โดยทั่วไป เมืองอัจฉริยะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตในเมือง และบริการในเมือง รวมทั้งเรื่องของความยืดหยุ่นด้วยการรวบรวมข้อมูลอย่างสะดวกรวดเร็วและใช้อัลกอริธึมในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถกำหนดภาพรวมของสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่กำหนดได้ และจะปรับปรุงหรือเสริมความแข็งแกร่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไอเอสโอเป็นองค์กรที่มีส่วนในการสนับสนุนและพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยได้พัฒนามาตรฐาน ISO 37120, Sustainable cities and communities ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดมาตรฐานเมืองอัจฉริยะของไอเอสโอที่ช่วยให้เมืองสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ยืดหยุ่น และยั่งยืนมากขึ้น
สำหรับนิยามของ “เมืองอัจฉริยะ”ตามที่กลุ่มที่ปรึกษายุทธศาสตร์ ISO Smart Cities ได้กล่าวไว้ว่า เมืองอัจฉริยะเป็นสิ่งที่เพิ่มความเร็วอย่างมากในการปรับปรุงสังคม ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมหรือความยั่งยืน ช่วยตอบสนองต่อความท้าทายต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว และการเมืองและความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจโดยวิธีการปรับปรุงพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสังคม มีการใช้วิธีการเป็นผู้นำแบบร่วมมือ วิธีการทำงานข้ามสาขาวิชาและระบบเมืองและวิธีการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเปลี่ยนบริการและคุณภาพชีวิตของผู้ที่อยู่ในและเกี่ยวข้องกับเมืองซึ่งหมายถึงผู้อยู่อาศัย ธุรกิจ และแขกผู้มาเยือน ได้อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ลดคุณค่าของสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคต
คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 268 (Sustainable cities and communities) ได้กำหนดงานมาตรฐานด้านการพัฒนาเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน บทบาทของคณะกรรมการด้านเทคนิคนี้คือการพัฒนาข้อกำหนดกรอบคำแนะนำและเทคนิคและเครื่องมือสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงความยั่งยืน ความฉลาด และความยืดหยุ่น เพื่อช่วยให้เมืองและชุมชนทั้งจากชนบทและในเมืองมีความยั่งยืนมากขึ้น
การนำมาตรฐานด้านการพัฒนาเมืองและชุมชนที่ยั่งยืนของไอเอสโอไปใช้ประเมินเมืองอัจฉริยะ จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อโครงกสร้างจากซัพพลายเออร์ที่แตกต่างกัน การเชื่อมต่อโครงข่ายในเมืองทั้งทางกายภาพและเสมือนจริงสามารถทำได้โดยผ่านอินเทอร์เฟซมาตรฐานโดยใช้กฏทางเทคนิควิชาการที่สอดคล้องกันซึ่งมีการอธิบายไว้ในมาตรฐาน นอกจากนี้ ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานของเมือง สามารถซื้ออะไหล่ได้จากทุกแห่งในราคาที่แข่งขันได้มากขึ้น
มาตรฐานสากลชุดเมืองอัจฉริยะยังให้แนวทางแก้ไขปัญหาอีกหลายอย่าง เช่น บริษัทสามารถใช้มาตรฐานเพื่อสร้างชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่รองรับการบูรณาการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ สามารถอำนวยความสะดวกในการปรับโซลูชันให้เข้ากับเงื่อนไขเฉพาะของเมืองได้เป็นอย่างดี มีการอธิบายแนวปฏิบัติที่ดีและสิ่งที่จำเป็นต้องใช้และนำไปใช้อย่างชัดเจนและตรงประเด็น รวมทั้งมีการตรวจสอบให้มั่นใจสินค้าและบริการที่จัดหามานั้นเหมาะสมกับวัตถุประสงค์
มาตรฐาน ISO 37120 ระบุตัวบ่งชี้สำหรับบริการของเมืองและคุณภาพชีวิตซึ่งเป็นการวัดผลที่สำคัญสำหรับการประเมินการส่งมอบบริการของเมืองและคุณภาพชีวิตที่ดี เอกสารนี้กำหนดและกำหนดระเบียบวิธีสำหรับชุดตัวชี้วัดเพื่อติดตามและวัดประสิทธิภาพการบริการของเมืองและคุณภาพชีวิตโดยสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับมาตรฐาน ISO 37101, Sustainable development in communities และ ISO 37123, Sustainable cities and communities – Indicators for resilient cities ได้เป็นอย่างดี
มาตรฐาน ISO 37120 ครอบคลุมตัวชี้วัด 100 เรื่องใน 17 หัวข้อ ได้แก่เศรษฐกิจ การศึกษา พลังงาน สิ่งแวดล้อม การเงิน การตอบสนองต่อเหตุไฟไหม้และเหตุฉุกเฉิน ธรรมาภิบาล สุขภาพ สันทนาการ ความปลอดภัย สถานที่พักพิง ขยะมูลฝอย โทรคมนาคมและนวัตกรรม การขนส่ง การวางผังเมือง น้ำเสีย และน้ำและสุขาภิบาล
มาตรฐาน ISO 37120 รวมทั้งมาตรฐานอื่น ๆ ในชุดเมืองอัจฉริยะเป็นมาตรฐานที่จะช่วยให้เมืองในฝันของผู้คนเป็นเมืองที่น่าอยู่ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงบริการและความยืดหยุ่นของเมืองอย่างเหมาะสม นำไปสู่สภาพแวดล้อมของเมืองที่มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย ความยืดหยุ่น และมีความยั่งยืนต่อไป
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2567.html
2. https://etech.iec.ch/issue/2023-01/mapping-smart-city-standards
Related posts
Tags: communities, Innovation, ISO, ISO 37101, ISO 37120, ISO 37123, safety, Smart cities, standard, Standardization, Sustainable Cities
Recent Comments