เรื่องราวของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือ Net Zero ยังคงเป็นประเด็นร้อนที่ทั่วโลกให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง ประเทศต่าง ๆ ได้ประกาศคำมั่นสัญญา และเป้าหมาย Net Zero เพื่อร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สอดคล้องกับเป้าหมายขั้นต่ำในการคงอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เช่น ตั้งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 เป็นต้น และถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญจะมองว่าเป็นเป้าหมายที่ไกลเกินเอื้อม แต่หากประชาคมโลกได้ร่วมลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังแล้ว การก้าวไปใกล้กับเป้าหมายนั้นก็มีความเป็นไปได้สูง และเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการทำตามเป้าหมายดังกล่าวคือ IWA 42 นั่นเอง
วารสาร MASCIInnoversity ได้นำเสนอบทความเรื่อง “IWA42 เครื่องมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” ซึ่งกล่าวถึงแนวทางทั่วไปตามเอกสาร IWA 42, Net zero guidelines (ทุกองค์กรสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย) สำหรับบทความในครั้งนี้ จะนำมาขยายความในรายละเอียดดังต่อไปนี้
Net zero เป็นเป้าหมายที่ทุกองค์กรควรดำเนินการ และองค์กสามารถสร้างแผนการเพื่อบรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ได้โดยนำ IWA 42 ที่ได้รับการออกแบบมาไปใช้งานเพื่อให้วางแผนได้ง่ายขึ้น
ไอเอสโอหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ได้เผยแพร่เอกสาร IWA 42 เมื่อเดือนกันยายน 2565 เอกสารนี้มีลักษณะเป็นแนวทางอย่างเป็นทางการที่ไม่ใช่มาตรฐานไอเอสโอ แต่เรียกว่าข้อตกลงการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศ หรือ International Workshop Agreement อย่างไรก็ตาม IWA มีบางสิ่งบางอย่างที่ขาดไปไม่ได้เช่นเดียวกับในมาตรฐานไอเอสโอ ซึ่งได้แก่ การที่ผู้นำควรแสดงความมุ่งมั่นและความรับผิดชอบในหลักการสุทธิเป็นศูนย์ การวางแผน การดำเนินการ และผลลัพธ์ของการดำเนินการ ในทำนองเดียวกัน การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องควรเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผน และควรดำเนินการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขที่เหมาะสมเมื่อจำเป็น ผู้นำและองค์กรจำเป็นต้องพิจารณาว่าแผนของตนสอดคล้องกับมาตรฐานและเป้าหมายระดับชาติและระดับระหว่างปรเทศอย่างไร เช่น เป้าหมายการพัฒนาvอย่างยั่งยืนหรือ SDGs
ดังนั้น องค์กรจึงควรปฏิบัติตามหลักการ 10 ประการ ดังต่อไปนี้ 1. สอดคล้องกับแนวทางทั่วไป 2. ดำเนินการอย่างเร่งด่วน ทันที และต่อเนื่อง 3. ทะเยอทะยานที่จะไปถึงศูนย์สุทธิโดยเร็ว 4. จัดลำดับความสำคัญของการดำเนินการสุทธิเป็นศูนย์ 5.ตัดสินใจโดยอาศัยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และความรู้ในพื้นที่ 6. ประเมินและควบคุมความเสี่ยง 7. คำนึงถึงความน่าเชื่อถือของการกระทำ 8. ดำเนินการบรรเทาผลกระทบใช้แนวทางที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง 9. รายงานด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ และตรวจสอบได้ 10. ดำเนินการในทุกระดับ
แนวทางตาม IWA 42 สนับสนุนให้ดำเนินตามขั้นตอนคือ กำหนดเป้าหมาย ระดับ และขอบเขต จัดทำแผนบรรเทาผลกระทบ หรือกล่าวได้ว่า เป้าหมายของแผนการลดผลกระทบคือการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในระยะก่อนหน้า นอกจากนี้ แผนการลดผลกระทบควรรวมถึงการยืนยันว่าการปล่อยสารตกค้าง รวมทั้งการชดเชยคาร์บอนเครดิต เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของ GHG วัดและตรวจสอบ การดำเนินการและแผนทั้งหมดควรได้รับการวัดผลและติดตามผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องเป็นกุญแจสำคัญในการวัดและตรวจสอบเมตริกที่ถูกต้อง แนวทางดังกล่าวแนะนำให้วัดและติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น การลดและการกำจัดภายในขอบเขตและในห่วงโซ่คุณค่าที่กว้างขึ้น และการกำจัด การชดเชยและเครดิตนอกห่วงโซ่คุณค่า ตัวบ่งชี้และเครื่องมือต้องมีความเหมาะสมในการวัดการปล่อยและการกำจัด สามารถสร้างผลลัพธ์ซ้ำได้อย่างสม่ำเสมอ เข้าใจขีดจำกัด ที่มาและความสามารถในการใช้งานของเครื่องมือ และเข้าใจความไม่แน่นอน รายงานผล หลักเกณฑ์มีรายการเรื่องที่ควรรายงาน รายการควรใช้กับมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนเพื่อให้แน่ใจว่าทุกเรื่องได้รับการพิจารณา
แนวทาง IWA 42 ดังกล่าวเป็นแนวทางโดยรวมและเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับองค์กรที่ต้องการบรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ซึ่งให้กรอบที่ชัดเจนและรัดกุมในการกำหนดเป้าหมาย พัฒนาแผน และวัดความก้าวหน้า การนำ IWA 42 ไปปฏิบัติขององค์กรจะมีส่วนสำคัญในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะทำให้โลกของเราก้าวสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) ต่อไป
ที่มา: 1. https://www.iso.org/obp/ui/en/#iso:std:iso:iwa:42
2. https://www.linkedin.com/pulse/iso-net-zero-guidelines-iwa-42-harri-timonen/
Related posts
Tags: Carbon Credit, GHG Emission, ISO, IWA42, Net Zero guidelines, SDGs, standard, Standardization
ความเห็นล่าสุด