เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ไอเอสโอในฐานะพันธมิตรรายใหม่ ได้เข้าร่วมในการดำเนินงาน Impact Management Platform เพื่อทำงานร่วมกันกับหน่วยงานระดับโลกหลายหน่วยงานซึ่งทำให้มองเห็นภาพรวมอย่างกว้างขวางอันนำไปสู่การมีระบบมาตรฐานและแนวทางที่ชัดเจนและสอดคล้องกันมากขึ้นสำหรับการจัดการกับผลกระทบด้านความยั่งยืนในภาพรวมระดับโลก
ตัวอย่างหน่วยงานระดับโลกที่เป็นพันธมิตรของไอเอสโอดังกล่าว เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN), องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD), B Lab Global, GSG, the PRI, Social Value International, Taskforce on Nature-related Financial Disclosures และ World Benchmarking Alliance เป็นต้น
ทำไมต้องมี Impact Management Platform ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเร่งนำมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนไปใช้ทั้งในองค์กร ในหมู่นักลงทุน และสถาบันการเงินซึ่งต่างก็ให้ความสำคัญกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนมากขึ้น และกำลังจัดการผลกระทบในกระบวนการนี้
แม้ว่าการจัดการผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมของภาคเอกชนยังคงดำเนินต่อไปแต่ก็ยังอยู่ในลักษณะที่เป็นวงแคบและกระจัดกระจาย ดังนั้น ไอเอสโอในฐานะพันธมิตรรายใหม่ จึงได้เข้าร่วม Impact Management Platform กับผู้ให้บริการชั้นนำระดับสากลด้านมาตรฐานและคำแนะนำด้านความยั่งยืน โดยร่วมกันประสานความพยายามให้แนวทางปฏิบัติในการจัดการผลกระทบกลายเป็นกระแสหลัก
การจัดการผลกระทบเป็นกระบวนการที่องค์กรทำความเข้าใจ ดำเนินการ และสื่อสารผลกระทบที่มีต่อผู้คน สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ เพื่อลดผลกระทบเชิงลบ เพิ่มผลกระทบเชิงบวก และนำไปสู่การบรรลุความยั่งยืนและเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน
ไม่เพียงแต่ Impact Management Platform จะมีความจำเป็นต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและการเงินที่ยั่งยืนของตลาดโดยรวมอีกด้วย
การจัดการผลกระทบเป็นวิธีการแบบองค์รวมและเป็นระบบในการจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในลักษณะที่ช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืน และสำหรับบางองค์กร ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการแสวงหาแนวทางแก้ไขความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอีกด้วย
ลักษณะเชิงระบบของความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ ผู้คน และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ทำให้การจัดการผลกระทบมีความจำเป็นทางเศรษฐกิจและการเงินเช่นกัน การพึ่งพาทางเศรษฐกิจต่อความมีชีวิตและความมั่นคงของระบบสิ่งแวดล้อมและสังคมนั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนจากผลที่ตามมาและต้นทุนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์
การพึ่งพาดังกล่าวยังเป็นความจริงต่อธรรมชาติในวงกว้าง เช่นเดียวกับผู้คนและสังคม ความไม่เท่าเทียมกันในด้านสุขภาพ ทักษะ รายได้ ความมั่งคั่ง และความเป็นอยู่ที่ดีบั่นทอนศักยภาพโดยรวมของมนุษย์ เช่นเดียวกับรากฐานของระบบสังคมและสถาบันที่ธุรกิจและการเงินต้องพึ่งพาอาศัย
แนวทางแคบๆ ในการแก้ไขปัญหาความยั่งยืนที่มุ่งเน้นการจัดการความเสี่ยงเฉพาะองค์กรจึงไม่เพียงพอ เนื่องจากไม่สอดคล้องกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่ได้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมที่องค์กรต่าง ๆ ก่อให้เกิดการสะสมของความเสี่ยงทั้งระบบ ตลอดจนผลที่ตามมา กระแสหลักของการจัดการผลกระทบจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืน และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของตลาดในการจัดการความเสี่ยงและโอกาสโดยรวมด้วย
วัตุถประสงค์ของ Impact Management Platform การทำงานร่วมกันผ่านแพล็ตฟอร์มดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
• ชี้แจงและสร้างฉันทามติเกี่ยวกับความหมายและแนวปฏิบัติของการจัดการผลกระทบ
• มุ่งสู่ระบบที่สมบูรณ์และสอดคล้องกันของทรัพยากรการจัดการผลกระทบ
• มีการประสานงานการเจรจากับผู้กำหนดนโยบาย
ปัจจุบัน พันธมิตรได้เผยแพร่แหล่งข้อมูลจำนวนหนึ่งที่สะท้อนถึงมุมมองที่เป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับการจัดการผลกระทบ ซึ่งรวมถึง
• แนวคิดที่ชี้แจงความจำเป็นในการจัดการผลกระทบ
• คำอธิบายการดำเนินการจัดการหลักที่อนุญาตให้มีการจัดการผลกระทบ
• ชุดคำศัพท์และแนวคิดหลักที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบัน ไอเอสโอกำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อขับเคลื่อนไปสู่การปรับปรุงการทำงานร่วมกันและการเข้าถึงมาตรฐาน กรอบงาน และทรัพยากรอื่นๆ สำหรับการจัดการผลกระทบด้านความยั่งยืนต่อไป
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/iso-joins-the-IMP.html
2. https://impactmanagementplatform.org/updates/iso-and-tnfd-join-the-impact-management-platform
Related posts
Tags: Climate Change, Economics, Environment, Impact Management Platform, ISO, OECD, Society, standard, Standardization, Sustainability, UN
ความเห็นล่าสุด