7. คริปโตเคอร์เรนซี และบล็อกเชน (Cryptocurrencies and blockchain)
คริปโตเคอร์เรนซี คือสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้เทคนิคการเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรม เหรียญคริปโตเคอร์เรนซีแต่ละเหรียญได้รับการตรวจสอบผ่านเทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย (เช่น บล็อกเชน) ในกรณีนี้ บัญชีแยกประเภทคือรายการบันทึกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือที่เรียกว่าบล็อก ซึ่งเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยใช้การเข้ารหัส

อัลกอริทึมการเข้ารหัส (Cryptographic algorithms)
อัลกอริทึมการเข้ารหัสเป็นกระบวนการทางคณิตศาสตร์สำหรับการเข้ารหัสข้อความและทำให้ไม่สามารถอ่านได้
มีการนำอัลกอริธึมมาใช้เพื่อรักษาความลับของข้อมูล ความสมบูรณ์ของข้อมูล และการรับรองความถูกต้อง เช่นเดียวกับลายเซ็นดิจิทัลและเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยอื่น ๆ

ทั้งมาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล (DES) และมาตรฐานการเข้ารหัสขั้นสูง (AES) เป็นตัวอย่างยอดนิยมของอัลกอริธึมคีย์สมมาตร ในขณะที่อัลกอริทึมคีย์อสมมาตรที่โดดเด่น ได้แก่ RSA (Rivest-Shamir-Adleman) และ ECC

การเข้ารหัสแบบโค้งวงรี (ECC)
ECC (Error Correction Code) เป็นเทคนิคคีย์อสมมาตรที่อิงจากการใช้เส้นโค้งวงรี ซึ่งมีการใช้งานในการเข้ารหัสและลายเซ็นดิจิทัล เป็นต้น เทคโนโลยี ECC สามารถนำไปใช้เพื่อสร้างคีย์เข้ารหัสที่เร็วขึ้น เล็กลง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคนิคเส้นโค้งวงรีครอบคลุมอยู่ในชุดมาตรฐาน ISO/IEC 15946 (Cryptographic techniques base on elliptic curves)

อนาคตของการเข้ารหัส
การถือกำเนิดของควอนตัมคอมพิวเตอร์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะช่วยให้มนุษย์มีพลังในการประมวลผลในระดับที่คอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิมไม่สามารถทำได้  วิธีนี้จะมีความเป็นไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดสำหรับการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน แต่ก็มาพร้อมกับภัยคุกคามด้านความปลอดภัยด้วย

การเข้ารหัสแบบควอนตัมเป็นวิธีการเข้ารหัสที่ใช้หลักการของกลศาสตร์ควอนตัมเพื่อให้การสื่อสารมีความปลอดภัยซึ่งการสร้างรหัสลับเพื่อเข้ารหัสข้อความในสองตำแหน่งแยกกัน การเข้ารหัสแบบควอนตัมได้รับการขนานนามว่าเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ครั้งต่อไปในระบบการสื่อสารที่ปลอดภัย มีศักยภาพที่จะเป็นความก้าวหน้าที่แท้จริงสำหรับข้อมูลที่ต้องรักษาความเป็นส่วนตัวในอนาคตอันยาวไกลนั้น

การเข้ารหัสแบบควอนตัมเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูง และช่วยดูแลโครงสร้างพื้นฐานด้านการติดต่อสื่อสารให้มีความปลอดภัยซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรฐานที่ทำให้เทคโนโลยีสามารถทำงานร่วมกันได้  และไอเอสโอได้เข้ามาพัฒนามาตรฐานเหล่านี้เพื่อให้รุ่งอรุณใหม่แห่งการเข้ารหัสมีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต

ที่มา: https://www.iso.org/information-security/what-is-cryptography



Related posts

  • ไอเอสโอกำหนดมาตรฐานที่พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ไอเอสโอกำหนดมาตรฐานที่พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์
  • เผยแนวทางการต้านคอร์รัปชั่นในประเทศเอกวาดอร์เผยแนวทางการต้านคอร์รัปชั่นในประเทศเอกวาดอร์
  • สวัสดิภาพสัตว์กับผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศสวัสดิภาพสัตว์กับผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ
  • ปกป้ององค์กรด้วย ISO/IEC 27001 ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุดปกป้ององค์กรด้วย ISO/IEC 27001 ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด
  • รู้จักไอเอสโอรู้จักไอเอสโอ

Tags: Cryptography, Digital signatures, Entity authentication, Information Technology, ISO, ISO/IEC 13888, ISO/IEC 14888, ISO/IEC 29192, ISO/IEC 9796, ISO/IEC 9798, safety, Security, standard, Standardization

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑