ปัจจุบัน ความท้าทายด้านความยั่งยืนมีอยู่หลายเรื่องด้วยกัน ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของ Greenwashing และ Ethics washing เท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของวิธีการตรวจสอบด้วย แต่การรับรองธุรกิจที่ยั่งยืนอาจได้มาจากการประกาศตนเอง (Self-Declaration) ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบและรับรองของบุคคลที่สามซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระ ดังนั้น เพื่อให้เนื้อหาของการอ้างสิทธิ์ทางจริยธรรมทั้งหมดเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน องค์กรสามารถนำข้อกำหนดตาม ISO/TS 17033 ไปใช้ และขอรับการรับรองเพื่อสร้างความเชื่อถือได้
ISO/TS 17033, Ethical claims and supporting information – Principles and requirements เป็นหลักการและข้อกำหนดเกี่ยวกับการกล่าวอ้างทางจริยธรรมและข้อมูลสนับสนุน นับตั้งแต่การค้าที่เป็นธรรม การใช้แรงงาน การประหยัดพลังงาน และสวัสดิภาพสัตว์ ไปจนถึงความยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์คือการกล่าวอ้างทางจริยธรรม เนื่องจากมีการอ้างอิงถึง 3 มิติของการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ ความยุติธรรมทางสังคม การพัฒนาเศรษฐกิจ และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม สำหรับเอกสารนี้มีหลักการที่สำคัญ ได้แก่ หลักการทั่วไปเกี่ยวกับการกล่าวอ้างทางจริยธรรม ความเชื่อถือได้ ความโปร่งใส ความเกี่ยวข้องกับการกล่าวอ้างนั้น และความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
สิ่งสำคัญของการกล่าวอ้างทางจริยธรรม คือความถูกต้อง และการไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบต่อตลาด เช่น การกีดกันทางการค้า และการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น
สำหรับการประเมินของผู้ที่กล่าวอ้างทางจริยธรรมจะต้องมีความชัดเจน โปร่งใส และมีการจัดทำเป็นเอกสาร เพื่อให้ผู้ซื้อหรือผู้ใช้ผลิตภัณฑ์สามารถมั่นใจได้ในความน่าเชื่อถือของการกล่าวอ้างนั้น
การกล่าวอ้างทางจริยธรรมสามารถประกาศได้โดยผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าปลีก หรือผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการกล่าวอ้างดังกล่าวซึ่งอาจอยู่ในรูปของข้อความ สัญลักษณ์ หรือกราฟิกบนฉลากผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ หรือในเอกสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เอกสารอิงวิชาการ (Technical Bulletin) การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การตลาดทางโทรศัพท์ ตลอดจนสื่อดิจิทัลหรืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
ISO/TS 17033 เหมาะสำหรับองค์กรทุกประเภทโดยสามารถนำไปใช้ได้เพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้ในเรื่องการกล่าวอ้างทางจริยธรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ กระบวนการ บริการ หรือองค์กร
ที่มา: 1. https://iaf.news/2023/04/30/THE-ROLE-OF-ACCREDITATION-IN-SUSTAINABILITY/
2. https://www.iso.org/obp/ui/en/#iso:std:29356:en
Related posts
Tags: Animal welfare, Child Labor, Credibility, Energy savings, Fair trade, ISO/TS 17033, Reliability, standard, Standardization, Sustainability, transparency
Recent Comments